บาลีวันละคำ

ปริมาณ-คุณภาพ (บาลีวันละคำ 856)

ปริมาณคุณภาพ

อ่านว่า ปะ-ริ-มาน / คุณ-นะ-พาบ

ปริมาณ” บาลีอ่านว่า ปะ-ริ-มา-นะ รากศัพท์มาจาก ปริ (ปะ-ริ = รอบ, ทั่วๆ ไป) + มา (ธาตุ = นับ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน, แปลง เป็น

: ปริ + มา = ปริมา + ยุ > อน = ปริมาน > ปริมาณ แปลตามศัพท์ว่า “การนับรอบๆ” “การกำหนดนับ” ภาษาไทยใช้ทับศัพท์ว่า “ปริมาณ” หมายถึง จำนวน, ขอบเขต, เขตกำหนด (measure, extent, limit)

คุณภาพ” เทียบบาลีเป็น “คุณภาว” (คุ-นะ-พา-วะ) ประกอบด้วย คุณ + ภาว

คุณ” (คุ-นะ) รากศัพท์มาจาก คุณฺ (ธาตุ = ประกาศ, ผูก, มัด, สั่งสม) + ปัจจัย

: คุณฺ + = คุณ แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “สิ่งที่ประกาศความดีของตน” = เมื่อทำสิ่งนั้น ก็จะประกาศให้รู้ว่าสิ่งที่ทำหรือผู้ทำสิ่งนั้นมีความดี

(2) “สิ่งที่ผูกผลไว้กับตน” = เมื่อทำสิ่งนั้นก็เท่ากับได้ผลของสิ่งนั้นติดพันมาด้วย

(3) “สิ่งอันผู้ต้องการความดีสั่งสม” = ใครต้องการความดีก็ต้องสั่งสมสิ่งนั้น ถ้าไม่สั่งสมก็ไม่มีและไม่ได้สิ่งที่ต้องการ

คุณ” หมายถึง คุณภาพ, คุณความดี, ผลประโยชน์, ผลบุญ (quality, good quality, advantage, merit)

ภาว” แปลว่า ความมี, ความเป็น, ความปรากฏ, ภาวะ, ธรรมชาติ (being, becoming, condition, nature)

คุณ + ภาว = คุณภาว แปลตามศัพท์ว่า “ความมีคุณ” “ความเป็นสิ่งที่มีประโยชน์

คุณภาว” เป็นรูปคำที่มีในภาษาบาลี แต่ไม่ได้ใช้ในความหมายอย่างในภาษาไทย

คุณภาว” ภาษาไทยใช้ว่า “คุณภาพ” (แปลง เป็น )

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ปริมาณ : (คำนาม) กําหนดความมากน้อยของจํานวน.

(2) คุณ ๑, คุณ– : (คำนาม) ความดีที่มีประจําอยู่ในสิ่งนั้น ๆ; ความเกื้อกูล เช่น รู้คุณ. (ป., ส.) …

(3) ภาพ, ภาพ– : (คำนาม) ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย …

(4) คุณภาพ : (คำนาม) ลักษณะที่ดีเด่นของบุคคลหรือสิ่งของ.

ปริมาณ” (quantity) กับ “คุณภาพ” (quality) เป็นคำที่เรามักนึกถึงควบคู่กัน

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปลคำทั้งสองไว้ดังนี้ –

(1) quantity = parimāṇa ปริมาณ ตรงกับที่เราใช้ทับศัพท์

(2) bad quality = dugguṇa ทุคฺคุณ (ทุก-คุ-นะ) = คุณภาพเลว

(3) good quality = sagguṇa สคฺคุณ (สะ-คุ-นะ) = มีคุณภาพ

: สังคมที่คุณภาพเหนือปริมาณ คนพาลย่อมถูกกำราบ

: สังคมที่ปริมาณเหนือคุณภาพ คนบาปก็เริงสำราญ

#บาลีวันละคำ (856)

21-9-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *