บาลีวันละคำ

ชุมนุม (บาลีวันละคำ 1,502)

ชุมนุม

บาลีว่าอย่างไร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ชุมนุม : (คำนาม) กอง, หมู่, พวก. (คำกริยา) ประชุม, รวมกัน.”

ชุมนุม” ถ้าเป็นคำนาม ภาษาบาลีมีคำใช้หลายคำ เช่น สมูห  สนฺนิปาต  สโมสรณ  สโมธาน

(๑) “สมูห” (สะ-มู-หะ) รากศัพท์มาจาก สํ (แทนศัพท์ว่า “สมฺมา” = โดยชอบ, โดยพิเศษ; รวมกัน) อูหฺ (ธาตุ = นับ; ตั้งอยู่; รู้) + ปัจจัย, ลบ , แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น มฺ (สํ > สม)

: สํ > สม + อูหฺ = สมูห + = สมูหณ > สมูห (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “หมู่ที่นับกันโดยชอบและโดยพิเศษ” (2) “หมู่ที่ดำรงอยู่กับส่วนย่อย” (3) “หมู่อันเขารู้กันดีว่าเป็นส่วนเดียวกัน” หมายถึง กอง, กลุ่ม, การรวมกัน (multitude, mass, aggregation)

(๒) “สนฺนิปาต” (สัน-นิ-ปา-ตะ) รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน) + นิ (คำอุปสรรค = ลง) + ปตฺ (ธาตุ = ตก) + ปัจจัย, ลบ , แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น (สํ > สนฺ), ยืดเสียง อะ ที่ -(ตฺ) เป็น อา ( ปตฺ > ปาต)

: สํ > สนฺ + นิ = สนฺนิ + ปตฺ = สนฺนิปตฺ + = สนฺนิปตณ > สนฺนิปต > สนฺนิปาต (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การตกลงพร้อมกันโดยไม่เหลือ” หมายถึง การรวมกัน, การมาบรรจบกัน, การประชุม, การชุมนุมกัน, ที่ประชุม. เรียกทับศัพท์ว่า การสันนิบาต (union, coincidence, assemblage, assembly, congregation)

สนฺนิปาต” คือที่ใช้ในภาษาไทยว่า “สันนิบาต”

(๓) “สโมสรณ” (สะ-โม-สะ-ระ-นะ) รากศัพท์มาจาก สํ (ร่วมกัน, พร้อมกัน) + โอ (ลง) + สรฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ยุ ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น (สํ > สม), แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แปลง เป็น (อน > อณ)

: สํ > สม + โอ = สโม + สรฺ = สโมสร + ยุ > อน = สโมสรน > สโมสรณ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การไปรวมกัน

สโมสรณ” มีรากศัพท์เดียวกับคำว่า “สโมสร” ที่ใช้ในภาษาไทย

(๔) “สโมธาน” (สะ-โม-ทา-นะ) รากศัพท์มาจาก สํ (สมฺมา = ด้วยดี) + โอ (ลง) + ธา (ธาตุ = ทรงไว้) + ยุ ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น (สํ > สม), แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: สํ > สม + โอ = สโม + ธา = สโมธา + ยุ > อน = สโมธาน (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การรวมกันด้วยดี

สโมสรณ” และ “สโมธาน” มีความหมายเหมือนกัน คือ การประชุม, การชุมนุม, การรวมกัน (coming together, meeting, union, junction)

คำนามเหล่านี้ ถ้าเป็นคำกริยา (ปฐมบุรุษ เอกพจน์) รูปจะเปลี่ยนเป็นดังนี้ –

สมูห = สมูหติ (สะ-มู-หะ-ติ)

สนฺนิปาต = สนฺนิปตติ (สัน-นิ-ปะ-ตะ-ติ)

สโมสรณ = สโมสรติ (สะ-โม-สะ-ระ-ติ)

สโมธาน = สโมธาเนติ (สะ-โม-ทา-เน-ติ)

การชุมนุมบางเหตุการณ์ เราคุ้นคำอังกฤษว่า mob (ม็อบ)

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล mob เป็นบาลีว่า –

(1) janasamūha ชนสมูห (ชะ-นะ-สะ-มู-หะ) = หมู่คน

(2) kalahakārī parisā กลหการี ปริสา (กะ-ละ-หะ-กา-รี ปะ-ริ-สา) = กลุ่มคนที่ก่อความวุ่นวาย

ในเมืองไทย นอกจากประชาชนธรรมดาจะออกมาชุมนุมกันแล้ว บางกรณีพระสงฆ์ก็ออกมาชุมนุมด้วย ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันเสมอมาว่า เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม

: ชุมนุมกันทำบุญ แม้เทวดาก็ยังมากราบ

: ชุมนุมกันทำบาป แม้แต่สัตว์นรกก็เมิน

15-7-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย