บาลีวันละคำ

คารวะ (บาลีวันละคำ 1,512)

คารวะ

อ่านว่า คา-ระ-วะ

บาลีเขียน “คารว

คารว” (คา-ระ-วะ) รากศัพท์มาจาก ครุ + ปัจจัย

(๑) “ครุ” (คะ-รุ) รากศัพท์มาจาก –

ก) ครฺ (ธาตุ = ไหลไป; ลอยขึ้น) + อุ ปัจจัย

: ครฺ + อุ = ครุ แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่เลื่อนไหลกว้างขวางไป” (2) “ผู้ลอยเด่น

ข) คิรฺ (ธาตุ = คาย, หลั่ง) + อุ ปัจจัย, ลบสระต้นธาตุ (คิรฺ > ครฺ)

: คิรฺ + อุ = คิรุ > ครุ แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้คายความรักให้หมู่ศิษย์” (2) “ผู้หลั่งความรักไปในหมู่ศิษย์

ครุ” ในบาลีใช้ในความหมายว่า –

(1) หนัก, น้ำหนักบรรทุก (heavy, a load)

(2) สำคัญ, ควรเคารพ, พึงเคารพ (important, venerable, reverend)

(3) คนที่ควรนับถือ, ครู (a venerable person, a teacher)

(๒) ครุ + ปัจจัย, ลบ , แผลง อุ ที่ (ค)-รุ เป็น โอ แล้วแปลง โอ เป็น อว (ครุ > คโร > ครว), ทีฆะ อะ ที่ต้นศัพท์ คือ -(รว) เป็น อา ด้วยอำนาจ ปัจจัย (ครว > คารว)

: ครุ + = ครุณ > ครุ > คโร > ครว > คารว (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะแห่งครุ” หมายถึง การคารวะ, ความเคารพ, ความนับถือ (reverence, respect, esteem); ความยำเกรง, ความนอบน้อม (respect for, reverence towards)

ความหมายในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

คารวะ : (คำนาม) ความเคารพ, ความนับถือ. (คำกริยา) แสดงความเคารพ. (ป.).”

ในภาษาไทย เคยมีคำพูดติดปากอันเนื่องมาจากสำนวนหนังสือกำลังภายในว่า “ขอคารวะหนึ่งจอก” เป็นคำพูดประกอบกิริยารินสุราแล้วน้อมยื่นให้ด้วยความนับถือ

คารวะ” ท่านจัดเป็นมงคลข้อหนึ่งในมงคล 38 ประการ อันเป็นคุณธรรมที่ยังผู้ประพฤติปฏิบัติให้เข้าถึงความสุขความเจริญก้าวหน้า

คารวะ” สำหรับชาวพุทธ โดยเฉพาะภิกษุ มีอะไรบ้าง พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ข้อ [261] แสดงไว้ดังนี้ –

[261] คารวะ หรือ คารวตา 6 (ความเคารพ, การถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะพึงใส่ใจและปฏิบัติด้วยความเอื้อเฟื้อ หรือโดยความหนักแน่นจริงจัง, การมองเห็นคุณค่าและความสำคัญแล้วปฏิบัติต่อบุคคลหรือสิ่งนั้นโดยถูกต้อง ด้วยความจริงใจ — Gārava, Gāravatā: reverence; esteem; attention; respect; appreciative action)

1. สัตถุคารวตา (ความเคารพในพระศาสดา — reverence for the Master) ข้อนี้บางแห่งเขียนเป็น พุทธคารวตา (ความเคารพในพระพุทธเจ้า — Satthu-gāravatā: reverence for the Buddha)

2. ธัมมคารวตา (ความเคารพในธรรม — Dhamma-gāravatā: reverence for the Dhamma)

3. สังฆคารวตา (ความเคารพในสงฆ์ — Saŋgha-gāravatā: reverence for the Order)

4. สิกขาคารวตา (ความเคารพในการศึกษา — Sikkhā-gāravatā: reverence for the Training)

5. อัปปมาทคารวตา (ความเคารพในความไม่ประมาท — Appamāda-gāravatā: reverence for earnestness)

6. ปฏิสันถารคารวตา (ความเคารพในปฏิสันถาร คือ การต้อนรับปราศรัย — Paṭisanthāra-gāravatā: reverence for hospitality)

ธรรม 6 อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแห่งภิกษุ.

…………..

: คารวะต่อคนทั่วไป ไม่เคยทำให้ใครเสียศักดิ์ศรี

: กระด้างดื้อถือดี ก็ไม่เคยทำให้ใครมีเกียรติสูงขึ้น

25-7-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย