บาลีวันละคำ

ปัพภารทสกะ – ทศวรรษที่เจ็ดแห่งชีวิต (บาลีวันละคำ 2458)

ปัพภารทสกะทศวรรษที่เจ็ดแห่งชีวิต

คัมภีร์วิสุทธิมรรค ผลงานรจนาของพระพุทธโฆสะ พระอรรถกถาจารย์นามอุโฆษ (พุทธศตวรรษที่ 10) ตอนมัคคามัคคญาณทัสนวิสุทธินิทเทส แสดงการพิจารณารูปนามไว้เป็นอเนกนัย ตอนหนึ่งแสดงวิธีพิจารณาชีวิตมนุษย์โดยแบ่งช่วงชีวิตออกเป็น 10 ช่วง ช่วงละ 10 ปี มีชื่อเรียกดังนี้ –

ช่วงที่ 1 มันททสกะ = 10 ปีแห่งเด็กอ่อน

ช่วงที่ 2 ขิฑฑาทสกะ = 10 ปีแห่งการเล่น

ช่วงที่ 3 วัณณทสกะ = 10 ปีแห่งผิวพรรณ

ช่วงที่ 4 พลทสกะ = 10 ปีแห่งกำลัง

ช่วงที่ 5 ปัญญาทสกะ = 10 ปีแห่งปัญญา

ช่วงที่ 6 หานิทสกะ = 10 ปีแห่งความเสื่อม

ช่วงที่ 7 ปัพภารทสกะ = 10 ปีแห่งความค้อม

ช่วงที่ 8 วังกทสกะ = 10 ปีแห่งความค่อม

ช่วงที่ 9 โมมูหทสกะ = 10 ปีแห่งความหลงลืม

ช่วงที่ 10 สยนทสกะ = 10 ปีแห่งความนอน

ที่มา: คัมภีร์วิสุทธิมรรคฉบับภาษาบาลี ภาค 3 หน้า 247

ขอนำคำเรียกช่วงชีวิตแต่ละช่วงมาแสดงความหมายของแต่ละคำเพื่อเป็นอลังการแห่งความรู้ตามสติปัญญา

…………..

ปัพภารทสกะ” อ่านว่า ปับ-พา-ระ-ทะ-สะ-กะ

ประกอบด้วยคำว่า ปัพภาร + ทสกะ

(๑) “ปัพภาร

เขียนแบบบาลีเป็น “ปพฺภาร” อ่านว่า ปับ-พา-ระ รากศัพท์มาจาก + ภาร

(ก) “” อ่านว่า ปะ เป็นคำอุปสรรค นักเรียนบาลีแปลกันมาว่า ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกความหมายของ “” ไว้ดังนี้ –

(1) forth, forward, out (ออกไป, ข้างหน้า, ออก)

(2) intensive in a marked degree, more than ordinarily (เข้มมาก, มากกว่าธรรมดา)

(3) onward (ต่อไป)

(4) in front of, before (เบื้องหน้า, ก่อน)

(ข) “ภาร” บาลีอ่านว่า พา-ระ รากศัพท์มาจาก ภรฺ (ธาตุ = เลี้ยงดู, ทรงไว้) + ปัจจัย, ลบ , “ทีฆะต้นธาตุด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” คือยืดเสียง อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (ภรฺ > ภาร)

: ภรฺ + = ภรณ > ภร > ภาร (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่ทรงไว้” (สิ่งที่แบกรับน้ำหนักของสิ่งอื่นไว้) (2) “สิ่งอันเขาทรงไว้” (สิ่งที่เป็นน้ำหนักให้ผู้อื่นหรือสิ่งอื่นต้องแบกรับ)

ภาร” ในภาษาบาลี ใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) สิ่งที่นำไป, สัมภาระ (anything to carry, a load)

(2) การบรรทุก, เต็มรถคันหนึ่ง [เป็นการวัดปริมาณ] (a load, cartload [as measure of quantity])

(3) สิ่งที่ยากลำบาก, ภาระหรือหน้าที่, สิ่งที่อยู่ในการดูแล, ธุรกิจ, หน้าที่, การงาน, กิจธุระ (a difficult thing, a burden or duty, a charge, business, office, task, affair)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภาร, ภาร-, ภาระ ๑ : (คำนาม) ของหนัก, นํ้าหนัก; ธุระที่หนัก, การงานที่หนัก; หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่มีภาระในการเลี้ยงดูลูก ครูมีภาระในการอบรมสั่งสอนศิษย์, ความรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่ตายหมด พี่ต้องรับภาระส่งเสียเลี้ยงดูน้อง. (คำวิเศษณ์) หนัก. (ป.).”

+ ภาร ซ้อน พฺ : + พฺ + ภาร = ปพฺภาร แปลตามศัพท์ว่า “หนักไปข้างหน้า

ปพฺภาร” (ปุงลิงค์, นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ทางลาดลง, ที่เอียงลาด, เนินเขา (a decline, incline, slope)

(2) ถ้ำบนเขา (a cave in a mountain)

(๒) “ทสกะ

เขียนแบบบาลีเป็น “ทสก” อ่านว่า ทะ-สะ-กะ รากศัพท์มาจาก ทส (อ่านว่า ทะ-สะ แปลว่า “สิบ” (จำนวน 10) เป็นคำบอกจำนวน ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “สังขยา”) + ปัจจัย

: ทส + = ทสก แปลตามศัพท์ว่า “มีปริมาณสิบ” หมายถึง สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่นับรวมกันเป็นกลุ่มได้กลุ่มละสิบ คือ หมวดสิบ, รอบสิบปี, ระยะสิบปี (a decad, decade, a decennial)

ปพฺภาร + ทสก = ปพฺภารทสก เขียนแบบไทยเป็น “ปัพภารทสกะ” แปลว่า “กลุ่มสิบของอายุที่เป็นวัยค้อม

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปพฺภารทสก” ว่า the decade (period) of decline in life (ทศวรรษ [สมัย] แห่งความลดต่ำลงในชีวิต)

ขยายความ :

แนวคิดที่แบ่งช่วงชีวิตเป็นทศวรรษนี้กำหนดให้มนุษย์มีอายุ 100 ปี อันเป็นอายุขัยของมนุษย์ในปัจจุบัน

ปัพภารทสกะ” เป็นช่วงที่ 7 ของวัย กำหนดตั้งแต่อายุ 61 ถึง 70 ช่วงวัยนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจาก “หานิทสกะ” (สิบปีเสื่อม) คือจากเสื่อมเป็นโทรม เห็นได้ชัดที่ร่างกายเริ่มค้อม คือโค้งหรือก้มไปข้างหน้า เวลาเดินศีรษะจะโน้มไปก่อนตัว เหยียดตัวให้ตรงได้ไม่เต็มที่

คัมภีร์ปรมัตถมัญชุสาซึ่งขยายความคัมภีร์วิสุทธิมรรคอีกชั้นหนึ่งย้ำว่า ร่างกายเมื่อถึงช่วงวัยนี้แม้แต่คนเตี้ย คอสั้น ตัวสั้น ก็ยังมองเห็นได้ว่าตัวเริ่มค้อมไปข้างหน้า ยิ่งคนตัวสูงด้วยแล้วยิ่งเห็นได้ชัด

ปัพภารทสกะ” อาจแปลเป็นคำสั้นๆ ว่า “สิบปีค้อม

…………..

ร่างกายของมนุษย์เรานอกจากจะค้อมหรือโน้มไปข้างหน้าตามสภาพของสังขารหรือตามธรรมชาติแล้ว ยังต้องค้อมหรือโค้งให้กันตามมรรยาทของสังคมอีกด้วย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: โค้งให้คนชั่ว เสียศักดิ์ศรี

: น้อมคำนับคนดี เป็นสิริมงคล

#บาลีวันละคำ (2,458)

6-3-62 2,458

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *