บาลีวันละคำ

ไถยจิต (บาลีวันละคำ 1,701)

ไถยจิต

ใช่จะแปลกแต่รูปคำ การกระทำก็แปลก

อ่านว่า ไถ-ยะ-จิด

ประกอบด้วย ไถย + จิต

(๑) “ไถย-” (ไถ-ยะ-)

บาลีเป็น “เถยฺย” (เถย-ยะ) รากศัพท์มาจาก เถน + ณฺย ปัจจัย

1) “เถน” อ่านว่า เถ-นะ รากศัพท์มาจาก เถนฺ (ธาตุ = ลัก, ขโมย) + ปัจจัย

: เถนฺ + = เถน (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ลักขโมย

เถน” เป็นคำนาม หมายถึง คนขโมย (a thief) เป็นคำคุณศัพท์ หมายถึง ขโมย (stealing)

2) เถน (คนขโมย) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ที่สุดศัพท์ (เถน > เถ) และลบ ที่ ณฺย (ณฺย > ), ซ้อน ยฺ ( > ยฺย)

: เถนฺ > เถ + ณฺย > = เถย > เถยฺย (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำของขโมย” “ภาวะแห่งขโมย” หมายถึง การขโมย (theft)

เถยฺย” ในภาษาไทยใช้เป็น “ไถย-” (ไถ-ยะ-) (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ไถย– : (คำนาม) ความเป็นขโมย เช่น ไถยจิต. (ป. เถยฺย).”

(๒) “จิต

บาลีเป็น “จิตฺต” (จิด-ตะ) รากศัพท์มาจาก จินฺต (ธาตุ = คิด) + ปัจจัย, ลบ นฺ ที่ จินฺตฺ (จินฺต > จิต)

: จินฺต + = จินฺตต > จิตฺต แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่ทำหน้าที่คิด” (2) “สิ่งที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์” หมายถึง จิต, ใจ, ความคิด (the heart, mind, thought)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “จิตฺต” ไว้ดังนี้ –

the heart (psychologically), i. e. the centre & focus of man’s emotional nature as well as that intellectual element which inheres in & accompanies its manifestations; i. e. thought (หัวใจ [ทางจิตวิทยา] คือศูนย์และจุดรวมของธรรมชาติที่เกี่ยวกับความรู้สึกของมนุษย์ กับส่วนของสติปัญญาซึ่งอยู่ในการแสดงออกเหล่านั้น; กล่าวคือ ความคิด)

จิตฺต” ในภาษาไทยตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่ง ใช้เป็น “จิต

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

จิต, จิต– : (คำนาม) ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิดและนึก, (โบ เขียนว่า จิตร), ลักษณนามว่า ดวง. (ป. จิตฺต).”

เถยฺย + จิตฺต = เถยฺยจิตฺต แปลตามศัพท์ว่า “การคิดในอันที่จะขโมย” หมายถึง จิตคิดขโมย, มีเจตนาจะขโมย (intending to steal)

เถยฺยจิตฺต” ในภาษาไทยใช้เป็น “ไถยจิต” (และเป็น “เถยจิตฺ” ก็มี)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ไถยจิต : (คำนาม) จิตประกอบด้วยความเป็นขโมย, จิตคิดขโมย. (ป. เถยฺยจิตฺต).”

…………..

ในทางธรรม เถยฺยจิตฺต > ไถยจิต เป็นองค์ประกอบข้อหนึ่งใน 5 ข้อ ที่จะวินิจฉัยว่าเป็นการลักทรัพย์ (อทินนาทาน) หรือมิใช่ กล่าวคือ :

(1) ปรปริคฺคหิตํ ทรัพย์นั้นเป็นของผู้อื่น และเจ้าของยังทรงสิทธิ์ครอบครองหวงแหนอยู่

(2) ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา ผู้กระทำผิดรู้ข้อเท็จจริงตามข้อต้นนั้น

(3) เถยฺยจิตฺตํ มีเจตนาที่จะได้ทรัพย์นั้นมาครอบครองโดยที่เจ้าของมิได้ยินยอมพร้อมใจ

(4) อุปกฺกโม ลงมือกระทำการ

(5) เตน  หรณํ ได้ทรัพย์นั้นมาครอบครองโดยผลแห่งการกระทำนั้น

ถ้าครบองค์ประกอบทั้ง 5 นี้ การลักทรัพย์นั้นเป็นอันสำเร็จ

…………..

: จิตคิดจะให้ เบาสบายกว่าจิตคิดจะเอา

: จิตคิดจะลัก มันสุดแสนจะหนักยิ่งกว่าภูเขา

: ผู้ใหญ่ระดับนี้ ไยจึงยังมีไถยจิต อกเอ๋ยสุดจะคิดให้เห็นเค้า

: ดอกเอ๋ย เจ้าดอกสะเดา

: จะขมจะช้ำทุกค่ำเช้า เสียแล้วพ่อเถา-ตำลึงเอย

30-1-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย