บาลีวันละคำ

เนรคุณ (บาลีวันละคำ 820)

เนรคุณ

อ่านว่า เน-ระ-คุน

ประกอบด้วย เนร + คุณ

เนร” คำเดิมมาจาก “นิ” เป็นคำจำพวกที่เรียกในภาษาไวยากรณ์ว่า “นิบาต

นิ” เมื่อนำหน้าคำอื่น มักมีกระบวนการเปลี่ยนแปลง เป็นต้นว่า ซ้อนอักษรแรกของคำที่ตามหลัง เช่น –

นิ + เทส = นิทฺเทส ( เป็นอักษรแรกของคำหลัง)

นิ + พาน ( = วาน) = นิพฺพาน ( เป็นอักษรแรกของคำหลัง)

หรือลงอักษร “” แทรกกลาง (เรียกว่า “ลง -อาคม”) = นิ > นิร

ในภาษาไทย จาก “นิร-” อาจแผลงเป็น “เนร-” ได้อีก

นิ– > นิร– > เนร– แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี, ออก

คุณ” (คุ-นะ) รากศัพท์มาจาก คุณฺ (ธาตุ = ประกาศ, ผูก, มัด, สั่งสม) + ปัจจัย

: คุณฺ + = คุณ แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “สิ่งที่ประกาศความดีของตน” = เมื่อทำสิ่งนั้น ก็จะประกาศให้รู้ว่าสิ่งที่ทำหรือผู้ทำสิ่งนั้นมีความดี

(2) “สิ่งที่ผูกผลไว้กับตน” = เมื่อทำสิ่งนั้นก็เท่ากับได้ผลของสิ่งนั้นติดพันมาด้วย

(3) “สิ่งอันผู้ต้องการความดีสั่งสม” = ใครต้องการความดีก็ต้องสั่งสมสิ่งนั้น ถ้าไม่สั่งสมก็ไม่มีและไม่ได้สิ่งที่ต้องการ

คุณ” หมายถึง คุณภาพ, คุณความดี, ผลประโยชน์, ผลบุญ (quality, good quality, advantage, merit)

นิ + + คุณ = นิรคุณ > เนรคุณ แปลตามศัพท์ว่า “ไม่มีคุณ” หรือหากเคยมีคุณอยู่บ้าง คุณที่มีนั้นก็ “ออก” ไปแล้ว = ไม่มีคุณเหลืออยู่

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) นิรคุณ : (คำวิเศษณ์) ไม่มีลักษณะดี, ไม่มีคุณ, เลว, ชั่วร้าย; เนรคุณ, ไม่รู้คุณ.

(2) เนรคุณ : (คำวิเศษณ์) อกตัญญูไม่รู้คุณ, ไม่สํานึกถึงบุญคุณ. (แผลงมาจาก นิรคุณ).

: ตนเองไม่มีคุณที่จะให้คนอื่นเขานึกถึงแม้แต่น้อย

: ก็ยังไม่ต่ำต้อยเท่ากับลืมนึกถึงคุณที่คนอื่นมีต่อตน

—————-

(ตามคำขอของสมาชิกกลุ่ม Mahapali Vijjalaya)

#บาลีวันละคำ (820)

16-8-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *