บาลีวันละคำ

เทวาลัย (บาลีวันละคำ 2462)

เทวาลัย

อ่านว่า เท-วา-ไล

ประกอบด้วยคำว่า เทว + อาลัย

(๑) “เทว

บาลีอ่านว่า เท-วะ รากศัพท์มาจาก ทิวฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง, เล่น, สนุก, เพลิดเพลิน) + ปัจจัย, แผลง อิ ที่ ทิ-(วฺ) เป็น เอ (ทิวฺ > เทว)

: ทิวฺ + = ทิว > เทว (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ของตน” (2) “ผู้เพลิดเพลินด้วยเบญจกามคุณ

ความหมายของ “เทว” ที่มักเข้าใจกัน คือหมายถึง เทพเจ้า, เทวดา

แต่ความจริง “เทว” ในบาลียังมีความหมายอีกหลายอย่าง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “เทว” ไว้ดังนี้ –

(1) good etc. (สิ่งที่ดี และอื่นๆ)

(2) a god, a deity, a divine being (เทวดา, เทพเจ้า, เทพ)

(3) the sky, rain-cloud, rainy sky, rain-god (ท้องฟ้า, เมฆฝน, ท้องฟ้ามีฝน, เทพแห่งฝน)

(๒) “อาลัย

บาลีเป็น “อาลย” (อา-ละ-ยะ) รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่ว, มาก, ยิ่ง) + ลิ (ธาตุ = ติดใจ, ติดแน่น) + ปัจจัย, ลบ , แปลง อิ ที่ ลิ เป็น (ลิ > ลย)

: อา + ลิ = อาลิ + = อาลิณ > อาลิ > อาลย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ติดใจยินดีแห่งผู้คน” “สิ่งที่ใจไปติดแน่นอยู่

นักภาษาอธิบาย “อาลย” เป็นรูปธรรมว่า เหมือน “คอน” ที่นกเกาะนอน เท้านกจะต้องยึดแน่นอยู่กับคอนนั้น มิเช่นนั้นก็ตก อาการที่จับติดแน่นไม่ยอมปล่อยนั่นเองคือ “อาลัย

ตามรากศัพท์เช่นนี้ “อาลัย” ในทางรูปธรรมจึงหมายถึงสถานที่พักอาศัย, ที่อยู่, แหล่งรวมของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น –

ชลาลัย = แหล่งรวมแห่งน้ำ คือแม่น้ำ หรือทะเล

หิมาลัย = แหล่งรวมแห่งหิมะ คือภูเขาที่มีหิมะปกคลุมตลอดปี

อาลย” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) คอนสำหรับนกหรือไก่เกาะหรือนอน (ความหมายเดิม), สถานที่พักอาศัย, บ้านเรือน (roosting place, perch, abode settling place, house)

(2) เกาะเกี่ยวอยู่, ความรักใคร่, ความต้องการ, ตัณหา, ราคะ (hanging on, attachment, desire, clinging, lust)

(3) การแสร้งทำ, มารยา, ข้อแก้ตัว (pretence, pretext, feint)

บาลี “อาลย” ภาษาไทยใช้เป็น “อาลัย” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) อาลัย ๑ : (คำกริยา) ห่วงใย, พัวพัน, ระลึกถึงด้วยความเสียดาย.น. ความห่วงใย, ความพัวพัน, ความระลึกถึงด้วยความเสียดาย. (ป., ส. อาลย).

(2) อาลัย ๒ : (คำนาม) ที่อยู่, ที่พัก, เช่น ชลาลัย = ที่อยู่แห่งนํ้า หมายถึง ทะเล แม่น้ำ เป็นต้น หิมาลัย = ที่อยู่แห่งหิมะ เป็นชื่อของเทือกเขาสูงอยู่ทางทิศเหนือของอินเดีย ยอดเขามีหิมะปกคลุมตลอดปี.

เทว + อาลย = เทวาลย > เทวาลัย แปลตามศัพท์ว่า “ที่อยู่ของเทวดา”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เทวาลัย, เทวาวาส : (คำนาม) ที่ซึ่งสมมุติว่าเป็นที่อยู่ของเทวดา. (ส.).”

ในภาษาบาลี “เทวาลย” หมายถึง บุณยสถานอันเป็นที่ประชาชนมากระพิธีบูชาตามความเชื่อความเลื่อมใส มีวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความนับถือประดิษฐานอยู่เป็นศูนย์กลาง อาจเป็นสถูป เจดีย์ หรือสิ่งเป็นที่เคารพอื่นๆ ตามที่ชนหมู่นั้นนับถือ

นามพิเศษ :

ในบรรดานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะอักษรศาสตร์ เป็นที่รู้จักกันดีว่า คำว่า “เทวาลัย” เป็นนามพิเศษ หมายถึงอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ หรือตึกคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันเป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมไทย โดยผู้ออกแบบได้นำศิลปะไทยโบราณที่สุโขทัยและสวรรคโลกมาปรับปรุงขึ้นเป็นแบบของอาคาร มีลักษณะขรึมขลังแบบโบราณ แต่สง่างาม ให้บรรยากาศแบบ “เทวาลัย” ในอดีตสมัย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เทพเจ้าเป็นแต่เพียงผู้ให้กำลังใจ

: ความสำเร็จใดๆ มนุษย์ต้องทำเอาด้วยตัวเอง

———–

ภาพประกอบ จากโพสต์ของ Charanya Deeboonmee Na Chumphae

#บาลีวันละคำ (2,462)

10-3-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *