บาลีวันละคำ

บุญญาธิการ (บาลีวันละคำ 1,732)

บุญญาธิการ

อ่านว่า บุน-ยา-ทิ-กาน

แยกศัพท์เป็น บุญ + อธิการ

(๑) “บุญ”  

บาลีเป็น “ปุญฺญ” อ่านว่า ปุน-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ปุ (ธาตุ = ชำระ สะอาด) + ณฺย ปัจจัย, ลง อาคม, ลบ ณฺ, แปลง นฺย (คือ อาคม + (ณฺ)- ปัจจัย) เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุ + + ณฺย = ปุนณฺย > ปุนฺย > (+ ญฺ) = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่ชำระสันดานของตนให้สะอาด” “กรรมที่ชำระผู้ทำให้สะอาด

(2) ปุชฺช (น่าบูชา) + ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ชฺช, และ , แปลง นฺย เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุชฺช + ชนฺ + = ปุชฺชชนฺ + ณฺย = ปุชฺชชนณฺย > ปุชนณฺย > ปุนณฺย > ปุนฺย > (+ ญฺ) = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะอันทำให้เกิดความน่าบูชา

(3) ปุณฺณ (เต็ม) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺณ, และ , แปลง รย (คือ ที่ กรฺ + ที่ ณฺ) เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุณฺณ + กรฺ = ปุณฺณกร + ณฺย = ปุณฺณกรณฺย > ปุกรณฺย > ปุรณฺย > ปุรฺย > ปุ (+ ญฺ) = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำอันทำให้เต็มอิ่มสมน้ำใจ

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต แปล “บุญ” เป็นอังกฤษว่า merit; meritorious action; virtue; righteousness; moral acts; good works. adj. meritorious; good.

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปุญฺญ” ว่า merit, meritorious action, virtue (บุญ, กรรมดี, ความดี, กุศล)

ปุญฺญ” สันสกฤตเป็น “ปุณฺย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ปุณฺย : (คำคุณศัพท์) ‘บุณย, บุณย์,’ สาธุ, บริศุทธ์, ธรรมิก; สวย, น่ารัก; หอม; virtuous, pure, righteous; beautiful, pleasing; fragrant;- (คำนาม) สทาจาร, คุณธรรม; บุณย์หรือกรรมน์ดี; ความบริศุทธิ; virtue, moral or religious merit; a good action; purity.”

ปุญฺญ” ภาษาไทยใช้ว่า “บุญ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

บุญ, บุญ– : (คำนาม) การกระทําดีตามหลักคําสอนในศาสนา; ความดี, คุณงามความดี. (คำวิเศษณ์) ดี เช่น คนใจบุญ, มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ. (ป. ปุญฺญ; ส. ปุณฺย).”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 แก้คำนิยามใหม่เป็นว่า –

บุญ, บุญ– : (คำนาม) ความสุข เช่น หน้าตาอิ่มบุญ; การกระทําดีตามหลักคําสอนในพระพุทธศาสนา เช่น ไปทำบุญที่วัด; ความดี เช่น ปล่อยนกปล่อยปลาเอาบุญ, คุณงามความดี เช่น เขาทำบุญช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก, ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เช่น คนใจบุญ, ผลของการทำความดีจากชาติปางก่อน เช่น เขามีบุญจึงเกิดมาบนกองเงินกองทอง. (ป. ปุญฺญ; ส. ปุณฺย).”

(๒) “อธิการ

บาลีอ่านว่า อะ-ทิ-กา-ระ ประกอบด้วย อธิ + การ

ก) “อธิ” (อะ-ทิ)

เป็นคำอุปสรรค (คำที่ใช้ประกอบข้างหน้าคำนามหรือกริยาให้มีความหมายยักเยื้องออกไป) นักเรียนบาลีแปลกันว่า ยิ่ง, ใหญ่, ทับ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แสดงความหมายไว้ว่า –

(1) บอกทิศทาง, จุดหมาย = จนถึง, เหนือ, ไปยัง, บน (up to, over, toward, to, on)

(2) บอกสถานที่ = บนยอด, ข้างบน, เหนือ, บน (on top of, above, over)

ข) “การ

บาลีอ่านว่า กา-ระ รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา

: กรฺ + = กรณ > กร > การ แปลตามศัพท์ว่า “การทำ

การ” ถ้าใช้ตามลำพัง มีความหมายว่า –

(1) กรรม, การบริการ, การกระทำที่แสดงความเมตตา หรือความเคารพ หรือความนับถือ (deed, service, act of mercy or worship, homage)

(2) การกระทำ, กิริยาอาการ, วิธีทำ (doing, manner, way)

การ” ถ้าใช้ต่อท้ายคำอื่น มีความหมายแตกต่างกันไปตามคำนั้นๆ เช่น –

อหํการ = อหังการ “กระทำว่าเรา” = มองเห็นแต่ตนเอง (selfishness)

อนฺธการ = อันธการ “กระทำความมืด” = ความมืด (darkness)

สกฺการ = สักการ = การสักการะ, เครื่องสักการะ (homage)

พลกฺการ = พลการ = การใช้กำลัง (forcibly)

การ” ยังเป็นชื่อเฉพาะทางไวยากรณ์ หมายถึง นิบาต, อักษร, เสียงหรือคำ เช่น ม-การ (มะ-กา-ระ) = อักษร ม

อธิ + การ = อธิการ แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำอันยิ่ง” หมายถึง การเอาใจใส่หรือติดตาม, การให้บริการ, การบริหาร, การดูแลควบคุม, การจัดการ, การช่วยเหลือ (attendance, service, administration, supervision, management, help)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต อธิบายความหมายของ “อธิการ” ไว้ว่า –

1. “ตัวการ”, ตัวทำการ, เจ้าการ, เจ้ากรณี, เจ้าของเรื่อง, เรื่องหรือกรณีที่กำลังพิจารณา, เรื่องที่เกี่ยวข้อง, เรื่องที่เป็นข้อสำคัญ หรือที่เป็นข้อพิจารณา, ส่วนหรือตอนที่ว่าด้วยเรื่องนั้นๆ เช่น “ในอธิการนี้” หมายความว่า ในเรื่องนี้ หรือในตอนนี้

2. “การอันยิ่ง

๑) การทำความดีที่ยิ่งใหญ่หรืออย่างพิเศษ, บุญหรือคุณความดีสำคัญที่ได้บำเพ็ญมา, ความประพฤติปฏิบัติที่เคยประกอบไว้ หรือการอันได้บำเพ็ญมาแต่กาลก่อน หรือที่ได้สั่งสมตระเตรียมเป็นทุนไว้ เช่น “พระเถระนั้น เป็นผู้มีอธิการอันได้ทำไว้ ในสมถะและวิปัสสนา”

๒) การอันสำคัญหรือที่ทำอย่างจริงจัง อันเป็นการแสดงความเคารพรักนับถือหรือเกื้อกูลตลอดจนโปรดปราน เช่น การบูชา การช่วยเหลือที่สำคัญ การทำความดีความชอบ การให้รางวัล

3. “การทำให้เกิน”, “การทำให้เพิ่มขึ้น”, การเติมคำหรือข้อความที่ละไว้ หรือใส่เพิ่มเข้ามา เพื่อให้ได้ความหมายครบถ้วน, คำหรือข้อความที่เติมหรือใส่เพิ่มเข้ามาเช่นนั้น, คำหรือข้อความที่จะต้องนำไปเติมหรือใส่เพิ่มในที่นั้นๆ เพื่อให้เข้าใจความหมาย หรือได้กฎเกณฑ์ที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน

4. อำนาจ, ตำแหน่ง, หน้าที่, กิจการ, ภาระ มีธรรมเนียมเรียกเจ้าอาวาสที่ไม่เป็นเปรียญและไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่นว่า พระอธิการ และเรียกเจ้าคณะตำบลหรือพระอุปัชฌาย์ ที่ไม่เป็นเปรียญและไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่นว่า เจ้าอธิการ, ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากความในวรรคสุดท้ายของมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ว่า “อนึ่ง เจ้าอาวาสทั้งปวงนั้น ถ้าไม่ได้อยู่ในสมณศักดิ์ที่สูงกว่า ก็ให้มีสมณศักดิ์เป็นอธิการ” ซึ่งมีเชิงอรรถใต้มาตรา อันเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กำกับไว้ด้วยว่า “(๑๕) เจ้าอาวาสเป็นพระอธิการ รองแขวงที่เรียกอีกโวหารหนึ่งว่าเจ้าคณะหมวด เป็นเจ้าอธิการ ในบัดนี้พระอุปัชฌายะก็เป็นเจ้าอธิการเหมือนกัน”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อธิการ : (คำนาม) อำนาจ, การปกครอง, ความบังคับบัญชา; ตำแหน่ง, หน้าที่, กิจการ, ภาระ; สิทธิ, ความชอบธรรม; เรียกพระที่ดํารงตําแหน่งเจ้าอาวาสซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่นว่า พระอธิการ, เรียกพระที่ดํารงตําแหน่งพระอุปัชฌาย์หรือเจ้าคณะตําบล ซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่นว่า เจ้าอธิการ; ตําแหน่งสูงสุดของผู้บริหารในวิทยาลัย. (ป., ส.).”

อธิการ” เป็น 1 ในคุณสมบัติ 8 ประการ (อัฏฐธัมมสโมธาน = การประชุมพร้อมแห่งธรรมแปดประการ) ของผู้ที่จะได้นามว่าเป็น “โพธิสัตว์” คือ “อธิกาโร” – ต้องประกอบกุศลกรรมที่ยิ่งใหญ่อย่างใดอย่างหนึ่งถึงขั้นยอมสละชีวิต

ปุญฺญ + อธิการ = ปุญฺญาธิการ บาลีอ่านว่า ปุน-ยา-ทิ-กา-ระ

ข้อสังเกต :

ภาษาบาลี “ปุญฺญ” มี สองตัว ในภาษาไทยตัด ออกตัวหนึ่ง ใช้ว่า “บุญ” (บุน)

แต่ในกรณีที่มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย และคำนั้นขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) ซึ่งจะต้องเชื่อมเสียง เข้ากับเสียงสระพยางค์แรกของคำหลัง (ที่ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “สนธิ”) เช่นในคำนี้ – + – (ทีฆะเสียง อะ เป็น อา) = ญา กรณีเช่นนี้ท่านให้คง ไว้ทั้งสองตัว

คือเขียนเป็น บุญญา– ไม่ใช่ บุญา

บุญญาธิการ” ไม่ใช่ “บุญาธิการ

บุญญาธิการ” แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “การกระทำอันยิ่งด้วยบุญ” หมายถึง มี “อธิการ” คือการกระทำอันยิ่งใหญ่ แต่ไม่ใช่ยิ่งใหญ่ด้วยทรัพย์ ด้วยยศ ด้วยความรู้ ด้วยบริวาร ฯลฯ หากแต่ยิ่งใหญ่ด้วย “บุญ” โดยความหมายก็คือทำบุญไว้มาก หรือมีบุญมาก

(2) “การกระทำอันยิ่งคือบุญ” หมายถึง บุญนั่นเองเป็น “อธิการ” อยู่ในตัว ทำบุญมากเท่าใด ก็มีอธิการมากเท่านั้น

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บุญญาธิการ : (คำนาม) บุญที่ได้กระทำไว้มากยิ่ง.”

บุญญาธิการ” มักใช้ประกอบคำสรรเสริญบุคคลสำคัญที่กระทำกิจการงานใดๆ ก็สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี แม้จะมีอุปสรรคหรือความยากลำบากเพียงไรก็สามารถฝ่าฟันไปได้โดยตลอดว่า เป็นผู้มีบุญญาธิการ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: บุญที่คนอื่นอุทิศ

: ไม่ศักดิ์สิทธิ์เท่าบุญที่ทำเอง

2-3-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *