บาลีวันละคำ

กุลบุตร-กุลธิด (บาลีวันละคำ 967)

กุลบุตร-กุลธิดา

อ่านว่า กุน-ละ-บุด / กุน-ละ-ทิ-ดา

บาลีเป็น “กุลปุตฺต” อ่านว่า กุ-ละ-ปุด-ตะ

และ “กุลธีตา” อ่านว่า กุ-ละ-ที-ตา

ประกอบด้วย กุล + ปุตฺต / กุล + ธีตา

(๑) “กุล

รากศัพท์มาจาก กุลฺ (ธาตุ = ผูก, พัน, นับ) + ปัจจัย, ลบ

: กุลฺ + = กุล แปลตามศัพท์ว่า “เชื้อสายที่เป็นเครื่องผูกพัน” “เชื้อสายที่ผูกพันกัน” “เชื้อสายอันเขานับรวมไว้” หมายถึง –

(1) ตระกูล, วงศ์, สกุลผู้ดี (clan, a high social grade, good family)

(2) ครอบครัว, บ้าน, ประชาชน (household, house, people

(๒) “ปุตฺต” แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “ผู้เป็นเหตุให้บิดามารดาสะอาด” (คือไม่ถูกตำหนิว่าไม่มีผู้สืบสกุล)

(2) “ผู้ชำระตระกูลของตนให้สะอาด” (คือทำให้ตระกูลมีผู้สืบต่อ)

(3) “ผู้ยังดวงใจของบิดามารดาให้เต็ม

(4) “ผู้อันมารดาบิดาเลี้ยงดู

(๓) “ธีตา

ศัพท์เดิมในบาลีเป็น “ธีตุ” (ที-ตุ) แจกด้วยวิภัตติที่หนึ่ง เอกพจน์ จึงเป็น “ธีตา” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันมารดาบิดาคอยทรงไว้” (คือดูแลรักษาไว้)

กุล + ปุตฺต = กุลปุตฺต แปลว่า “บุตรของตระกูล” หมายถึง กุลบุตร, คน (หนุ่ม) แห่งครอบครัวที่ดี, สุภาพบุรุษ, บุตรที่มีกำเนิดดี (a clansman, a (young) man of good family, a gentleman, man of good birth)

กุล + ธีตา = กุลธีตา แปลว่า “ธิดาของตระกูล” หมายถึง ลูกสาว (the daughter of a respectable family)

กุลปุตฺต” ภาษาไทยใช้เป็น “กุลบุตร

กุลธีตา” ภาษาไทยใช้เป็น “กุลธิดา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) กุลบุตร : ลูกชายผู้มีตระกูล.

(2) กุลธิดา : ลูกหญิงผู้มีตระกูล.

: ไม่สอนให้รู้จักผิดรู้จักถูก คือสอนลูกให้เป็นโจร

#บาลีวันละคำ (967)

10-1-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *