บาลีวันละคำ

ประกาศิต (บาลีวันละคำ 1,511)

ประกาศิต

อ่านว่า ปฺระ-กา-สิด

ประกาศิต” บาลีเป็น “ปกาสิต” (ปะ-กา-สิ-ตะ) เป็นรูปคำที่เปลี่ยนมาจากคำกริยา “ปกาสติ” (ปะ-กา-สะ-ติ) อันเป็นคำกิริยาอาขยาต ปฐมบุรุษ เอกพจน์ แปลว่า ส่องแสง, ปรากฏเห็น, เป็นที่รู้จัก (to shine forth, to be visible, to become known)

คำที่มาจากรากเดียวกันคำหนึ่งที่เราคุ้นกันดีในภาษาไทยคือ “ประกาศ

ประกาศ” บาลีเป็น “ปกาส” อ่านว่า ปะ-กา-สะ รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + กาสฺ (ธาตุ = ส่องแสง, ส่งเสียง) + ปัจจัย

: + กาสฺ = ปกาสฺ + = ปกาส แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ส่องสว่างทั่ว” “ผู้ส่งเสียงไปทั่ว

ปกาส” ในบาลีมักใช้ในความหมายว่า แสงสว่าง, ความสว่าง (light)

ถ้าใช้ในความหมายว่า การอธิบาย, การทำให้ทราบ, ข่าวสาร, หลักฐาน, การชี้แจง, การประกาศ, การเผยแพร่ (explaining, making known; information, evidence, explanation, publicity) บาลีนิยมใช้ในรูป “ปกาสน” (ปะ-กา-สะ-นะ) ( + กาสฺ + ยุ > อน = ปกาสน)

ปกาส สันสกฤตเป็น “ปฺรกาศ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ปฺรกาศ : (คำนาม) ‘ประกาศ,’ สูรยาตบะ, สูรยาโลก, แสงแดด; โศภา, ประภา; ความเบิกบาน, ความสร้าน, ความแสดงไข; หัวเราะ; ยิ้ม; ความเปิดเผยหรือแพร่หลาย; ธาตุสีขาวหรือธาตุหล่อระฆัง; sunshine; luster, light, expansion, diffusion, manifestation; a laugh; a smile; publicity; white or bellmetal.”

จาก “ปกาสติ” เป็น “ปกาส” แล้วทำกรรมวิธีทางไวยากรณ์ คือ ลง (ตะ) ปัจจัยในกิริยากิตก์ และลง อิ อาคมหน้าปัจจัย

” ปัจจัย เป็นปัจจัยที่ทำหน้าที่เปลี่ยนกาลจาก “ปัจจุบันกาล” เป็น “อดีตกาล” (หลักง่ายๆ ที่นักเรียนบาลีเข้าใจกันดีคือ แปลว่า “-แล้ว”)

: ปกาส + อิ + = ปกาสิต แปลตามศัพท์ว่า “อัน-ประกาศแล้ว

หมายถึง อธิบาย, แสดง, ประกาศ, ทำให้รู้ (explained, manifested, made known)

สังเกตง่ายๆ :

ปกาส” เป็นคำนาม (explaining, making known; information, evidence, explanation)

ปกาสติ” เป็นคำกริยาปัจจุบันกาล (กิริยาอาขยาต) (to shine forth, to be visible, to become known)

ปกาสิต” เป็นคำกริยาอดีตกาล (กิริยากิตก์) (explained, manifested, made known)

สังเกตคำแปลภาษาอังกฤษจะเห็นชัดขึ้น นั่นคือ-ที่นักเรียนไทยมักจำสูตรง่ายๆ ว่า เติม -ed เพื่อทำให้เป็นอดีตกาลนั่นเอง

ปกาสิต” นอกจากเป็นคำกริยาอดีตกาลแล้วยังใช้เป็นคำวิเศษณ์ (คำขยายนาม) ได้ด้วย คือหมายถึง “สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกประกาศให้ทราบทั่วกันแล้ว”

ปกาสิต” ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “ประกาศิต

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประกาศิต : (คำนาม) คําสั่งเด็ดขาด, คําพูดที่ศักดิ์สิทธิ์.”

โปรดสังเกตว่า ความหมายในภาษาไทยเคลื่อนที่ไปจากความหมายในภาษาบาลีค่อนข้างมาก

หน่วยราชการไทยหน่วยหนึ่งมีชื่อว่า “กองประกาศิต” อยู่ในสำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักนายกรัฐมนตรี (หากคลาดเคลื่อน ขอแรงท่านผู้รู้ทักท้วงด้วย) หน้าที่อย่างหนึ่งของกองนี้ก็คือเขียนในกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รวมทั้งคำจารึกในสุพรรณบัฏของพระราชาคณะชั้นสูงเป็นต้น

: ความชั่วความดีที่คนประกาศ ยังมีวันผิด

: แต่บุญบาปที่ทำ กรรมประกาศิตไม่มีวันพลาด

24-7-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย