บาลีวันละคำ

ธรรมาภิบาล (บาลีวันละคำ 1,455)

ธรรมาภิบาล

อ่านว่า ทำ-มา-พิ-บาน

ประกอบด้วย ธรรม + อภิบาล

(๑) “ธรรม

บาลีเป็น “ธมฺม” (ทำ-มะ) รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > ) และ ต้นปัจจัย (รมฺม > มฺม)

: ธรฺ > + รมฺม > มฺม : + มฺม = ธมฺม แปลตามศัพท์ว่า “สภาพที่ทรงไว้

ธมฺม สันสกฤตเป็น ธรฺม เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น ธรรม

ธมฺม > ธัมม > ธรรม มีความหมายหลายหลาก (ดูความหมายของคำว่า “ธรรม” ที่คำอื่นๆ เช่น “ธรรมทาน กับ วิทยาทาน” บาลีวันละคำ (823) 19-8-57 เป็นต้น)

ในที่นี้ “ธรรม” หมายถึงความยุติธรรม, ความถูกต้อง, ความเป็นธรรมในสังคม

(๒) “อภิบาล

บาลีเป็น “อภิปาล” (อะ-พิ-ปา-ละ) รากศัพท์มาจาก อภิ (คำอุปสรรค = ยิ่ง, ใหญ่, จำเพาะ, ข้างหน้า) + ปาลฺ (ธาตุ = ระวังรักษา, เก็บรักษา [guarding, keeping]) + ปัจจัย

: อภิ + ปาลฺ + = อภิปาล แปลตามศัพท์ว่า “การระวังรักษาอย่างยิ่ง” หมายถึง การคุ้มครองป้องกัน (protecting)

อภิปาล” ในภาษาไทยใช้ว่า “อภิบาล” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อภิบาล : (คำกริยา) บำรุงรักษา, ปกครอง. (ป., ส. อภิปาล).”

ธมฺม + อภิปาล = ธมฺมาภิปาล > ธรรมาภิบาล แปลตามศัพท์ว่า “การคุมครองป้องกันอย่างถูกต้อง

ธรรมาภิบาล” เป็นคำที่คิดขึ้นเทียบคำอังกฤษว่า good governance

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล good เป็นบาลีไว้หลายศัพท์ แต่ที่ใกล้เคียงที่สุดคือ dhammika ธมฺมิก (ทำ-มิ-กะ) = ถูกต้องชอบธรรม

และแปล governance เป็นบาลีว่า –

(1) pālanakkama ปาลนกฺกม (ปา-ละ-นัก-กะ-มะ) = วิธีดูแลรักษา

(2) pālana ปาลน (ปา-ละ-นะ) = การดูแลรักษา

good governance > ธมฺมิกปาลน : ธมฺมาภิปาล > ธรรมาภิบาล แปลตามความหมายว่า การปกครองที่เป็นธรรม คือการปกครองที่ถูกต้องชอบธรรม

เทียบตามนัยแห่งพระปฐมบรมราชโองการ “ธรรมาภิบาล” ก็คือ การครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน

ตรงกันข้ามกับการครองอำนาจเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง

: ใจครองธรรม ความสุขล้ำก็ครองโลก

: ใจขาดธรรม ความระยำก็ครองโลก

————–

(ตามคำขอของ Dejavu Monmon)

27-5-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย