บาลีวันละคำ

มิตร (บาลีวันละคำ 822)

มิตร

พูดไม่เพี้ยน เขียนไม่ผิด

แต่ไม่ค่อยได้คิดถึงความหมาย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มิตร, มิตร– [มิด, มิดตฺระ-] : เพื่อนรักใคร่คุ้นเคย เช่น มิตรแท้ มิตรเทียม ฉันมิตร. (ส.; ป. มิตฺต)”

พจน.54 บอกว่า “มิตร” เป็นรูปคำสันสกฤต (สันสกฤต : มิตฺร) บาลีเป็น “มิตฺต

มิตฺต” อ่านว่า มิด-ตะ มีความหมายตามรากศัพท์ ดังนี้ –

มิทฺ (ธาตุ = รักใคร่, ผูก) + ปัจจัย, แปลง ทฺ (ที่ มิทฺ) เป็น ตฺ

: มิทฺ > มิต + = มิตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “ผู้รักใคร่กัน” คือต่างคนต่างรู้สึกรักใคร่มีไมตรีต่อกัน

(2) “ผู้ผูกคนอื่นไว้ในตน” คือมีลักษณะชวนให้คนอื่นรักโดยที่เจ้าตัวอาจจะยังไม่ทันได้รู้จักผู้ที่มารักตนนั่นเลยด้วยซ้ำ

มิ (ธาตุ = ใส่เข้า) + ปัจจัย, ซ้อน

: มิ + = มิต + = มิตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “ผู้ควรแก่การที่จะใส่ความลับเข้าไป” คือคนที่เพื่อนสามารถบอกความลับให้รู้ได้ทุกเรื่อง

บางคนเป็นเพื่อนกันก็จริง แต่เพื่อนไม่กล้าบอกความลับ หรือบอกก็บอกได้บางเรื่อง บอกทุกเรื่องไม่ได้ เพราะไม่ไว้ใจว่าจะเก็บความลับได้

(2) “ผู้ใส่เข้าข้างใน” คือคนที่เก็บความลับของเพื่อนไว้ได้ (เก็บไว้เพื่อปกป้องและช่วยแก้ไขให้เพื่อน มิใช่เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทำร้ายเพื่อน)

เพื่อนบางคนเก็บความลับของเพื่อนไม่อยู่ หรือเก็บได้ในยามปกติ แต่ถ้าถูกหลอกล่อหรือถูกบีบคั้นก็เก็บไม่อยู่

ในพระไตรปิฎกท่านแบ่งเพื่อนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ –

(1) อมิตฺโต  มิตฺตปฺปฏิรูปโก (อะมิตโต มิตตัปปะฏิรูปะโก) = เพื่อนที่ไม่เป็นเพื่อน คือเพื่อนเทียม

(2) มิตฺโต สุหโท (มิตโต สุหะโท) = เพื่อนที่เป็นเพื่อนแท้ คือผู้มีน้ำใจอันงาม

เพื่อนแท้หายาก :

: ถ้าทำตัวเองให้เป็นเพื่อนที่ดีของคนอื่น

: อย่างน้อยเราก็หาเพื่อนแท้ได้คนหนึ่ง

#บาลีวันละคำ (822)

18-8-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *