บาลีวันละคำ

อนาปัตติวาร (บาลีวันละคำ 1,460)

อนาปัตติวาร

technical term ในพระวินัย

อ่านว่า อะ-นา-ปัด-ติ-วาน

ประกอบด้วย อนาปัตติ + วาร

(๑) “อนาปัตติ” ประกอบด้วย + อาปัตติ

(1) “” (อ่านว่า นะ) เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

(2) “อาปัตติ” (อา-ปัด-ติ) รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่ว, ยิ่ง) + ปทฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ติ ปัจจัย, แปลง ทฺ ที่ (ป)-ทฺ เป็น ตฺ (ปทฺ > ปต)

: อา + ปทฺ = อาปทฺ + ติ = อาปทฺติ > อาปตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “การต้อง

คำกริยารูปหนึ่งของ “อาปตฺติ” คือ “อาปนฺน” (อา-ปัน-นะ) แปลว่า เข้าถึง, พลาดพลั้ง, ต้อง (อาบัติ), ละเมิด (entered upon, fallen into, possessed of, having done) คำแปลนี้ช่วยให้เข้าใจความหมายของ “อาปตฺติ” ได้ชัดขึ้น

อาปตฺติ” หมายถึง โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ (an ecclesiastical offence) อย่างที่เข้าใจกันด้วยภาษาง่ายๆ ว่า “ผิดศีล” หรือ “ศีลขาด

คำนี้เรานิยมพูดทับศัพท์ว่า “อาบัติ” เช่น “พระทำอย่างนี้ไม่เป็นอาบัติหรือ

+ อาปตฺติ แปลง เป็น อน ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น –

: + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

อมนุษย์” รากเดิมจึงไม่ใช่ + มนุษย์ อย่างที่ตาเห็นในภาษาไทย

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “อาปตฺติ” ขึ้นต้นด้วยสระ คือ อา– จึงต้องแปลง เป็น อน

> อน + อาปตฺติ = อนาปตฺติ > อนาปัตติ แปลว่า “ไม่เป็นอาบัติ

(๒) “วาร

บาลีอ่านว่า วา-ระ รากศัพท์มาจาก วรฺ (ธาตุ = ผูก, พัน, มัด) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (วรฺ > วาร)

: วรฺ + = วรณ > วร > วาร แปลตามศัพท์ว่า “เวลาที่ผูกไว้” หมายถึงเวลาที่กำหนดไว้ตามเหตุการณ์นั้นๆ หมายถึง วาระ, โอกาส, เวลา, คราว (turn, occasion, time, opportunity)

วาร” ในสำนวนบาลีเมื่อใช้ร่วมกับคำอื่น ความหมายจะบ่งเฉพาะลงไป เช่น :

อุตุวารวาระของฤดู” = ตามฤดูกาล

ตติยวารครั้งที่ 3” เป็นวัฒนธรรมสังคมชมพูทวีป ถือว่าเป็นครั้งสุดท้าย (เป็นที่มาของการทำซ้ำ 3 ครั้งเพื่อย้ำเตือนให้หนักแน่น เช่น ตั้งนะโม 3 จบ)

อุทกวารวาระแห่งน้ำ” = ถึงวงรอบที่จะต้องอาบน้ำ, ถึงวาระที่จะต้องไปทำหน้าที่ลำเลียงน้ำจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง คือไปตักน้ำหรือเอาน้ำไปส่ง

ภาณวารวาระแห่งการสวด” = ข้อความที่กำหนดว่ายาวพอเหมาะที่จะใช้สวดตอนหนึ่งๆ = บทสวด

อนาปตฺติ + วาร = อนาปตฺติวาร > อนาปัตติวาร แปลว่า “วาระว่าด้วยกรณีที่ไม่ต้องอาบัติ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

อนาปัตติวาร : ตอนว่าด้วยข้อยกเว้นที่ไม่ต้องปรับอาบัตินั้นๆ ตามปกติอยู่ท้ายคำอธิบายสิกขาบทแต่ละข้อในคัมภีร์วิภังค์ พระวินัยปิฎก

เพิ่มเติม :

คำอธิบายสิกขาบทแต่ละข้อจะประกอบไปด้วย คำจำกัดความ (เหมือนในพระราชบัญญัติที่บอกว่า-ในพระราชบัญญัตินี้ “รัฐมนตรี” หมายความว่า ….”) คำอธิบายเงื่อนไขแห่งการกระทำความผิด ตัวอย่าง (ถ้ามี) และลงท้ายด้วย “อนาปัตติวาร” คือกรณียกเว้นไม่ถือว่าเป็นอาบัติ จะมีรายการระบุไว้ว่า ใคร หรือกรณีเช่นไรแม้ทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ก็ไม่ถือว่าเป็นอาบัติ

ตัวอย่าง “อนาปัตติวาร” ในทุติยปาราชิก (ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์)

“ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นของตน 1 ถือเอาด้วยวิสาสะ 1 ขอยืม 1 ทรัพย์อันเปรตหวงแหน 1 ทรัพย์อันสัตว์ดิรัจฉานหวงแหน 1 ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ (ผู้เป็นต้นบัญญัติ คือทำผิดเป็นคนแรก) 1 เหล่านี้ไม่ต้องอาบัติ”

(มหาวิภังค์ ภาค 1 วินัยปิฎก, พระไตรปิฎกเล่ม 1 ข้อ 125)

: บัณฑิต เห็นข้อยกเว้นเป็นบทเรียนเพื่อจะไม่ทำผิดพลาด

: คนพาล เห็นข้อยกเว้นเป็นโอกาสที่จะทำผิดได้สบายๆ

1-6-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย