บาลีวันละคำ

อปราชัย (บาลีวันละคำ 869)

อปราชัย

คำปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ

อ่านว่า อะ-ปะ-รา-ไช

บาลีเป็น “อปราชย” อ่านว่า อะ-ปะ-รา-ชะ-ยะ

อปราชย” ประกอบด้วย + ปรา + ชย

” (ไม่, ไม่ใช่) แปลงเป็น “

ปรา” บาลีไวยากรณ์ว่าเป็นศัพท์จำพวกนิบาต นำหน้าศัพท์ทำให้ศัพท์นั้นมีความหมายในทางตรงข้าม เช่น –

ปรา + ภว (มี, เป็น, รุ่งเรือง) = ปราภว ความหมายกลายเป็น ความหายนะ, ความหมดตัว, ความตกอับ

ชย” รากศัพท์มาจาก ชิ (ธาตุ = ชนะ) + ปัจจัย แผลง อิ เป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย

: ชิ > เช > ชย + = ชย แปลว่า “ชนะ” หมายึง การปราบ, การพิชิต, ชัยชนะ (vanquishing, overcoming, victory)

ปรา + ชย = ปราชย จึงมีความหมายตรงข้าม คือ การแพ้, พ่ายแพ้, แพ้พนัน, สูญเสีย, เสียในการเล่น (defeat, defeat in game, loss, losing at play)

แต่เมื่อมี “” ปฏิเสธอยู่ข้างหน้า : > + ปราชย = อปราชย > อปราชัย จึงแปลว่า “ความไม่แพ้” นั่นคือ = ความชนะ เท่ากับคืนความหมายสู่ “ชย” คำเดิมนั่นเอง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ปราชัย : (คำนาม) ความพ่ายแพ้.ก. พ่ายแพ้. (ป.).

(2) อปราชัย, อัปราชัย : (คำนาม) ความไม่แพ้, ความชนะ; (กลอน) บางทีใช้หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคนชั่วอัปราชัย. (ป.).

เคยได้ยินนักรู้แสดงความเห็นว่า “อัปราชัย” เป็นคำไทยประสมบาลี “อัปรา” ก็คือ “อับ” และ “รา” ซึ่งมีความหมายว่า เข้าที่อับจน (ดังคำว่า บงอับบงรา หรือบ่งอับบ่งรา)

แต่ในภาษาบาลีมีคำว่า “อปราชย” ปรากฏชัดเจนในคัมภีร์

: ทำใจเป็นมาร เดี๋ยวแพ้เดี๋ยวชนะ

: ทำใจเป็นพระ ชนะตลอดกาล

#บาลีวันละคำ (869)

4-10-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *