บาลีวันละคำ

วาลวีชนี (บาลีวันละคำ 2,500)

วาลวีชนี

อ่านว่า วา-ละ-วี-ชะ-นี

ประกอบด้วยคำว่า วาล + วีชนี

(๑) “วาล

บาลีอ่านว่า วา-ละ รากศัพท์มาจาก วลฺ (ธาตุ = ระวัง, รักษา) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(ลฺ) เป็น อา (วลฺ > วาล)

: วลฺ + = วลณ > วล > วาล แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขารักษาไว้

วาล” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ขนหาง, ขนม้า, หาง (the hair of the tail, horse-hair, tail)

(2) กระชอนผม (a hair-sieve)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วาล, วาล– : (คำนาม) หาง; ขนสัตว์, ขนหางสัตว์. (บางทีเขียน พาล). (ป., ส.).”

(๒) “วีชนี

บาลีอ่านว่า วี-ชะ-นี รากศัพท์มาจาก วีชฺ (ธาตุ = พัดโบกให้เกิดลม) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) + อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: วีชฺ + ยุ > อน = วีชน + อี = วีชนี แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องพัดลม” หมายถึง พัด (a fan)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้เป็น “วิชนี” (วิ– สระ อิ) อ่านว่า วิด-ชะ-นี และ “วีชนี” (วี– สระ อี) บอกไว้ดังนี้ –

(1) วิชนี : (คำนาม) วีชนี. (ป. วีชนี; ส. วีชน).

(2) วีชนี : (คำนาม) วิชนี, พัด. (ป.; ส. วีชน).

โปรดสังเกตวิธีให้บทนิยามของพจนานุกรมฯ ที่ “วิชนี” บอกว่าคือ “วีชนี” ไม่บอกคำแปล ส่วนที่ “วีชนี” ก็บอกว่าคือ “วิชนี” แต่เพิ่มคำแปลว่า พัด ไว้ด้วย

คำในวงเล็บบอกให้รู้ว่า คำนี้บาลีเป็น “วีชนี” สันสกฤตเป็น “วีชน

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “วีชน” (วี-ชะ-นะ) บอกไว้ดังนี้ –

วีชน : (คำนาม) พัด; พัสดุ; ไก่นาหรือไก่ฟ้าอย่างหนึ่ง; ห่านเทศ – เป็ดเทศ – หรือหงส์; a fan; thing or substance; a sort of pheasant; the ruddy goose.”

วาล + วีชนี = วาลวีชนี แปลตามศัพท์ว่า “พัดที่ทำด้วยขนหางสัตว์

หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) แปล “วาลวีชนี” ว่า พัดวาลวีชนี, พัดหางจามรี

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วาลวีชนี” ว่า a fan made of a Yak’s tail, a chowrie (พัดทำด้วยขนหางจามรี, แส้)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วาลวีชนี : (คำนาม) พัดกับแส้ จัดเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์สิ่งหนึ่งในเบญจราชกกุธภัณฑ์, วาลวิชนี ก็ว่า. (ป., ส.).”

พจนานุกรมฯ บอกว่า “วาลวีชนี” (-วี– สระ อี) คำนี้ “วาลวิชนี ก็ว่า” หมายความว่าใช้เป็น “วาลวิชนี” (-วิ– สระ อิ) ก็มี

แต่ในพจนานุกรมฯ เองไม่ได้เก็บคำว่า “วาลวิชนี” ไว้

ขยายความ :

หนังสือ “ประมวลองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” กระทรวงวัฒนธรรมจัดพิมพ์เนื่องในมหามงคลการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 หน้า 114 อธิบายเรื่อง “วาลวิชนี” มีข้อความดังนี้ –

…………..

วาลวิชนี (วาน-ละ-วิด-ชะ-นี) (พัดและแส้) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้าง ลักษณะเป็นพัดใบตาล ที่ใบตาลปิดทองทั้ง ๒ ด้าน ขอบขลิบทองคำ ด้ามทำด้วยทองลงยา เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า ตามพระบาลีที่เรียกว่า “วาลวิชนี” ไม่ควรจะเป็นพัดใบตาล ควรจะเป็นเครื่องโบกปัดที่ทำด้วยขนจามรี เพราะวาล แปลว่า ขนโคชนิดหนึ่ง ตรงกับที่ไทยเรียก จามรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างแส้ขนจามรีเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ภายหลังใช้ขนหางช้างเผือก เรียกว่า “พระแส้หางช้างเผือก” แต่ก็ไม่อาจที่จะเลิกใช้พัดใบตาลของเดิมได้ จึงโปรดให้ใช้พัดใบตาลและพระแส้จามรีควบคู่กัน โดยเรียกว่า วาลวิชนี

…………..

แถมข้อควรสังเกต :

มีข้อควรสังเกตนิดหนึ่ง คือ หนังสือ “ประมวลองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” บอกคำอ่าน “วาลวิชนี” ว่า วาน-ละ-วิด-ชะ-นี นั่นคือตรงคำว่า “วาล-” ตามหนังสืออ่านว่า วาน-ละ- (วาน- ไม่ใช่ วา-)

แต่ที่คำว่า “วาลวีชนี” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกคำอ่านว่า วา-ละ- (วา- ไม่ใช่ วาน-)

วาลวิชนี” ตามหนังสือ กับ “วาลวีชนี” ในพจนานุกรมฯ ต่างกันตรง –วิ– กับ –วี– เท่านั้น คำอ่านตรงคำว่า “วาล-” ไม่ควรต่างกัน

บัณฑิตพึงพิจารณาโดยแยบคายเทอญ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ใจต่ำ

: ย่อมมองไม่เห็นของสูง

#บาลีวันละคำ (2,500)

17-4-62

วาลวีชนี

อ่านว่า วา-ละ-วี-ชะ-นี

ประกอบด้วยคำว่า วาล + วีชนี

(๑) “วาล

บาลีอ่านว่า วา-ละ รากศัพท์มาจาก วลฺ (ธาตุ = ระวัง, รักษา) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(ลฺ) เป็น อา (วลฺ > วาล)

: วลฺ + = วลณ > วล > วาล แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขารักษาไว้

วาล” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ขนหาง, ขนม้า, หาง (the hair of the tail, horse-hair, tail)

(2) กระชอนผม (a hair-sieve)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วาล, วาล– : (คำนาม) หาง; ขนสัตว์, ขนหางสัตว์. (บางทีเขียน พาล). (ป., ส.).”

(๒) “วีชนี

บาลีอ่านว่า วี-ชะ-นี รากศัพท์มาจาก วีชฺ (ธาตุ = พัดโบกให้เกิดลม) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) + อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: วีชฺ + ยุ > อน = วีชน + อี = วีชนี แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องพัดลม” หมายถึง พัด (a fan)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้เป็น “วิชนี” (วิ– สระ อิ) อ่านว่า วิด-ชะ-นี และ “วีชนี” (วี– สระ อี) บอกไว้ดังนี้ –

(1) วิชนี : (คำนาม) วีชนี. (ป. วีชนี; ส. วีชน).

(2) วีชนี : (คำนาม) วิชนี, พัด. (ป.; ส. วีชน).

โปรดสังเกตวิธีให้บทนิยามของพจนานุกรมฯ ที่ “วิชนี” บอกว่าคือ “วีชนี” ไม่บอกคำแปล ส่วนที่ “วีชนี” ก็บอกว่าคือ “วิชนี” แต่เพิ่มคำแปลว่า พัด ไว้ด้วย

คำในวงเล็บบอกให้รู้ว่า คำนี้บาลีเป็น “วีชนี” สันสกฤตเป็น “วีชน

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “วีชน” (วี-ชะ-นะ) บอกไว้ดังนี้ –

วีชน : (คำนาม) พัด; พัสดุ; ไก่นาหรือไก่ฟ้าอย่างหนึ่ง; ห่านเทศ – เป็ดเทศ – หรือหงส์; a fan; thing or substance; a sort of pheasant; the ruddy goose.”

วาล + วีชนี = วาลวีชนี แปลตามศัพท์ว่า “พัดที่ทำด้วยขนหางสัตว์

หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) แปล “วาลวีชนี” ว่า พัดวาลวีชนี, พัดหางจามรี

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วาลวีชนี” ว่า a fan made of a Yak’s tail, a chowrie (พัดทำด้วยขนหางจามรี, แส้)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วาลวีชนี : (คำนาม) พัดกับแส้ จัดเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์สิ่งหนึ่งในเบญจราชกกุธภัณฑ์, วาลวิชนี ก็ว่า. (ป., ส.).”

พจนานุกรมฯ บอกว่า “วาลวีชนี” (-วี– สระ อี) คำนี้ “วาลวิชนี ก็ว่า” หมายความว่าใช้เป็น “วาลวิชนี” (-วิ– สระ อิ) ก็มี

แต่ในพจนานุกรมฯ เองไม่ได้เก็บคำว่า “วาลวิชนี” ไว้

ขยายความ :

หนังสือ “ประมวลองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” กระทรวงวัฒนธรรมจัดพิมพ์เนื่องในมหามงคลการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 หน้า 114 อธิบายเรื่อง “วาลวิชนี” มีข้อความดังนี้ –

…………..

วาลวิชนี (วาน-ละ-วิด-ชะ-นี) (พัดและแส้) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้าง ลักษณะเป็นพัดใบตาล ที่ใบตาลปิดทองทั้ง ๒ ด้าน ขอบขลิบทองคำ ด้ามทำด้วยทองลงยา เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า ตามพระบาลีที่เรียกว่า “วาลวิชนี” ไม่ควรจะเป็นพัดใบตาล ควรจะเป็นเครื่องโบกปัดที่ทำด้วยขนจามรี เพราะวาล แปลว่า ขนโคชนิดหนึ่ง ตรงกับที่ไทยเรียก จามรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างแส้ขนจามรีเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ภายหลังใช้ขนหางช้างเผือก เรียกว่า “พระแส้หางช้างเผือก” แต่ก็ไม่อาจที่จะเลิกใช้พัดใบตาลของเดิมได้ จึงโปรดให้ใช้พัดใบตาลและพระแส้จามรีควบคู่กัน โดยเรียกว่า วาลวิชนี

…………..

แถมข้อควรสังเกต :

มีข้อควรสังเกตนิดหนึ่ง คือ หนังสือ “ประมวลองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” บอกคำอ่าน “วาลวิชนี” ว่า วาน-ละ-วิด-ชะ-นี นั่นคือตรงคำว่า “วาล-” ตามหนังสืออ่านว่า วาน-ละ- (วาน- ไม่ใช่ วา-)

แต่ที่คำว่า “วาลวีชนี” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกคำอ่านว่า วา-ละ- (วา- ไม่ใช่ วาน-)

วาลวิชนี” ตามหนังสือ กับ “วาลวีชนี” ในพจนานุกรมฯ ต่างกันตรง –วิ– กับ –วี– เท่านั้น คำอ่านตรงคำว่า “วาล-” ไม่ควรต่างกัน

บัณฑิตพึงพิจารณาโดยแยบคายเทอญ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ใจต่ำ

: ย่อมมองไม่เห็นของสูง

#บาลีวันละคำ (2,500)

17-4-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *