บาลีวันละคำ

ศึกษา (บาลีวันละคำ 1,702)

ศึกษา

คำที่ต้องศึกษา-เพื่ออะไร?

อ่านว่า สึก-สา

ศึกษา” บาลีเป็น “สิกฺขา” (สิก-ขา) รากศัพท์มาจาก สิกฺข (ธาตุ = ศึกษา, เรียนรู้) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สิกฺข + = สิกฺข + อา = สิกฺขา

สิกฺขา” แปลตามศัพท์ว่า “ข้อปฏิบัติอันบุคคลพึงศึกษา

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สิกฺขา” ไว้ดังนี้ –

(1) study, training, discipline (การศึกษา, การฝึก, สิกขาหรือวินัย)

(2) [as one of the 6 Vedāngas] phonology or phonetics, combd with nirutti [interpretation, etymology] ([เป็นหนึ่ีงในเวทางค์ 6] วิชาว่าด้วยเสียง หรือการอ่านออกเสียงของคำต่าง ๆ, รวมกับ นิรุตฺติ [การแปลความหมาย, นิรุกติ])

ความหมายของ “สิกขา” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สิกขา : (คำนาม) ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อที่จะต้องปฏิบัติ ได้แก่ ศีล เรียกว่า ศีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา; การศึกษา, การเล่าเรียน, เช่น ปริยัติสิกขา ปฏิบัติสิกขา. (ป.; ส. ศิกฺษา).”

บาลี “สิกฺขา” สันสกฤตเป็น “ศิกฺษา

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “ศิกฺษ” อันเป็นรากศัพท์ (ธาตุ) ของ “ศิกฺษา” ไว้ดังนี้ –

ศิกฺษ : (ธาตุ) เรียน, ศึกษาศาสตร์หรือความรู้; to learn, to acquire science or knowledge.”

และบอกความหมายของ “ศิกฺษา” ไว้ดังนี้ –

ศิกฺษา : (คำนาม) ‘ศึกษา,’ หนึ่งในจำนวนหกแห่งเวทางค์ หรือ ศาสตร์อันติดต่อกับพระเวท; การศึกษา, การเล่าเรียน; ความเสงี่ยมในมรรยาท, อนหังการ; one of the six Vedāngas or sciences attached to the Vadas; learning, study; modesty, humility.”

ในภาษาไทย “สิกฺขา” นิยมใช้อิงรูปสันสกฤต คือ “ศิกฺษา” แล้วเสียงกลายเป็น “ศึกษา” และพูดทับศัพท์ว่า “ศึกษา” จนเข้าใจกันทั่วไป

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศึกษา : (คำนาม) การเล่าเรียน ฝึกฝน และอบรม. (ส. ศิกฺษา; ป. สิกฺขา).”

อภิปราย :

ศึกษา” ในความเข้าใจทั่วไปมักหมายความเพียงแค่ “เรียนวิชาความรู้

แต่ “สิกฺขา” ในภาษาบาลีหมายถึง การฝึกฝนปฏิบัติ, การเล่าเรียนให้รู้เข้าใจและฝึกหัดปฏิบัติให้เป็นคุณสมบัติที่เกิดมีขึ้นในตนหรือให้ทำได้ทำเป็น ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปจนถึงความสมบูรณ์

สำหรับบรรพชิต “สิกฺขา” หมายถึงระบบวิถีชีวิตทั้งชีวิต เช่น คฤหัสถ์บวชเป็นภิกษุ นั่นคือการเข้าสู่ระบบสิกขา คือใช้ชีวิตเยี่ยงบรรพชิตตามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้เพื่อบรรลุถึงจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน

…………..

แถม :

มี “เกจิ” คืออาจารย์บางสำนักพอใจที่จะแยกศัพท์และแสดงความหมายของ “สิกฺขา” เป็นอย่างอื่นอีก เช่น –

(1) (ตัวเอง, ของตัวเอง) + อิกฺข (ดู, เห็น)

: + อิกฺข = สิกฺข > สิกฺขา = การดู การเห็น โดยทั่วด้วยตนเอง

(2) สิร (ศีรษะ, ยอด) + อกฺข (ดวงตา) ลบ ที่ (สิ)- (สิร > สิ)

: สิร > สิ + อกฺข = สิกฺข > สิกฺขา = ดวงตาที่มองเห็นถึงสุดยอดของสรรพสิ่ง หมายถึงเมื่อศึกษาจนรู้จริงก็จะมองเห็นสิ่งสูงสุดของชีวิต

(3) สิร (ศีรษะ, ยอด) + อกฺข (เพลา, แกน) ลบ ที่ (สิ)- (สิร > สิ)

: สิร > สิ + อกฺข = สิกฺข > สิกฺขา = แกนกลางซึ่งจะนำไปสู่จุดสูงสุด หมายถึงเมื่อศึกษาจนรู้จริงก็จะบรรลุถึงสิ่งสูงสุดของชีวิต

(4) สีล (ปกติ, สม่ำเสมอ) + อกฺข (คะแนน) ลบ ที่ (สี)- (สีล > สี), รัสสะ อี เป็น อิ (สี > สิ)

: สีล > สี > สิ + อกฺข = สิกฺข > สิกฺขา = การทำคะแนนอย่างสม่ำเสมอ หมายถึงการหาความรู้ใส่ตัวอยู่ตลอดเวลา

ฯลฯ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ศึกษาความหมายของ “สิกขา” จนรู้ทุกอย่างทุกสิ่ง

: แต่ทำให้เกิดมีขึ้นจริงไม่ได้สักอย่าง-จะมีความหมายอะไร?

31-1-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย