บาลีวันละคำ

สตมวาร – สตมาหะ (บาลีวันละคำ 1,691)

สตมวารสตมาหะ

อ่านว่า สะ-ตะ-มะ-วาน / สะ-ตะ-มา-หะ

ความหมายของศัพท์ :

(1) “สตมวาร” ประกอบด้วย สตม + วาร

ก) “สตม” ประกอบด้วย สต +

สต” (สะ-ตะ) บาลีแปลว่า “ร้อย” (จำนวน 100)

” (มะ) เป็นปัจจัยลงท้ายศัพท์ปกติสังขยา (คำบอกจำนวน) ทำให้เป็นปูรณสังขยา (คำบอกลำดับที่) แปลว่า “ลำดับที่

สต + = สตม แปลว่า “ลำดับที่ร้อย” (ลำดับที่ 100)

ข) “วาร

บาลีอ่านว่า วา-ระ รากศัพท์มาจาก วรฺ (ธาตุ = ผูก, พัน, มัด) + ปัจจัย, ลบ , “ทีฆะต้นธาตุ” คือยืดเสียง อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (วรฺ > วาร)

: วรฺ + = วรณ > วร > วาร แปลตามศัพท์ว่า “เวลาที่ผูกไว้” หมายถึงเวลาที่กำหนดไว้ตามเหตุการณ์นั้นๆ หมายถึง วาระ, โอกาส, เวลา, คราว (turn, occasion, time, opportunity)

สตม + วาร = สตมวาร แปลว่า “วาระที่ร้อย” > ครบ 100 วัน

(2) “สตมาหะ” ประกอบด้วย สตม + อห

ก) “สตม” มีรากศัพท์เช่นเดียวกับ “สัตม” คือเป็นศัพท์เดียวกัน ต่างกันเฉพาะในภาษาไทยคำนี้เขียน “สตม” (สะ-ตะ-มะ) ไม่ใช่ “สัตม” (สัด-ตะ-มะ)

ข) “อห” อ่านว่า อะ-หะ รากศัพท์มาจาก (นะ คำอุปสรรค = ไม่, ไม่ใช่) + หา (ธาตุ = ละ. ทิ้ง) + ปัจจัย, แปลง ,เป็น , “ลบสระหน้า” คือ อา ที่ หา (หา > )

: > + หา = อหา + = อหา > อห แปลตามศัพท์ว่า “เวลาที่ไม่ละการย้อนกลับมา” (คือเมื่อหมดวันหนึ่งก็จะย้อนกลับมาตั้งต้นวันใหม่อีกเสมอ) หมายถึง วัน, กลางวัน

คำที่เราคุ้นกันในภาษาไทย คือ “สัปดาห์” –ห์ ตัวนั้นก็คือ “อห” คำเดียวกันนี้ คือ สปฺต (เจ็ด) + อห (วัน) = สปฺตาห แปลว่า “เจ็ดวัน” เขียนแบบไทยเป็น “สัปดาห์

สตม + อห = สตมาห > สตมาหะ แปลว่า “วันลำดับที่ร้อย” > ครบ 100 วัน

อภิปราย :

ในเอกสาร “หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล” มีคำว่า “สัตตมวาร” (สัด-ตะ-มะ-วาน = ครบ 7 วัน) เป็นการสะกดตามรูปเดิมของบาลี คือ สัตตม = สตฺตม

แต่คำที่หมายถึง “ครบ 7 วัน” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 สะกดคำนี้เป็น “สัตมวาร” คือตัด ออกตัวหนึ่งตามหลักนิยมของไทย แต่คงอ่านเหมือนกันว่า สัด-ตะ-มะ-วาน

ในเอกสารฯ “ครบรอบ 100 วัน” สะกดเป็น “สตมวาร” ก็ไปคล้ายกับ “สัตมวาร” ในพจนานุกรมฯ เมื่อออกเสียง ถ้าฟังเผินๆ ก็เกือบจะเป็นเสียงเดียวกัน

แต่ในเอกสารฯ “สตมวาร” หมายถึง ครบรอบ 100 วัน ไม่ใช่ 7 วัน เพราะ 7 วันใช้ว่า “สัตตมวาร” ( 2 ตัว) แต่ในพจนานุกรมฯ ไม่ได้เก็บรูปคำว่า “สัตตมวาร” ไว้

สตฺต” (7) ในบาลี เมื่อตัด ออกตัวหนึ่ง (ตามพจนานุกรมฯ) มีรูปเป็น “สต” ก็ไปพ้องรูปกับ “สต” (100) แม้จะสะกดเป็น “สัต-” ก็ไม่พ้นข้อสงสัยว่า เป็น “สัต-” ที่มาจาก “สตฺต” 7 หรือ “สัต-” ที่มาจาก “สต” 100

สรุปว่า –

ครบเจ็ดวัน” พจนานุกรมฯ ใช้คำว่า “สัตมวาร” ( ตัวเดียว)

ครบเจ็ดวัน” เอกสารฯ ใช้คำว่า “สัตตมวาร” ( 2 ตัว)

แต่ “สัตตมวาร” ไม่มีในพจนานุกรมฯ

ครั้นมาถึง “ครบร้อยวัน” เอกสารฯ ใช้คำว่า “สตมวาร” ซึ่งรูปคำใกล้กับ “สัตมวาร” ในพจนานุกรมฯ แต่ “สัตมวาร” หมายถึง “ครบเจ็ดวัน” ไม่ใช่ “ครบร้อยวัน

ถ้าลองอ่านคำว่า “สัตตมวาร” ( 2 ตัว = ครบเจ็ดวัน-ตามเอกสารฯ) กับ “สตมวาร” ( ตัวเดียว = ครบร้อยวัน-ตามเอกสารฯ) จะเห็นว่า สัด-ตะ- กับ สะ-ตะ- เสียงใกล้กันมากจนแทบจะแยกไม่ออกว่าเสียงไหนหมายถึง “เจ็ด” เสียงไหนหมายถึง “ร้อย

ทำนองเดียวกับคำว่า “สิบเอ็ด” (11) กับ “สิบเจ็ด” (17) ถ้าฟังไม่ถนัดก็ชวนให้สับสนว่า ตั้งใจจะพูดถึง 11 หรือ 17 กันแน่ เพราะเหตุนี้ จำนวนที่ลงท้ายด้วยเลข 1 ทหารเรือจึงเลี่ยงไปออกเสียงว่า -“หนึ่ง” แทน เช่น 11 ทหารเรือจะอ่านว่า สิบ-หนึ่ง ไม่อ่านว่า สิบ-เอ็ด ซึ่งอาจฟังเพี้ยนเป็น 17 เป็นการแยก “หนึ่ง” กับ “เจ็ด” ให้ต่างกันได้อย่างชัดเจน

ถ้าเทียบการออกเสียงระหว่าง :

สิบเอ็ด” (11) กับ “สิบเจ็ด” (17)

และ –

สัด-ตะ-มะ-” (สัตตมวาร = ครบเจ็ดวัน) กับ “สะ-ตะ-มะ-” (สตมวาร = ครบร้อยวัน)

จะเห็นว่า “สัด-ตะ-มะ-” กับ “สะ-ตะ-มะ-” เสียงแทบจะไม่ต่างกัน ชวนให้สับสนยิ่งกว่า “สิบเอ็ด” กับ “สิบเจ็ด” เป็นอันมาก

อาจเป็นเพราะมีปัญหาเช่นนี้ จึงเกิดคำว่า “สตมาหะ” แทนที่จะเป็น “สัตมวาร

สตมาหะ” มีในพจนานุกรมฯ แต่ในเอกสาร “หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล” ไม่ได้ใช้คำนี้

สตมาหะ” รูปคำไม่เข้าชุดกับคำอื่นๆ ที่ลงท้ายว่า “-วาร” แต่สามารถแยกความแตกต่างในการออกเสียงระหว่าง “สัตตมวาร” กับ “สัตมวาร” ได้อย่างชัดเจน

ในอดีตเคยมีการใช้คำว่า “ศตมาหะ” ( ศาลา) มาก่อนแล้ว (ดูภาพประกอบ)

ศตมาหะ” ก็คือ “สตมาหะ” ในพจนานุกรมฯ นั่นเอง

ไม่มีใครทราบเหตุผลที่ชัดเจนว่า –

๑ “ครบเจ็ดวัน” ทำไมเอกสารฯ จึง ใช้คำว่า “สัตตมวาร” ( 2 ตัว) ในเมื่อพจนานุกรมฯ มีคำว่า “สัตมวาร” ( ตัวเดียว) อยู่แล้ว

๒ “ครบร้อยวัน” ทำไมเอกสารฯ จึง ไม่ใช้คำว่า “สตมาหะ” อันมีในพจนานุกรมฯ อยู่แล้ว แต่ไปใช่คำว่า “สตมวาร” ทำให้สับสนกับ “สัตมวาร” ในพจนานุกรมฯ ที่หมายถึง “ครบเจ็ดวัน

ชวนให้นึกถึงคำว่า “บดินทรเทพยวรางกูร” ที่เคยอ่านกันมาว่า บอ-ดิน-ทอน– ก็ไม่มีใครทราบเหตุผลที่ชัดเจนเช่นกันว่า ทำไมจึงกำหนดให้อ่านว่า บอ-ดิน-ทฺระ

โลกนี้มีอะไรที่คนทั่วไปไม่มีโอกาสเข้าใจอยู่อีกมาก

…………..

: จะร้อยวันหรือร้อยปี

: ถ้าไม่ทำความดี ชีวิตนี้ก็ไร้สาระ

20-1-60