บาลีวันละคำ

สามปักกะ (บาลีวันละคำ 2474)

สามปักกะ

ศัพท์วิชาการเกี่ยวกับการขบฉันของพระ

อ่านว่า สา-มะ-ปัก-กะ

สามปักกะ” เขียนแบบบาลีเป็น “สามํปกฺก” อ่านว่า สา-มัง-ปัก-กะ ประกอบด้วยคำว่า สามํ + ปกฺก

(๑) “สามํ” (สา-มัง)

เป็นคำจำพวกนิบาต นักเรียนบาลีท่องกันติดปากว่า “สามํ เอง” อีกคำหนึ่งที่อยู่ในหมวดเดียวกันคือ “สยํ” (สะ-ยัง) ก็แปลว่า “เอง” เช่นกัน

สามํ” หมายถึง เอง, ตนเอง, โดยตนเอง, ของตนเอง (self, by oneself, of oneself)

(๒) “ปกฺก” (ปัก-กะ)

รากศัพท์มาจาก ปจฺ (ธาตุ = หุง, ต้ม, สุก) + ปัจจัย, แปลง จฺ ที่สุดธาตุกับ เป็น กฺก (หรือนัยหนึ่งว่าแปลง เป็น กฺก แล้วลบที่สุดธาตุ)

(1) : ปจฺ + = ปจต > ปกฺก

(2) : ปจฺ + = ปจต > ปจกฺก > ปกฺก

ปกฺก” แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอัน-ทำให้สุกแล้ว

ปกฺก” เป็นกริยา (กิริยากิตก์ อดีตกาล) แปลว่า หุง, ต้ม, ปิ้ง (cooked, boiled, baked)

ปกฺก” เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่สุก (that which is ripe), เช่น ผลไม้, ผลไม้สุก (a fruit, ripe fruit)

ปกฺก” เป็นคุณศัพท์ ใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) สุก (ripe)

(2) สุกใกล้จะถึงคราวแตกดับหรือทำลาย, หง่อม, ทรุดโทรมลง (ripe for destruction, overripe, decaying)

(3) ถูกทำให้ร้อน, ร้อนด้วยไฟ, คุแดง (heated, glowing)

สามํ + ปกฺก = สามํปกฺก (สา-มัง-ปัก-กะ) แปลว่า “ทำให้สุกด้วยตนเอง” (cooking for oneself)

สามํปกฺก” เมื่อพูดในภาษาไทยลบนิคหิตที่ –มํ จึงเป็น “สามปักกะ” อ่านว่า สา-มะ-ปัก-กะ (ไม่ใช่ สาม-ปัก-กะ)

สามํปกฺก” หรือ “สามปักกะ” หมายถึง อาหารที่หุงต้มหรือปรุงให้สุกด้วยตัวเอง

ขยายความ :

ในคัมภีร์พระวินัย มีพุทธบัญญัติแสดงไว้ว่า –

…………..

น  ภิกฺขเว  อนฺโตวุตฺถํ  อนฺโตปกฺกํ  สามํปกฺกํ  อุคฺคหิตปฏิคฺคหิตกํ  ปริภุญฺชิตพฺพํ  โย  ปริภุญฺเชยฺย  อาปตฺติ  ทุกฺกฏสฺส.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ อาหารที่หุงต้มเอง อาหารที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ที่มา: พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 2 พระไตรปิฎกเล่ม 5 ข้อ 81

หมายเหตุ:

บาลีวันละคำแสดงความหมายของศัพท์ให้เข้าใจเป็นพื้นฐานเท่านั้น

อย่างไร แค่ไหน จึงเรียกว่า “สามปักกะ” = อาหารที่หุงต้มเอง พึงศึกษาตามหลักพระธรรมวินัยต่อไป

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เสียเวลากับเรื่องกินให้น้อยที่สุด

: เป็นพุทธบุตรแบบสบายๆ

#บาลีวันละคำ (2,474)

22-3-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *