บาลีวันละคำ

ตาล (บาลีวันละคำ 1,464)

ตาล

กลายเป็นคำไทยจนเราลืมคำแท้

อ่านว่า ตาน

ตาล” บาลีอ่านว่า ตา-ละ รากศัพท์มาจาก ตลฺ (ธาตุ = ตั้งอยู่) + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง อะ ที่ -(ลฺ) เป็น อา (ตลฺ > ตาล)

: ตลฺ + = ตลณ > ตล > ตาล แปลตามศัพท์ว่า “ต้นไม้ที่ตั้งอยู่” (คือยืนต้นคล้ายกับว่าตั้งไว้)

ตาล” ที่คุ้นกันในภาษาไทย หมายถึงต้นตาล แต่ในบาลีใช้ในความหมาย 2 อย่าง พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกไว้ดังนี้ –

(1) the palmyra tree (fan palm), Borassus flabelliformis (ต้นตาล, ต้นตาลโตนด)

(2) a strip, stripe, streak (แผ่น, ชิ้น, แถบ, แนว, รอย)

ตาล” ในสันสกฤตก็ใช้ในความหมายหลายอย่าง แต่เฉพาะที่เกี่ยวกับต้นตาล สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ 2 ความหมาย คือ –

(1) ตาล : (คุณศัพท์) อันทำด้วยไม้ตาล (made of palm-wood)

(2) ตาล : (คำนาม) ผลตาล (the fruit of palm tree)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ตาล : (คำนาม) ชื่อปาล์มชนิด Borassus flabellifer L. ในวงศ์ Palmae ใบใหญ่ ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ต้นเพศผู้ออกดอกเป็นงวง ต้นเพศเมียออกดอกเป็นช่อเดี่ยว ๆ ผลใหญ่กลมโตเป็นทะลาย ภายในผลมีเมล็ด เรียกว่าเต้า น้ำหวานที่ออกจากงวงของต้นเพศผู้ เรียกว่า น้ำตาลสด ใช้ทำน้ำตาลได้ ตอนหัวของผลอ่อน เรียกว่าหัวตาล ต้มแกงกินได้ เมื่อเต้ายังอ่อน เรียกว่า ลอนตาลหรือตาลเฉาะ เนื้อในนิยมกินสดหรือกินกับนํ้าเชื่อม จาวที่เกิดจากเมล็ดแก่ที่งอกแล้ว เรียกว่า จาวตาล เชื่อมกินได้, ตาลโตนด ก็เรียก; เรียกขนมที่ทำด้วยแป้งผสมนํ้าคั้นจากลูกตาลสุก ว่า ขนมตาล.”

โปรดสังเกตชื่อวิทยาศาตร์ พจน.54 บอกว่า Borassus flabellifer

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกว่า Borassus flabelliformis

ไทยเราเอาคำว่า “ตาล” มาใช้ในภาษาไทยจนกลายเป็นคำไทยอย่างสนิท แต่ที่สำคัญก็คือทำให้เราเกือบลืมชื่อไทยของไม้ชนิดนี้

นิราศเมืองเพชร ของสุนทรภู่ ออกชื่อไทยไว้ดังนี้ –

ที่พวกทำน้ำโตนดประโยชน์ทรัพย์

มีดสำหรับเหน็บข้างอย่างทหาร

พะโองยาวก้าวตีนปีนทะยาน

กระบอกตาลแขวนก้นคนลพวง

นิราศพระบาท ของสุนทรภู่ แสดงคติชีวิตจากต้นตาลไว้ตอนหนึ่งว่า

เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น

ระวังตนตีนมือระมัดมั่น

เหมือนคบคนคำหวานรำคาญครัน

ถ้าพลั้งพลันเจ็บอกเหมือนตกตาล

: ตกตาล อาจเสียชีวิต

: ตกจากความซื่อสัตย์สุจริต-เสียคน

5-6-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย