บาลีวันละคำ

บรมมังคลานุสรณีย์ (บาลีวันละคำ 1,468)

บรมมังคลานุสรณีย์

อ่านว่า บอ-รม-มัง-คะ-ลา-นุด-สะ-ระ-นี

ประกอบด้วย บรม + มังคล + อนุสรณีย์

(๑) “บรม

บาลีเป็น “ปรม” (ปะ-ระ-มะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปร (ข้าศึก) + มรฺ (ธาตุ = ตาย) + กฺวิ ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (มรฺ > ) และลบปัจจัย

: ปร + มรฺ + กฺวิ = ปรมรกฺวิ > ปรมร > ปรม แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังธรรมอันเป็นข้าศึกให้ตาย

(2) (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + ปัจจัย, ลบ

: + รมฺ = ปรมฺ + = ปรมณ > ปรม แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยินดีในความยิ่งใหญ่

(3) ปรฺ (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย

: ปรฺ + = ปรม แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่รักษาความสูงสุดของตนไว้ได้

หมายเหตุ: “ปรม” ยังมีรากศัพท์และแปลอย่างอื่นอีกหลายความหมาย

ปรม” หมายถึง สูงสุด, พิเศษสุด, เป็นเลิศ, ดีที่สุด (highest, most excellent, superior, best)

ปรม” ภาษาไทยใช้ว่า “บรม” (บอ-รม) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บรม, บรม– : (คำวิเศษณ์) อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นําหน้าคําที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม); (ภาษาปาก) อย่างที่สุด เช่น ขี้เกียจบรม บรมขี้เกียจ”

บรม” ในภาษาไทย บางบริบทชวนให้รู้สึกว่า มาก หรือมากมายหลายอย่าง

(๒) “มังคล

บาลีเป็น “มงฺคล” (มัง-คะ-ละ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มคิ (ธาตุ = ถึง, ไป, เป็นไป) + อล ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ต้นธาตุแล้วแปลงนิคหิตเป็น งฺ (มคิ > มํคิ > มงฺคิ), ลบสระที่สุดธาตุ (มคิ > มค)

: มคิ > มํคิ > มํค > มงฺค + อล = มงฺคล แปลตามศัพท์ว่า (1) “เหตุที่ถึงความเจริญ” (2) “เหตุเป็นเครื่องถึงความบริสุทธิ์

(2) มงฺค (บาป, ความชั่ว) + ลุ (ธาตุ = ตัด) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ตามสูตรว่า “ลบสระหน้า” = ลุ > )

: มงฺค + ลุ = มงฺคลุ > มงฺคล + = มงฺคล แปลตามศัพท์ว่า “เหตุที่ตัดความชั่ว

มงฺคล” ในบาลีใช้ในความหมายว่า –

(1) มีฤกษ์งามยามดี, รุ่งเรือง, มีโชคดี, มีมหกรรมหรืองานฉลอง (auspicious, prosperous, lucky, festive)

(2) ลางดี, ศุภมงคล, งานรื่นเริง (good omen, auspices, festivity)

มงฺคล” ในภาษาไทย โดยปกติใช้ว่า “มงคล” (มง-คน) พจน.54 บอกไว้ว่า –

มงคล, มงคล– : (คำนาม) เหตุที่นํามาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่งซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้ายมากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องรางของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้นสำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทยหรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).”

ในที่นี้เป็นชื่อเฉพาะ สะกดเป็น “มังคล-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย)

(๓) “อนุสรณีย์

บาลีเป็น “อนุสฺสรณีย” (อะ-นุด-สะ-ระ-นี-ยะ) รากศัพท์มาจาก อนุ (คำอุปสรรค = ตาม, เนืองๆ) + สรฺ (ธาตุ = ระลึก) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แล้วแปลง เป็น (ยุ > อน > อณ) + อีย ปัจจัย, ซ้อน สฺ ระหว่าง อนุ + สรฺ

: อนุ + สฺ + สรฺ = อนุสฺสรฺ + ยุ > อน = อนุสฺสรน > อนุสฺสรณ แปลตามศัพท์ว่า “การระลึกถึงเนืองๆ” หมายถึง การอรุสรณ์, การระลึกถึง, ความทรงจำ (remembrance, memory, recollection)

: อนุสฺสรณ + อีย = อนุสฺสรณีย แปลตามศัพท์ว่า “อันเป็นที่ตั้งแห่งการระลึกถึงเนืองๆ

ปรม + มงฺคล + อนุสฺสรณีย = ปรมมงฺคลานุสฺสรณีย > บรมมังคลานุสรณีย์ แปลตามศัพท์ว่า “– อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงเนืองๆ ซึ่งมงคลที่สูงสุด

หมายเหตุ : ในภาษาไทย ตัด ตัวสะกดออกตัวหนึ่ง และไม่ต้องการออกเสียง ยะ จึงใส่ไม้ทัณฑฆาตที่ – : –สรณีย > –สรณีย์

………

บรมมังคลานุสรณีย์” เป็นชื่อเรือนยอดที่สถาบันสิริกิติ์ สวนจิตรลดา ดำริสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติในวาระสำคัญหลายประการ กล่าวคือ –

(1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี ในปี พ.ศ. 2559

(2) สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา ในปี พ.ศ. 2559

(3) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุครบ 5 รอบพระชันษาในปี พ.ศ. 2558

(4) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะทรงมีพระชันษา 60 ปี ในปี พ.ศ.2560

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเรือนยอดหลังนี้ว่า “เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์” อันมีความหมายว่า “สร้างในวาระสำคัญหลายประการ

เรือนยอด “บรมมังคลานุสรณีย์” ตั้งอยู่ในบริเวณด้านทิศตะวันออกของพระนั่งอนันตสมาคม ในพระราชวังดุสิต

(ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ http://www.thairath.co.th/content/556541)

………

: อย่าเพียงแต่ระลึกถึงมงคลด้วยความชื่นชมยินดี

: แต่จงเร่งทำให้มงคลเกิดมีอยู่ในหัวใจ

—————

(ตามคำขอของ Ratana Burana)

9-6-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย