บาลีวันละคำ

นาฏมวยไทย (บาลีวันละคำ 1,439)

นาฏมวยไทย

ลูกครึ่งเกิดใหม่

คำว่า “นาฏ” ถ้าอยู่เดี่ยวหรืออยู่ท้ายคำ อ่านว่า นาด

ถ้ามีคำอื่นต่อท้าย อ่านว่า นา-ตะ-ก็ได้ อ่านว่า นาด-ตะ- ก็ได้

(ตาม พจน.54)

นาฏ” บาลีอ่านว่า นา-ตะ รากศัพท์มาจาก นฏฺ (ธาตุ = ฟ้อนรำ) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ -(ฏฺ) เป็น อา (นฏฺ > นาฏ)

: นฏฺ + = นฏณ > นฏ > นาฏ แปลตามศัพท์ว่า “การฟ้อนรำ

มีคำขยายความว่า –

นจฺจํ  วาทิตํ  คีตํ  อิติ  อิทํ  ตูริยตฺติกํ นาฏนาเมนุจฺจเต = การดนตรี 3 ประการนี้ คือ การฟ้อนรำ การบรรเลง การขับร้อง เรียกโดยชื่อว่า นาฏะ

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นาฏ, นาฏ– : (คำนาม) นางละคร, นางฟ้อนรํา, ใช้ประกอบกับคําอื่น หมายความว่า หญิงสาวสวย เช่น นางนาฏ นุชนาฏ. (ป., ส.).”

นาฏ” ในสันสกฤต สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

นาฏ : (คำนาม) การฟ้อนรำ, การเต้นรำ, การเล่น (เช่นลครเปนอาทิ); แคว้นกรรณาฏ; dancing, acting; the Carnatic.”

ในบาลีมีคำว่า “นาฏก” (นา-ตะ-กะ) อีกคำหนึ่ง หมายถึง –

(1) นักฟ้อน, นักแสดง, ตัวละคร (a dancer, actor, player)

(2) ละคร, ละครจำพวกออกท่าทาง แต่ไม่เจรจา (a play, pantomime)

นาฏก” ในสันสกฤต สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

นาฏก : (คำนาม) ผู้แสดงบทลคร, ตัวลคร, ผู้เล่น; การแสดง (หรือเล่นลคร), การฟ้อนรำ; การเล่น, ลคร; เทพสภาหรือเทพสถานของพระอินทร์; a actor, acting, dancing; a play, a drama; the court of Indra.”

อภิปราย :

นาฏมวยไทย” ได้ยินออกเสียงว่า นา-ตะ-มวย-ไท เป็นการเอาคำว่า “นาฏ” ในบาลีสันสกฤตมาประสมกับคำว่า “มวยไทย” อันเป็นคำไทย และตั้งใจจะให้มีความหมายว่า การร่ายรำตามกระบวนท่าของศิลปะมวยไทย เช่น ไหว้ครูรำอย่างไร เมื่อเข้าสัประยุทธ์กับคู่ต่อสู้มีลีลาร่ายรำเข้าทำเข้าปะทะด้วยศอกเข่าเท้าหมัดอย่างไรบ้าง โดยมุ่งที่ความสง่างามของท่วงท่ามากกว่าการต่อสู้กันจริง

การประสมคำต่างตระกูลภาษาเช่นนี้ (นาฏ [บาลี] + มวยไทย [คำไทย]) ผู้รู้ทางภาษาท่านว่า ไม่ใช่กิจอันควรทำ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ทรงมีกระแสพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2505 ณ ตึกคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความตอนหนึ่งว่า –

………

“เอาคำธรรมดาสองคำ มาประกอบเป็นคำเดียว ให้เกิดความหมายใหม่ก็ได้ อย่างโบราณท่านใช้กัน แต่อย่าเอาคำสองภาษามาประกอบกัน ……….”

………

มวย : ถึงเวลาต่อยจริง-ไม่ต้องรำ

ชีวิต : ถึงเวลาประพฤติธรรม-ไม่ต้องรอ

10-5-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย