บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

พระคาถาสวมมงคล

พระคาถาสวมมงคล

———————

ครูครับ

ผมจะแต่งลูกชายในปีนี้ ประมาณเดือนสิงหาคม จึงขอความเมตตาครู กรุณาบอกกล่าวคาถาสวมมงคลบ่าวสาวกับคำแปล ครับ

ผมคิดว่าอาจจะมีประโยชน์กับผู้อื่นด้วย จึงเรียนถามโดยเปิดเผยครับ

ขอบพระคุณครับ

พล.ร.ท.ชฎิล นิสสัยพันธุ์

๔ เมษายน ๒๕๖๑

—————–

๑ เมื่อจะสวมมงคลให้บ่าวสาว ให้กลั้นใจภาวนาพระคาถาบทนี้

อย่างย่อ:

อุโภว  อสฺสุ  สมสทฺธา  สมสีลา  สมจาคา  สมปญฺญา.  

(อุโภวะ  อัสสุ  สะมะสัทธา  สะมะสีลา  สะมะจาคา  สะมะปัญญา)

(ขอให้ครองคู่กัน มีศรัทธาสมกัน มีศีลสมกัน มีจาคะสมกัน มีปัญญาสมกันเทอญ) 

อย่างเต็ม:

อุโภว  อสฺสุ  สมสทฺธา  สมสีลา  สมจาคา  สมปญฺญา  

เต  ทิฏฺเฐ  เจว  ธมฺเม  อญฺญมญฺญํ  ปสฺสนฺติ  

อภิสมฺปรายญฺจ  อญฺญมญฺญํ  ปสฺสนฺติ.

(อุโภวะ  อัสสุ  สะมะสัทธา  สะมะสีลา  สะมะจาคา  สะมะปัญญา

เต  ทิฏเฐ  เจวะ  ธัมเม  อัญญะมัญญัง  ปัสสันติ  

อะภิสัมปะรายัญจะ  อัญญะมัญญัง  ปัสสันติ)

(ขอให้ครองคู่กัน มีศรัทธาสมกัน มีศีลสมกัน มีจาคะสมกัน มีปัญญาสมกัน ได้พบกันและกันทั้งในชาติปัจจุบัน ทั้งในชาติหน้า เทอญ)

ที่มา: อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่ม ๒๑ ข้อ ๕๕ 

ขยายความ :

1. สมสัทธา = มีศรัทธาสมกัน (Sama-saddhā: to be matched in faith)

2. สมสีลา = มีศีลสมกัน (Sama-sīlā: to be matched in moral conduct)

3. สมจาคา = มีจาคะสมกัน (Sama-cāgā: to be matched in generosity)

4. สมปัญญา = มีปัญญาสมกัน (Sama-paññā: to be matched in wisdom)

ที่มา: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต 

——————

๒ เมื่อจะถอดมงคลให้บ่าวสาว ให้กลั้นใจภาวนาพระคาถาบทนี้

ยสฺเสเต จตุโร  ธมฺมา

สทฺธสฺส  ฆรเมสิโน

สจฺจํ  ทโม  ฐิติ  จาโค

ส  เว  เปจฺจ  น  โสจติ

(ยัสเสเต จะตุโร  ธัมมา

สัทธัสสะ  ฆะระเมสิโน

สัจจัง  ทะโม  ฐิติ  จาโค

สะ  เว  เปจจะ  นะ  โสจะติ)

แปลขยายความตามประสงค์ :

(จะว่าคำแปลให้บ่าวสาวฟ้งด้วยก็ดี หรือจะไม่ว่าก็ได้ แต่ควรรู้และเข้าใจความหมาย ดังนี้)

ชายหญิงใดมีศรัทธาเชื่อมั่นในกันและกัน

ตั้งใจครองรักครองเรือนร่วมกัน

มีคุณธรรม ๔ ประการนี้ คือ –

(1) สัจจะ = จริงใจ ซื่อตรงต่อกัน 

(2) ทมะ = ข่มใจ เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งทำสิ่งที่ไม่ถูกใจ

(3) ธิติ = อดใจ อดทนเมื่อไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา 

(4) จาคะ =วางใจ ไม่เก็บความขัดข้องขุ่นเคืองไว้

ชายหญิงนั้นมิใช่แต่จะครองสุขร่วมกันในชาตินี้เท่านั้น

แม้ละโลกนี้ไปแล้วก็ยังจะได้ครองสุข หาทุกข์บมิได้ทุกภพชาติแล

ที่มา: 

สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่ม ๑๕ ข้อ ๗๖๕ 

อาฬวกสูตร สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๓๑๑ 

หมายเหตุ :

คาถาสวมมงคลและถอดมงคลนี้ผมยึดเอาพระไตรปิฎกเป็นครู เพราะฉะนั้น จะตรงหรือจะยักเยื้องกับของท่านผู้ใด โปรดพิจารณาเลือกใช้ตามศรัทธา

คาถาสวมมงคลและถอดมงคลนี้จะใช้สลับกันก็ได้ คือจะใช้คาถาสวมเป็นคาถาถอด หรือจะใช้คาถาถอดเป็นคาถาสวม ก็สามารถเลือกได้ ไม่มีโทษภัยใดๆ ทั้งสิ้น 

ในที่นี้ผมบอกที่มาไว้ให้ด้วย ท่านที่ประสงค์จะรู้รายละเอียดเพิ่มเติมให้งอกงามต่อไปอีก ก็สามารถตามไปศึกษาสืบค้นดูได้ และถ้าเป็นเช่นนั้นผมจะดีใจเป็นอย่างยิ่ง

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๖ เมษายน ๒๕๖๑

๑๗:๐๙

—————

ภาพประกอบ: จาก google

————-

Chadin Nissaipan‎ ถึง ทองย้อย แสงสินชัย

4 เมษายน เวลา 21:17 น. · 

ครูครับ

ผมจะแต่งลูกชายในปีนี้ ประมาณเดือนสิงหาคม จึงขอความเมตตาครู กรุณาบอกกล่าวคาถาสวมมงคลบ่าวสาวกับคำแปล ครับ

ผมคิดว่าอาจจะมีประโยชน์กับผู้อื่นด้วย จึงเรียนถามโดยเปิดเผยครับ

ขอบพระคุณครับ

พล.ร.ท.ชฎิล นิสสัยพันธุ์

————

ทองย้อย แสงสินชัย 

บรรดากลุ่มคนที่ผมรับใช้อยู่ในสังคม ผมแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ คือ 

๑ พระสงฆ์และวัด

๒ ทหารเรือ (แน่นอน-เพราะเป็นทหารเรือ อิอิ)

๓ ญาติมิตรทั่วไป

ถ้ามี “งานเข้า” มาพร้อมๆ กันทั้ง ๓ 

ผมจะบอกไปตรงๆ ว่า ผมขอทำให้พระก่อน

ถ้ามา ๒ กับ ๓ ผมขอทำให้ทหารเรือก่อน

ในกลุ่มทหารเรือด้วยกันเอง ถ้านายพลกับพลทหารมาพร้อมกัน 

ผมขอทำให้พลทหารก่อน (ฮ่าๆๆๆ) 

งานนี้นายพลมาเดี่ยวๆ

ขอรับใช้ด้วยความยินดีอย่างยิ่งครับผม

ป.ล. ถ้าเห็นผมเงียบไปละก็ กรุณาทวงด้วยนะครับ

Chadin Nissaipan 

ขอบพระคุณครับ

ข้อมูล :

อากงฺเขยฺยุํ  เจ  คหปตโย  อุโภ  ชานิปตโย  ทิฏฺเฐ  เจว  ธมฺเม  อญฺญมญฺญํ  ปสฺสิตุํ  อภิสมฺปรายญฺจ  อญฺญมญฺญํ  ปสฺสิตุํ  อุโภว  อสฺสุ  สมสทฺธา  สมสีลา  สมจาคา  สมปญฺญา  เต  ทิฏฺเฐ  เจว  ธมฺเม  อญฺญมญฺญํ  ปสฺสนฺติ  อภิสมฺปรายญฺจ  อญฺญมญฺญํ  ปสฺสนฺตีติ  ฯ

โป. ยุ. อุโภ จ  ฯ  

สมชีวิสูตรที่ ๑ 

        [๕๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬามฤคทายวันใกล้บ้านสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของนกุลบิดาคฤหบดี แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้งนั้นแล คฤหบดีผู้นกุลบิดาและคฤหปตานีผู้นกุลมารดา เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว คฤหบดีผู้นกุลบิดาได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับแต่เวลาที่ตระกูลนำคฤหปตานีผู้นกุลมารดาซึ่งยังเป็นสาวมา เพื่อข้าพระองค์ผู้ยังเป็นหนุ่ม ข้าพระองค์มิได้รู้สึกจะประพฤตินอกใจคฤหปตานีผู้นกุลมารดาแม้ด้วยใจเลย ที่ไหนจะประพฤตินอกใจด้วยกายเล่า ข้าพระองค์ทั้งสองปรารถนาพบกันและกันทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ แม้คฤหปตานีผู้นกุลมารดา ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับแต่เวลาที่ตระกูลนำหม่อมฉันซึ่งยังเป็นสาวมา เพื่อคฤหบดีผู้นกุลบิดาซึ่งยังเป็นหนุ่มหม่อมฉันมิได้รู้สึกจะประพฤตินอกใจคฤหบดีผู้นกุลบิดาแม้ด้วยใจเลย ที่ไหนจะประพฤตินอกใจด้วยกายเล่า หม่อมฉันทั้งสองปรารถนาพบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ ฯ

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรคฤหบดีและคฤหปตานี ถ้าภรรยาและสามีทั้งสอง หวังจะพบกันและกันทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพไซร้ ทั้งสองเทียวพึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกันภรรยาและสามีทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ ฯ

อุโภ สทฺธา วทญฺญู จ       สญฺญตา ธมฺมชีวิโน   

เต โหนฺติ ชานิปตโย        อญฺญมญฺญํ ปิยํ วทา   

อตฺถา สมฺปจุรา โหนฺติ      ผาสุกํ อุปชายติ  

อมิตฺตา ทุมฺมนา โหนฺติ     อุภินฺนํ สมสีลินํ    

อิธ ธมฺมํ จริตฺวาน            สมสีลพฺพตา อุโภ  

นนฺทิโน เทวโลกสฺมึ         โมทนฺติ กามกามิโนติ  ฯ  

          ภรรยาและสามีทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ

          มีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรม 

          เจรจาคำที่น่ารักแก่กันและกัน 

          ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุก

          ทั้งสองฝ่ายมีศีลเสมอกัน 

          รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อกัน 

          ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว 

          ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอกัน 

          ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์ เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ในเทวโลก ฯ

                                จบสูตรที่ ๕

อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่ม 21 ข้อ 55 หน้า 80

สมชีวีสุตฺตวณฺณนา  

        ปญฺจเม ฯ  เตนุปสงฺกมีติ  กิมตฺถํ  อุปสงฺกมิ  อนุคฺคณฺห-

นตฺถํ  ฯ  ตถาคโต  หิ  ตํ  รฏฺฐํ  ปาปุณนฺโต  อิเมสํเยว  ทฺวินฺนํ  

สงฺคณฺหนตฺถาย  ปาปุณาติ  ฯ  นกุลปิตา  กิร  ปญฺจ  ชาติสตานิ  

ตถาคตสฺส  ปิตา  อโหสิ  ปญฺจ  ชาติสตานิ  มหาปิตา  ปญฺจ  

ชาติสตานิ  จูฬปิตา  ฯ  นกุลมาตาปิ  ปญฺจ  ชาติสตานิ  มาตา  

อโหสิ  ปญฺจ  ชาติสตานิ  มหามาตา  ปญฺจ  ชาติสตานิ  

จูฬมาตา  ฯ  เต  สตฺถุ  ทิฏฺฐกาลโต  ปฏฺฐาย  ปุตฺตสิเนหํ  

ปฏิลภิตฺวา  หนฺตาต  หนฺตาตาติ  วจฺฉกํ  ทิสฺวา  วจฺฉคิทฺธินี  

คาวี  วิย  วิรวมานา  อุปสงฺกมิตฺวา  ปฐมทสฺสเนเนว  โสตาปนฺนา  

ชาตา  ฯ  นิเวสเน  ปญฺจสตานํ  ภิกฺขูนํ  อาสนานิ  สทา  

ปญฺญตฺตาเนว  โหนฺติ  ฯ  อิติ  ภควา  เตสํ  อนุคฺคณฺหนตฺถาย  

อุปสงฺกมิ  ฯ  อติจริตาติ  อติกฺกมิตา  ฯ  อภิสมฺปรายญฺจาติ  ปรโลเก  

จ  ฯ  สมสทฺธาติ  สทฺธาย  สมา  เอกสทิสา  ฯ  สีลาทีสุปิ  เอเสว  

นโย  ฯ  

อรรถกถาปฐมสมชีวิสูตร 

            พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสมชีวิตสูตรที่  ๕  ดังต่อไปนี้ :-  

            บทว่า  เตนุปสงฺกมิ  ความว่า  ถามว่า  พระผู้มีพระภาคเจ้า   เสด็จ

เข้าไปหาเพื่ออะไร  ?    ตอบว่า   เพื่อทรงอนุเคราะห์.    แท้จริง  พระตถาคต

เมื่อเสด็จไปแว่นแคว้นนั้น  ย่อมเสด็จไปเพื่อทรงสงเคราะห์คนทั้งสองนี้เท่านั้น.

ได้ยินว่า    นกุลบิดา    ได้เป็นบิดาของพระตถาคตมาแล้ว   ๕๐๐ ชาติ    เป็นปู่

๕๐๐ ชาติ   เป็นอา  ๕๐๐ ชาติ.   แม้นกุลมารดา ก็ได้เป็นมารดามา  ๕๐๐ ชาติ

เป็นย่า  ๕๐๐ ชาติ    เป็นน้า   ๕๐๐  ชาติ    คนเหล่านั้นได้ความรักเพียงดังบุตร

จำเดิมแต่เวลาตนเห็นพระศาสดา    จึงเข้าไปหาแล้วเกิดเป็นโสดาบันด้วยปฐม-

ทัสนะ  (การเห็นครั้งแรก)  เหมือนแม่โคเห็นลูกโคแล้วติดในลูกโค  ร้องอยู่ว่า

หนฺตาต  หนฺตาต   ดังนี้.    ในนิเวศน์เขาจึงได้จัดอาสนะไว้ถวาย    แก่ภิกษุ

๕๐๐  รูปเป็นประจำ    พระผู้มีพระภาคเจ้า    จึงเสด็จเข้าไปหาเพื่ออนุเคราะห์

คนเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้.   บทว่า  อติจริตา   ได้แก่  พระพฤตินอกใจ.

บทว่า อภิสมฺปรายญฺจ ได้แก่ และในโลกหน้า.  บทว่า  สมสทฺธา  ได้แก่

เป็นผู้เสมอ  เป็นเช่นเดียวกันด้วยศรัทธา.  แม้ในศีลเป็นต้น  ก็นัยนี้เหมือนกัน.

                              จบอรรถกถาปฐมสมชีวิสูตรที่ 

องฺคุตฺตรนิกายฏฺฐกถา (มโนรถปูรณี ๒) หน้า 519

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม 35 หน้า 190 

(คำอื่นๆ ที่ท่านไม่ได้แก้ไว้ในที่นี้ มีในอรรถกถาสูตรก่อน คือปฐมสํวาสสุตฺตวณฺณนา และท่านแก้ไว้ในที่นั้นแล้ว ยกมาใส่ไว้ในที่นี้เพื่อให้เห็นคำที่ท่านแก้ดังนี้)

วทญฺญูติ  ยาจกวจนสฺส  อตฺถํ  ชานนฺตา  ฯ  สญฺญตาติ  สีล-

สญฺญเมน  สมนฺนาคตา  ฯ  ธมฺมชีวิโนติ  ธมฺเม  ฐตฺวา  ชีวิกํ  

กปฺเปนฺตีติ  ธมฺมชีวิโน  ฯ  อตฺถา  สมฺปจุรา(๑)  โหนฺตีติ  วฑฺฒิสงฺขาตา  

อตฺถา  เอเตสํ  พหู  โหนฺติ  ฯ  ผาสุกํ  อุปชายตีติ  อญฺญมญฺญํ 

ผาสุวิหาโร  ชายติ  ฯ  กามกามิโนติ  กาเม  กามยมานา  ฯ  

บทว่า  วทญฺญู   ได้แก่   รู้อยู่ซึ่งความหมายคำของยาจก. 

บทว่า  สญฺญตา ได้แก่ประกอบด้วยความสำรวมในศีล.  บทว่า  ธมฺมชีวิโน

ได้แก่ ชื่อว่าธรรมชีวี  เพราะตั้งอยู่ในธรรมเลี้ยงชีพ.  บทว่า  อตฺถา  สมฺปจุรา

โหนฺติ   ความว่า  พวกคนเหล่านั้น    ย่อมได้ประโยชน์กล่าวคือความเจริญเป็น

อันมาก.    บทว่า   ผาสุกํ  อุปชายติ   ความว่า   เกิดอยู่ด้วยกันอย่างผาสุก 

บทว่า  กามกามิโน  ได้แก่  ผู้ยังมีความใคร่ในกามอยู่.

                             จบอรรถกถาปฐมสังวาสสูตรที่ 

องฺคุตฺตรนิกายฏฺฐกถา (มโนรถปูรณี ๒) หน้าที่ 518

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม 35 หน้า 187 

[183] สมชีวิธรรม 4 (หลักธรรมของคู่ชีวิต, ธรรมที่จะทำให้คู่สมรสมีชีวิตสมหรือสม่ำเสมอกลมกลืนกัน อยู่ครองกันยืดยาว — Samajīvidhamma: qualities which make a couple well matched)

1. สมสัทธา (มีศรัทธาสมกัน — Sama-saddhā: to be matched in faith)

2. สมสีลา (มีศีลสมกัน — Sama-sīlā: to be matched in moral conduct)

3. สมจาคา (มีจาคะสมกัน — Sama-cāgā: to be matched in generosity)

4. สมปัญญา (มีปัญญาสมกัน — Sama-paññā: to be matched in wisdom)

A.II.60. องฺ.จตุกฺก.21/55/80.

ยสฺเสเต จตุโร  ธมฺมา

สทฺธสฺส  ฆรเมสิโน

สจฺจํ  ทโม  ฐิติ  จาโค

ส  เว  เปจฺจ  น  โสจติ

ที่มา: 

สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่ม ๑๕ ข้อ ๗๖๕ 

อาฬวกสูตร สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๓๑๑ 

อรรถกถา

ตสฺสตฺโถ  ยสฺส  สทฺทหาโน  อรหตนฺติ  เอตฺถ  วุตฺตาย  สพฺพกลฺยาณธมฺมุปฺปาทิกาย  สทฺธาย  สมนฺนาคตตฺตา  สทฺธสฺส  ฆรเมสิโนติ  สพฺพกลฺยาณธมฺมุปฺปาทิกาย  สทฺธาย  สมนฺนาคตตฺตา  สทฺธสฺส  ฆรเมสิโนติ  เอตฺถ  ฆราวาสํ  ปญฺจ  วา  กามคุเณ  เอสนฺตสฺส  คเวสนฺตสฺส  กามโภคิโน  คหฏฺฐสฺส  สจฺเจน  กิตฺตึ  ปปฺโปตีติ  เอตฺถ  วุตฺตปฺปการํ  สจฺจํ  สุสฺสูสํ  ลภเต  ปญฺญนฺติ  เอตฺถ  สุสฺสูสปญฺญานาเมน  วุตฺโตว  ธมฺโม  ธุรวา  อุฏฺฐาตาติ  เอตฺถ  ธุรนาเมน  อุฏฺฐานนาเมน  จ  วุตฺตา  ธิติ  ททํ  มิตฺตานิ  คนฺถตีติ  เอตฺถ  วุตฺตปฺปกาโร  จาโค  จาติ  เอเต  จตุโร  ธมฺมา  สนฺติ  ส  เว  เปจฺจ  น  โสจตีติ  อิธโลกา  ปรโลกํ  คนฺตฺวา  ส  เว  เปจฺจ  น  โสจตีติ  ฯ 

สารัตถปกาสินี ภาค ๑ สังยุตตนิกายัฏฐกถา หน้า 452

ปรมัตถโชติกา ภาค ๑ สุตตนิปาตวัณณนา หน้า 348

หมายเหตุ ในคัมภีร์ คำว่า สจฺจํ  ทโม เป็น สจฺจํ  ธมฺโม 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *