บาลีวันละคำ

ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย (บาลีวันละคำ 1,595)

ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย

แปลว่าอะไร?

คำหลักคือ “สวรรคาลัย” อ่านว่า สะ-หฺวัน-คา-ไล

ประกอบด้วย สวรรค + อาล้ย

(๑) “สวรรค

บาลีเป็น “สคฺค” (สัก-คะ) รากศัพท์มาจาก สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม, ง่าย) + อชฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ , แปลง ชฺ เป็น , ซ้อน , ลบสระหน้า คือ อุ ที่ สุ (สุ > )

: สุ > + คฺ = สคฺ + อชฺ = สคฺช + = สคฺชณ > สคฺช > สคฺค แปลตามศัพท์ว่า (1) “ที่ซึ่งดำรงอยู่ยืนนานและสวยงาม” (2) “แดนอันแสนดีเลิศล้ำด้วยกามคุณ” (3) “แดนที่มีอารมณ์อันเลิศ” (คือได้พบเห็นสัมผัสแต่สิ่งที่น่าเพลิดเพลินเจริญใจ) (4) “แดนที่ติดข้อง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สคฺค” ว่า heaven, the next world (สวรรค์, โลกหน้า) แล้วขยายความว่า popularly conceived as a place of happiness and long life (ตามมโนภาพทั่วๆ ไป เข้าใจกันว่าเป็นสถานที่มีความสุขและมีอายุยืน)

ตามปกติคำว่า “สคฺค” หมายถึง สวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี

สคฺค” สันสกฤตเป็น สฺวรฺค ภาษาไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “สวรรค์” (สะ-หฺวัน)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สวรรค-, สวรรค์ : (คำนาม) โลกของเทวดา, เมืองฟ้า. (ส. สฺวรฺค; ป. สคฺค).”

(๒) “อาลัย

บาลีเป็น “อาลย” (อา-ละ-ยะ) รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่ว, มาก, ยิ่ง) + ลิ (ธาตุ = ติดใจ, ติดแน่น) + ปัจจัย, ลบ , แปลง อิ ที่ ลิ เป็น (ลิ > ลย)

: อา + ลิ = อาลิ + = อาลิณ > อาลิ > อาลย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ติดใจยินดีแห่งผู้คน” “สิ่งที่ใจไปติดแน่นอยู่

นักภาษาอธิบาย “อาลย” เป็นรูปธรรมว่า เหมือน “คอน” ที่นกเกาะนอน เท้านกจะต้องยึดแน่นอยู่กับคอนนั้น มิเช่นนั้นก็ตก อาการที่จับติดแน่นไม่ยอมปล่อยนั่นเองคือ “อาลัย

ตามรากศัพท์เช่นนี้ “อาลัย” ในทางรูปธรรมจึงหมายถึงสถานที่พักอาศัย, ที่อยู่, แหล่งรวมของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น –

ชลาลัย = แหล่งรวมแห่งน้ำ คือแม่น้ำ หรือทะเล

เทวาลัย = ที่อยู่ของเทพยดา

หิมาลัย = แหล่งรวมแห่งหิมะ คือภูเขาที่มีหิมะปกคลุมตลอดปี

อาลย” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) คอนสำหรับนกหรือไก่เกาะหรือนอน (ความหมายเดิม), สถานที่พักอาศัย, บ้านเรือน (roosting place, perch, abode settling place, house)

(2) เกาะเกี่ยวอยู่, ความรักใคร่, ความต้องการ, ตัณหา, ราคะ (hanging on, attachment, desire, clinging, lust)

(3) การแสร้งทำ, มารยา, ข้อแก้ตัว (pretence, pretext, feint)

สคฺค + อาลย = สคฺคาลย > สฺวรฺคาลย > สวรรคาลัย แปลตามศัพท์ว่า “ที่อยู่คือสวรรค์” หรือ “แดนสวรรค์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สวรรคาลัย : (คำกริยา) ตาย (ใช้แก่เจ้านายชั้นสูง), (คำที่ใช้ในบทร้อยกรอง) ตาย.”

อภิปราย :

ในคัมภีร์บาลียังไม่พบศัพท์ “สคฺคาลย” (คือ “สวรรคาลัย”) แต่มีคำว่า “สคฺคคต” (สัก-คะ-คะ-ตะ) ตรงกับคำว่า “สวรรคต” และ “ทิวงฺคต” (ทิ-วัง-คะ-ตะ) ตรงกับคำว่า “ทิวงคต” ทั้งสองศัพท์นี้แปลว่า “ไปสวรรค์” หมายถึง ตาย

สันนิษฐานว่า “สวรรคาลัย” คำเดิมในภาษาไทยคงจะเป็น “สวรรค์ครรไล” (สะ-หฺวัน-คัน-ไล) แปลว่า “ไปสวรรค์” (ครรไล = ไป) ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกับ “สวรรคต” และ “ทิวงคต” = “ไปสวรรค์” คือ ตาย

สวรรค์ครรไล” พูดเพี้ยนเป็น สะ-หฺวัน-คา-ไล แล้วเลยเขียนเป็น “สวรรคาลัย” ซึ่งตามรูปศัพท์เป็นคำนาม หมายถึง “สวรรค์” แต่เพราะความหมายของคำเดิม (“สวรรค์ครรไล”) หมายถึง ตาย แม้มาเขียนเป็น “สวรรคาลัย” ก็จึงยังคงใช้เป็นคำกริยาตามความหมายเดิม

มีคำเทียบที่คล้ายกัน คือรูปคำ “สวรรคาลัย” เทียบได้กับ “พิราลัย” ซึ่งมาจาก วีร (ผู้กล้า, นักรบ) + อาลัย (ที่อยู่)

: วีร + อาลัย = วีราลัย > วิราลัย > พิราลัย แปลตามศัพท์ว่า “ที่อยู่ของนักรบ” ทั้งนี้ตามคติการปลุกใจทางทหารที่ว่า นักรบเมื่อตายในการรบ วิญญาณจะไปสถิตอยู่บนสรวงสวรรค์ ด้วยเหตุนี้ สวรรค์จึงมีคำเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วีราลัย” = ที่อยู่ของนักรบ

วีราลัย = สวรรค์

สวรรคาลัย = สวรรค์

ในภาษาไทย เอาคำว่า “วีราลัย > พิราลัย” มาใช้ในความหมายว่า ตาย คือเล็งไปที่การตายของนักรบ “พิราลัย” คำนามจึงกลายเป็นคำกริยาในภาษาไทย ทำนองเดียวกับ “สวรรคาลัย” คำนามใช้เป็นคำกริยาว่า ตาย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานจะว่าอย่างไร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกว่า “สวรรคาลัย” เป็นคำกริยา หมายถึง ตาย ใช้แก่เจ้านายชั้นสูง

แต่วลีที่ว่า “ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย” เห็นได้ชัดว่าผู้พูดเข้าใจว่า “สวรรคาลัย” หมายถึง สวรรค์

ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย” ก็คือ ส่งเสด็จไปสู่ “สวรรค์”

ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย” จะแปลไม่ได้เลยว่า ส่งเสด็จไปสู่ “ตาย”

อย่างนี้กระมังที่พูดกันว่า “ใช้ตามความนิยม” คือพจนานุกรมจะแปลว่าอะไรก็ช่างพจนานุกรม แต่ตามความนิยมเขาใช้กันอย่างนี้

การแก้พจนานุกรมให้ถูกกับความนิยม

กับการแก้ความนิยมให้ถูกตามหลักภาษา

วิธีไหนเป็นยอดแห่งความยากกว่ากัน ?

…………..

: จริงใจในการรู้รักสามัคคี

: ตั้งใจทำความดีให้สำเร็จ

: เป็นยอดแห่งการส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย

16-10-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย