บาลีวันละคำ

ประณีต (บาลีวันละคำ 847)

ประณีต

(ไม่ใช่ ปราณีต)

อ่านว่า ปฺระ-นีด

บาลีเป็น “ปณีต” อ่านว่า ปะ-นี-ตะ

ปณีต” รากศัพท์มาจาก (ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + นี (ธาตุ = ถึง, นำไป) + ปัจจัย, แปลง เป็น

: + นี > ณี + = ปณีต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ถึงความเป็นประธาน” “สิ่งที่นำส่วนที่เด่นออกมา” หมายถึง ทำให้สูง, ยกขึ้น, สูงส่ง, เลอเลิศ (made high, raised, exalted, lofty, excellent)

ในสำนวนบาลีถ้ากล่าวถึง “อาหารการกิน” ว่า “ปณีต” จะหมายถึง มากมายเหลือเฟือ, บริบูรณ์, อุดมสมบูรณ์ (heaped up, plentiful, abundant)

ปณีต” ในภาษาไทยใช้ว่า “ประณีต” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประณีต : (คำวิเศษณ์) ละเอียดลออ, เรียบร้อยงดงาม, เช่น ฝีมือประณีต ทําอย่างประณีต, ที่ปรุงอย่างสุดฝีมือด้วยของดี ๆ เช่น ปรุงอาหารอันประณีต. (ส. ปฺรณีต; ป. ปณีต).”

ประณีต” มักมีผู้เขียนผิดเป็น “ปราณีต

โปรดระลึกไว้ว่า คำนี้เขียน “ประณีต” ไม่ใช่ “ปราณีต

เลือกงามตามปรารถนา :

: เสื้อผ้าอาภรณ์ประณีต = สะเก็ดงาม

: รูปร่างหน้าตาประณีต = เปลือกงาม

: กิริยาวาจาประณีต = กระพี้งาม

: ใจประณีต = แก่นงาม

#บาลีวันละคำ (847)

12-9-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *