บาลีวันละคำ

สงฆ์ (บาลีวันละคำ 884)

สงฆ์

อ่านว่า สง

บาลีเป็น “สงฺฆ” อ่านว่า สัง-คะ

สงฺฆ” รากศัพท์มาจาก สํ (พร้อมกัน, ร่วมกัน) + หนฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น , แปลง หนฺ เป็น

: สํ > สงฺ + หนฺ > + = สงฺฆ แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “หมู่เป็นที่ไปรวมกันแห่งส่วนย่อยโดยไม่แปลกกัน” หมายความว่า ส่วนย่อยที่มีคุณสมบัติหลักๆ “ไม่แปลกกัน” คือมีคุณสมบัติตรงกัน เหมือนกัน ส่วนย่อยดังกล่าวนี้ไปอยู่รวมกัน คือเกาะกลุ่มกัน ดังนี้เรียกว่า “สงฺฆ

(2) “หมู่ที่รวมกันโดยมีความเห็นและศีลเสมอกัน” ความหมายนี้เล็งที่บรรพชิตหรือสาวกที่เป็นนักบวชในลัทธิศาสนาต่างๆ เช่นภิกษุในพระพุทธศาสนาเป็นต้น ต้องมีความคิดเห็นและความประพฤติลงรอยกันจึงจะรวมเป็น “สงฺฆ” อยู่ได้

สงฺฆ” จึงหมายถึง หมู่, กอง, กลุ่ม, คณะ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สงฺฆ” เป็นอังกฤษว่า –

(1) multitude, assemblage (ฝูงชน, ชุมนุมชน, หมู่, ฝูง)

(2) the Order, the priesthood, the clergy, the Buddhist church (คณะสงฆ์, พระ, นักบวช, พุทธจักร)

(3) a larger assemblage, a community (กลุ่มใหญ่, ประชาคม)

สงฺฆ” ภาษาไทยใช้ว่า “สงฆ์

สงฆ์” ในพระพุทธศาสนามีความหมาย 2 อย่าง คือ –

(1) “สาวกสงฆ์” หมายถึงหมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ที่ได้บรรลุธรรมในภูมิอริยบุคคลคือเป็นพระโสดาบันขึ้นไป ดังคำสวดในสังฆคุณที่ว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ

(2) “ภิกขุสงฆ์” หมายถึงชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย

บางทีเรียกอย่างแรกว่า “อริยสงฆ์” อย่างหลังว่า “สมมติสงฆ์

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต แสดงจำนวน “ภิกขุสงฆ์” ตามข้อ (2) ที่ชาวพุทธควรทราบไว้เป็นหลักความรู้ เช่น –

(1) สงฆ์จตุรวรรค = “สงฆ์พวกสี่” คือ ต้องมีภิกษุ 4 รูปขึ้นไป ทำกรรมได้ทุกอย่างเว้นปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน

(2) สงฆ์ปัญจวรรค = “สงฆ์พวกห้า” คือ ต้องมีภิกษุ 5 รูปขึ้นไป ทำปวารณา ให้ผ้ากฐิน และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุได้

(3) สงฆ์ทศวรรค = “สงฆ์พวกสิบ” คือ ต้องมีภิกษุ 10 รูปขึ้นไป ให้อุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมากได้

(4) สงฆ์วีสติวรรค = “สงฆ์พวกยี่สิบ” คือ ต้องมีภิกษุ 20 รูปขึ้นไป สวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสสได้

จะเป็นสงฆ์หรือเป็นหมู่แบบไหน :

๏ รวมหมู่อย่างกองทราย

แม้มากมายไม่เกาะกัน

เพียงพายุพัดผัน

ก็พลันพรัดกระจัดกระจาย

๏ รวมหมู่อย่างก้อนหิน

ไม่แตกหักออกห่างหาย

มั่นคงมิคลอนคลาย

แม้ร้อยร้ายมารอนราน๚ะ๛

#บาลีวันละคำ (884)

19-10-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *