บาลีวันละคำ

อัฐมีบูชา (บาลีวันละคำ 1,456)

อัฐมีบูชา

อ่านว่า อัด-ถะ-มี-บู-ชา

ประกอบด้วย อัฐมี + บูชา

(๑) “อัฐมี

บาลีเป็น “อฏฺฐมี” (อัด-ถะ-มี) รากศัพท์มาจาก อฏฺฐ (จำนวนแปด) + ปัจจัย + อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: อฏฺฐ + = อฏฺฐม + อี = อฏฺฐมี แปลตามศัพท์ว่า “ดีถีที่แปด

ขยายความหลักภาษา :

ปัจจัย (บางแห่งเรียก “อม” อะ-มะ) เป็นปัจจัยที่ใช้ลงท้ายศัพท์สังขยา คือศัพท์บอกจำนวน ทำให้มีความหมายเป็น “ลำดับที่-” เช่นในคำว่า “อัฐมราชา” (อัด-ถะ-มะ-รา-ชา) หมายถึง “พระราชาองค์ที่แปด” (ไม่ใช่พระราชาแปดองค์)

๒ ที่ “อฏฺฐม” ต้องลง อี ปัจจัยอีกชั้นหนึ่งเป็น “อฏฺฐมี” ก็เนื่องจากเป็นคำขยายศัพท์ว่า “ติถี” ซึ่งหมายถึงวันทางจันทรคติ คือวันขึ้น-แรม

: อฏฺฐมี ติถี = ดิถีที่แปด, วันที่แปดทางจันทรคติ คือวันแปดค่ำ

ติถี” เป็นอิตถีลิงค์ “อฏฺฐม” จึงต้องเป็นอิตถีลิงค์ไปด้วย คือเป็น “อฏฺฐมี

อฏฺฐมี” ในภาษาไทยตัด ปฏักออกตามหลักนิยมของไทย (เช่น รฏฺฐ > รัฐ) จึงเป็น “อัฐมี

(๒) “บูชา

บาลีเป็น “ปูชา” รากศัพท์มาจาก ปูชฺ (ธาตุ = บูชา) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ปูชฺ + = ปูช + อา = ปูชา แปลตามศัพท์ว่า “การบูชา

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปูชา” ว่า honour, worship, devotional attention (การบูชา, การนับถือ, การแสดงความภักดี)

ปูชา” ในภาษาไทยเป็น “บูชา” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บูชา : (คำกริยา) แสดงความเคารพบุคคลหรือสิ่งที่นับถือด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น เช่น บูชาพระบูชาเทวดา บูชาไฟ, ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือหรือเลื่อมใสในความรู้ความสามารถ เช่น บูชาวีรบุรุษ บูชาความรู้ บูชาฝีมือ; ซื้อพระพุทธรูป วัตถุมงคล หรือสิ่งที่ถือว่าขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระพุทธรูปองค์นี้บูชามาเท่าไร, เช่า ก็ใช้. (ป., ส. ปูชา).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ขยายความคำว่า “บูชา” ว่า :

– นำดอกไม้ ของหอม อาหาร ทรัพย์สินเงินทอง หรือของมีค่า มามอบให้ เพื่อแสดงความซาบซึ้งพระคุณ มองเห็นความดีงาม เคารพนับถือ ชื่นชมเชิดชู หรือนำมาประกอบกิริยาอาการในการแสดงความยอมรับนับถือ ตลอดจนจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อแสดงความเคารพนับถือเช่นนั้น

– แสดงความเคารพเทิดทูน

– เชิดชูคุณความดี

– ยกย่องให้ปรากฏความสำคัญ

พระไตรปิฎกจำแนก “ปูชา” เป็น 2 อย่าง คือ –

1. อามิสบูชา (อา-มิด-สะ-) บูชาด้วยวัตถุสิ่งของ

2. ธรรมบูชา หรือ ปฏิบัติบูชา บูชาด้วยธรรม คือด้วยการปฏิบัติให้บรรลุจุดหมายที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมไว้

อฏฺฐมี + ปูชา = อฏฺฐมีปูชา > อัฐมีบูชา แปลว่า การบูชาในดิถีที่แปด, การบูชาในวันแปดค่ำ

พจน.54 มีคำว่า “อัฐมี” บอกไว้ว่า –

อัฐมี : (คำนาม) ดิถีที่ ๘, เรียกวันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ว่า วันอัฐมี.”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต มีคำว่า “อัฏฐมีบูชา” (อัฏฐมี– ไม่ตัด ปฏัก) บอกไว้ว่า –

อัฏฐมีบูชา : การบูชาในวันที่ระลึกงานถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เรียกว่าวันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ แต่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า วันอัฏฐมี

วันอัฏฐมีบูชานี้ แม้ว่าคงจะได้มีมาแต่โบราณ แต่ไม่เด่นชัด ไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง และในปัจจุบันก็ไม่จัดเข้าในวันสำคัญทางราชการ.

: คนบางคนเผาไปแล้ว แต่ยังอยู่ในหัวใจของคนทั้งโลก

: คนบางคนถูกเผาตั้งแต่ยังไม่ตายไปจากโลก

ดูก่อนภราดา! ท่านพอใจที่จะเป็นคนชนิดเช่นไร?

28-5-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย