บาลีวันละคำ

กาสาวกัณฐะ (บาลีวันละคำ 1,462)

กาสาวกัณฐะ

technical term ในคัมภีร์

อ่านว่า กา-สา-วะ-กัน-ถะ

ประกอบด้วย กาสาว + กัณฐะ

(๑) “กาสาว” (กา-สา-วะ) รูปศัพท์เดิมมาจาก กสาว + ปัจจัย

กสาว” (กะ-สา-วะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) (น้ำ) + สิ (ธาตุ = เสพ, กิน) + อว ปัจจัย, แปลง อิ (ที่ สิ) เป็น อา

: + สิ = กสิ > กสา + อว = กสาว แปลตามศัพท์ว่า “รสเป็นเหตุให้ดื่มน้ำ” (เมื่อรสชนิดนี้ไปกลั้วที่คอ ก็จะเกิดอาการอยากดื่มน้ำ)

(2) (น้ำ) + สุ (ธาตุ = ฟัง) + ปัจจัย, แปลง อุ (ที่ สุ) เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อาว

: + สุ = กสุ > กโส > กสาว + = กสาว แปลตามศัพท์ว่า “รสที่ยังน้ำให้ได้ยิน” (คือทำให้เรียกหาน้ำ)

กสาว” มีความหมายหลายอย่าง คือ :

(1) ดินเปียก หรือยางชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นสีทาฝาผนัง (a kind of paste or gum used in colouring walls)

(2) น้ำยาห้ามเลือดที่ต้มกลั่นจากพันธุ์ไม้ (an astringent decoction extracted from plants)

(3) (น้ำ) มีรสฝาด (astringent)

(4) (ผ้า) มีสีเหลืองปนแดง, มีสีส้ม (reddish-yellow, orange coloured)

(5) (ความหมายทางธรรม) อกุศลมูล, กิเลสที่ย้อมดุจน้ำฝาด (the fundamental faults)

กสาว + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง อะ (ที่ -) เป็น อา (ตามสูตรบาลีไวยากรณ์ว่า “ด้วยอำนาจปัจจัยที่เนื่องด้วย ”)

: กสาว + = กสาว > กาสาว แปลตามศัพท์ว่า “-ที่ย้อมด้วยนำฝาด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กาสาว-, กาสาวะ : (คำนาม) ผ้าย้อมฝาด, เขียนเป็น กาสาว์ ก็มี. (ป.).”

ในที่นี้ “กาสาว” หมายถึง ผ้าที่เป็นเครื่องนุ่งห่มของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ซึ่งคนไทยเรียกรู้กันว่า “ผ้าเหลือง”

(๒) “กัณฐะ

บาลีเป็น “กณฺฐ” (กัน-ถะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) กํ (ศีรษะ) + ฐา (ธาตุ = ตั้งอยู่) + กฺวิ ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ กํ เป็น ณฺ (กํ > กณฺ), ลบสระที่สุดธาตุและ กฺวิ

: กํ > กณฺ + ฐา + กฺวิ = กณฺฐากฺวิ > กณฺฐา > กณฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นที่ตั้งแห่งศีรษะ

(2) กมฺ (ธาตุ = ปรารถนา) + ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ (กมฺ > ), ซ้อน ณฺ

: กมฺ > + ณฺ + = กณฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะที่ปรารถนาข้าวสุกเป็นต้น

(3) กณฺ (ธาตุ = ส่งเสียง) + ปัจจัย

: กณฺ + = กณฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องออกเสียง

กณฺฐ” หมายถึง คอ (neck), คอหอย (throat)

กณฺฐ” ภาษาไทยเขียน “กัณฐ์” (กัน) เช่นคำว่า “ทศกัณฐ์” แปลว่า “ผู้มีสิบคอ

กาสาว + กณฺฐ = กาสาวกณฺฐ > กาสาวกัณฐะ แปลว่า “ผู้มีผ้ากาสาวะผูกไว้ที่คอ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กาสาวกณฺฐ” ว่า the “yellow necks” those whose necks are dressed in yellow (“คอสีเหลือง” ผู้ซึ่งคอของเขาถูกแต่งด้วยสีเหลือง)

ในคัมภีร์กล่าวไว้ว่า ในอนาคตกาลนานไกล เมื่อพระศาสนาเสื่อมถึงที่สุด บรรพชิตจะแต่งกายเหมือนชาวบ้าน เพียงแต่มีผ้าเหลืองผูกไว้ที่คอเท่านั้นเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าเป็นภิกษุ ชีวิตปกติก็จะประกอบอาชีพ มีครอบครัวเยี่ยงชาวบ้านธรรมดา

ท่านเรียกบรรพชิตในยุคสมัยนั้นว่า “กาสาวกณฺฐ > กาสาวกัณฐะ > ผู้มีผ้ากาสาวะผูกไว้ที่คอ

: ผ้ากาสาวพัสตร์สามารถรองรับความเป็นสมณะได้เสมอมา

: แต่ไม่สามารถรับรองความเป็นสมณะได้เสมอไป

3-6-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย