บาลีวันละคำ

อันโตปักกะ (บาลีวันละคำ 2476)

อันโตปักกะ

ศัพท์วิชาการเกี่ยวกับการขบฉันของพระ

อ่านว่า อัน-โต-ปัก-กะ

อันโตปักกะ” เขียนแบบบาลีเป็น “อนฺโตปกฺก” อ่านว่า อัน-โต-ปัก-กะ ประกอบด้วยคำว่า อนฺโต + ปกฺก

(๑) “อนฺโต

เป็นคำจำพวกนิบาต นักเรียนบาลีท่องกันติดปากว่า “อนฺโต ภายใน

อนฺโต” แปลว่า ภายใน ตรงกับคำอังกฤษว่า inside แต่บางบริบทอาจตรงกับ into เช่น “อนฺโต คามํ ปวิสติ” (อันโต คามัง ปะวิสะติ) แปลว่า “เข้าไปสู่หมู่บ้าน” ตรงกับอังกฤษว่า to go into the village ไม่ใช่ to go inside the village

(๒) “ปกฺก” (ปัก-กะ)

รากศัพท์มาจาก ปจฺ (ธาตุ = หุง, ต้ม, สุก) + ปัจจัย, แปลง จฺ ที่สุดธาตุกับ เป็น กฺก (หรือนัยหนึ่งว่าแปลง เป็น กฺก แล้วลบที่สุดธาตุ)

(1) : ปจฺ + = ปจต > ปกฺก

(2) : ปจฺ + = ปจต > ปจกฺก > ปกฺก

ปกฺก” แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอัน-ทำให้สุกแล้ว

ปกฺก” เป็นกริยา (กิริยากิตก์ อดีตกาล) แปลว่า หุง, ต้ม, ปิ้ง (cooked, boiled, baked)

ปกฺก” เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่สุก (that which is ripe), เช่น ผลไม้, ผลไม้สุก (a fruit, ripe fruit)

ปกฺก” เป็นคุณศัพท์ ใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) สุก (ripe)

(2) สุกใกล้จะถึงคราวแตกดับหรือทำลาย, หง่อม, ทรุดโทรมลง (ripe for destruction, overripe, decaying)

(3) ถูกทำให้ร้อน, ร้อนด้วยไฟ, คุแดง (heated, glowing)

อนฺโต + ปกฺก = อนฺโตปกฺก > อันโตปักกะ แปลว่า “สิ่งที่ถูกหุงต้มภายในที่อยู่” หมายถึง อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ของภิกษุ

ขยายความ :

ในคัมภีร์พระวินัย มีพุทธบัญญัติแสดงไว้ว่า –

…………..

น  ภิกฺขเว  อนฺโตวุตฺถํ  อนฺโตปกฺกํ  สามํปกฺกํ  อุคฺคหิตปฏิคฺคหิตกํ  ปริภุญฺชิตพฺพํ  โย  ปริภุญฺเชยฺย  อาปตฺติ  ทุกฺกฏสฺส.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ อาหารที่หุงต้มเอง อาหารที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ที่มา: พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 2 พระไตรปิฎกเล่ม 5 ข้อ 81

กระบวนการคิด :

ในที่นี้มีคำที่เกี่ยวข้องกันอยู่ 3 คำ คือ “สามปักกะ” “อันโตวุตถะ” และ “อันโตปักกะ

๑ “สามปักกะ” คือ อาหารที่ภิกษุหุงต้มเอง ห้ามฉัน

๒ “อันโตวุตถะ” แม้ไม่ได้หุงต้มเอง แต่ถ้าเครื่องเสบียงที่ปรุงเป็นอาหารนั้นถูกเก็บไว้ในที่อยู่ของภิกษุ ก็ห้ามฉัน

๓ “อันโตปักกะ” ไม่ได้หุงต้มเอง เครื่องเสบียงที่ปรุงเป็นอาหารก็เก็บไว้ที่อื่น ไม่ได้เก็บไว้ในที่อยู่ของภิกษุ แต่ถ้าเอามาหุงต้มกันในที่อยู่ของภิกษุ ก็ห้ามฉันอยู่นั่นเอง

จะเห็นได้ว่า เงื่อนไขทั้ง 3 ข้อนี้ยึดโยงอิงกันและกันอยู่อย่างเหนียวแน่นและรอบคอบอย่างยิ่ง

…………..

ดูก่อนภราดา!

เรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่

: ตามพระวินัย แม้จะเป็นเรื่องใหญ่ แต่ไม่ใช่เรื่องยาก

: ตามใจปาก จะยิ่งเป็นเรื่องยากกันไปใหญ่

#บาลีวันละคำ (2,476) 24-3-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *