บาลีวันละคำ

ปัจจุสมัย (บาลีวันละคำ 1,420)

ปัจจุสมัย

อ่านว่า ปัด-จุด-สะ-ไหฺม

บาลีเป็น “ปจฺจูสสมย” อ่านว่า ปัด-จู-สะ-สะ-มะ-ยะ

ประกอบด้วย ปจฺจูส + สมย

(๑) “ปจฺจูส” (ปัด-จู-สะ)

รากศัพท์มาจาก ปติ ( < ปฏิ คำอุปสรรค = เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ) อุสฺ (ธาตุ = เจ็บปวด) + ปัจจัย, แปลง อิ ที่ (ป)-ติ เป็น แล้วแปลง ตฺย เป็น จฺจ (ปติ > ปตฺย > ปจฺจ), ทีฆะ อุ ที่ อุ-(สฺ) เป็น อู (อุสฺ > อูส)

: ปติ > ปตฺย > ปจฺจ + อุสฺ = ปจฺจุส + = ปจฺจุส > ปจฺจูส แปลตามศัพท์ว่า “กาลที่ยังความมืดให้เจ็บปวด คือให้พินาศไป” หมายถึง เวลาจวนเช้าตรู่, เวลาเช้า, รุ่งอรุณ (the time towards dawn, morning, dawn)

ปจฺจูส” ในภาษาไทยใช้เป็น “ปัจจุส-” (เมื่อมีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) และ “ปัจจูสะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปัจจุส-, ปัจจูสะ : (คำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป) (คำนาม) เช้ามืด, ใกล้รุ่ง. (ป.).”

(๒) “สมย” (สะ-มะ-ยะ)

รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = บ่อยๆ, พร้อมกัน) + อิ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ เป็น เอ แล้วแปลง เอ เป็น อย (อิ > เอ > อย), แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น (สํ > สม)

: สํ > สม + อิ > เอ > อย : สม + อย + = สมยณ > สมย แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่ดำเนินไปเรื่อยๆ” (2) “สิ่งเป็นที่-หรือเป็นเหตุเป็นไปพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย

สมย” เราใช้ในภาษาไทยว่า “สมัย” และมักเข้าใจกันในความหมายว่า เวลา หรือ คราว แต่ในภาษาบาลี “สมย” มีความหมายอีกหลายอย่าง กล่าวคือ –

(1) การมาด้วยกัน, การรวมกัน; หมู่ชน, กลุ่มชน (coming together, gathering; a crowd, multitude)

(2) การคบค้าสมาคมกัน, การติดต่อ (consorting with, intercourse)

(3) เวลา, สมัย, ฤดู (time, point of time, season)

(4) เวลาอันบังควร, ฤดูกาล, สมัยหรือโอกาสที่สมควร (proper time, due season, opportunity, occasion)

(5) การประจวบกัน, พฤติการณ์, กาลเทศะ (coincidence, circumstance)

(6) สภาวะ, สถานะ; ขอบข่าย, เขตที่คลุมถึง (condition, state; extent, sphere)

(7) ที่สุด, การลงท้าย, การทำลายล้าง (end, conclusion, annihilation)

ปจฺจูส + สมย = ปจฺจูสสมย แปลตามศัพท์ว่า “เวลาใกล้รุ่ง” มีความหมายเท่ากับ “ปจฺจูส” คำเดียวนั่นเอง

ปจฺจูสสมย” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 สะกดเป็น “ปัจจุสมัย” ( เสือตัวเดียว) และบอกไว้ว่า

ปัจจุสมัย : (คำนาม) เวลาเช้ามืด. (ป. ปจฺจูสสมย).”

อภิปราย :

๑. โปรดสังเกตว่า “ปจฺจูส” บาลีเป็น –จูส– สระ อู ภาษาไทยตัดเสียงเป็น –จุส– (สระ อุ) ในกรณีที่มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย ซึ่งในที่นี้คือ ปัจจุส + สมัย

๒. และโปรดสังเกตว่า “ปัจจุส-” เป็นคำหนึ่งมี “” เป็นตัวสะกด “สมัย” เป็นอีกคำหนึ่ง มี “” เป็นพยัญชนะต้น แปลว่ามี เสือ 2 ตัว แต่เป็นคนละคำกัน เมื่อสมาสเข้าด้วยกันควรเป็น “ปัจจุสสมัย” ( เสือ 2 ตัว) ตามศัพท์เดิมของแต่ละคำ

๓. การตัดตัวสะกดคำที่มาจากบาลีสันสกฤตในภาษาไทยใช้ในกรณีเป็นตัวสะกดในคำของตัวเอง เช่น

จิตฺต + วิทยา สะกดเป็น จิตวิทยา (ตัด ที่คำว่า จิตฺต)

รฏฺฐ + บาล สะกดเป็น รัฐบาล (ตัด ที่คำว่า รฏฺฐ)

วิชฺชา + อาชีพ สะกดเป็น วิชาชีพ (ตัด ที่คำว่า วิชฺชา)

ปัจจุสมัย” คำเดิมไม่ใช่คำเดียวของตัวเอง แต่เกิดจากการผสมระหว่าง ปัจจูส คำหนึ่ง + สมัย อีกคำหนึ่ง ทั้งสองคำไม่มีตัวสะกดที่จะต้องตัดตามเกณฑ์ดังกล่าว จึงไม่มีเหตุอันควรที่จะตัด ออกตัวหนึ่ง

๔. ถ้าลองแยกคำ “ปัจจุสมัย” ออกเป็น 2 คำตามเดิม จะไม่สามารถแยกให้ได้รูปเดิม กล่าวคือ –

ปัจจุส + มัย ก็ผิด เพราะคำหลังคือ “สมัย” ไม่ใช่ “มัย

ปัจจุ + สมัย ก็ผิด เพราะคำหน้าคือ “ปุจจุส” ไม่ใช่ “ปัจจุ

ขอเสนอไปยังคณะกรรมการชำระพจนานุกรมแห่งราชบัณฑิตยสถาน (ชื่อใหม่–ราชบัณฑิตยสภา) กรุณาทบทวนการสะกดคำ “ปัจจุสมัย” ว่าที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร

: เพียงเปิดจิตให้คิดละบาปเริ่มบุญ

: ก็จะได้เห็นรุ่งอรุณแห่งสันติธรรม

21-4-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย