บาลีวันละคำ

อัปลักษณ์ (บาลีวันละคำ 1,693)

อัปลักษณ์

อ่านว่า อับ-ปะ-ลัก

ประกอบด้วย อัป + ลักษณ์

(๑) “อัป

บาลีเป็น “อป” (อะ-ปะ) เป็นคำอุปสรรค นักเรียนบาลีท่องจำกันมาว่า “อป ปราศ, หลีก” คือ “อป” หมายถึง “ปราศ” และหมายถึง “หลีก

ปราศ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกว่าเป็นคำเดียวกับ “ปราศจาก” ในภาษาไทยเป็นคำกริยา แปลว่า พ้นไป, ไม่มี.

หลีก” พจนานุกรมฯ แปลว่า หลบสิ่งที่กีดขวาง, เลี่ยง, ขยับไปให้พ้นที่เดิม, ให้ทาง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ อธิบายความหมายของ “อป” ว่า –

Well-defined directional prefix, meaning “away from, off” (เป็นอุปสรรคบอกทิศทางให้ชัดเจนดีขึ้น, หมายถึง “ปราศ, หลีก”)

(๒) “ลักษณ์

บาลีเป็น “ลกฺขณ” (ลัก-ขะ-นะ) รากศัพท์มาจาก ลกฺขฺ (ธาตุ = กำหนด) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน, แปลง เป็น

: ลกฺขฺ + ยุ > อน = ลกฺขน > ลกฺขณ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “สภาวะอันธรรมดากำหนดไว้อย่างนั้นนั่นเอง

(2) “สิ่งเป็นเครื่องอันเขาใช้กำหนดหมาย

ลกฺขณ” หมายถึง สัญลักษณ์, เครื่องหมาย, เครื่องหมายที่เด่นหรือลักษณะที่สำคัญ, คุณภาพ (sign, characteristic, mark, a distinguishing mark or salient feature, property, quality)

ลกฺขณ” ใช้ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “ลักษณ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ลักษณ-, ลักษณะ : (คำนาม) สมบัติเฉพาะตัว เช่น น้ำมีลักษณะเป็นของเหลว ลูกบิลเลียดมีลักษณะกลม ลูกเต๋ามีลักษณะเหลี่ยม คนไทยมีลักษณะอ่อนโยน; ประเภท เช่น ใน ๓ ลักษณะ. (ส.; ป. ลกฺขณ).”

ลักษณ-, ลักษณะ” เมื่ออยู่โดดๆ หรืออยู่ท้ายคำและต้องการให้อ่านว่า “ลัก” จึงใส่ไม้ทัณฑฆาต (ที่มักเรียกกันว่า “การันต์”)ที่ เขียนเป็น “ลักษณ์

อป + ลกฺขณ = อปลกฺขณ แปลตามศัพท์ว่า “ปราศจากลักษณะ (ที่ดี)” หรือ “ลักษณะ (ที่ดี) หลีกไปหมด” (เหลือแต่ลักษณะที่ไม่ดี)

อปลกฺขณ” ในภาษาไทยใช้เป็น “อปลักษณ์” (อะ-ปะ-ลัก) และ“อัปลักษณ์” (อับ-ปะ-ลัก)

น่าสังเกตว่า คำนี้เวลาออกเสียงจริงๆ มักเป็น อับ-ปะ- มากกว่าที่จะเป็น อะ-ปะ-

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อปลักษณ์, อัปลักษณ์ : (คำวิเศษณ์) ชั่ว (มักใช้แก่รูปร่าง หน้าตา), มีลักษณะที่ถือว่าไม่เป็นมงคล, เช่น หน้าตาอปลักษณ์, รูปร่างอัปลักษณ์. (ส.; ป. อปลกฺขณ).”

…………..

ดูก่อนภราดา!

: รูปร่างลวงโลกได้

: แต่ลวงนรกสวรรค์ไม่ได้

22-1-60