บาลีวันละคำ

สกปรก (บาลีวันละคำ 1,748)

สกปรก

จับบวชได้ ก็ไม่สกปรก

คำนี้ใครเห็นก็รู้จักกันดี อ่านว่า สก-กะ-ปฺรก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สกปรก : (คำวิเศษณ์) เปรอะหรือเปื้อนด้วยสิ่งที่ถือว่าน่าเกลียดหรือที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เสื้อผ้าสกปรก เนื้อตัวสกปรกด้วยฝุ่นละออง, ขุ่นมัว, ไม่สะอาดหมดจด, เช่น น้ำสกปรก จิตใจสกปรก, ลักษณะกิริยาวาจาที่แสดงออกอย่างหยาบคาย เช่น พูดจาสกปรก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเป็นคนสกปรก เล่นสกปรก.”

พจนานุกรมฯ ไม่ได้บอกว่า “สกปรก” เป็นภาษาอะไรหรือมาจากภาษาอะไร

ผู้เขียนบาลีวันละคำเคยอ่านคอลัมน์ของท่านอาจารย์เปลื้อง ณ นคร จำไม่ได้ว่าในวารสารอะไร ท่านตั้งชื่อคอลัมน์ว่า “สะกะปะระกะปกรณ์” เนื้อหาว่าด้วยเรื่องที่กระเดียดไปในทางเพศอันมีกล่าวไว้ในปกรณ์คือคัมภีร์เก่าแก่ทั้งหลายทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายเทศ

ชื่อ “สะกะปะระกะปกรณ์” นี้ถ้าเขียนไม่มีสระ อะ ก็จะเป็น “สกปรกปกรณ์

แต่ “สกปรก” คำนี้ไม่ได้มีความหมายอย่างที่เข้าใจกันตามที่ปรากฏในพจนานุกรมฯ

สกปรก” ถ้าเป็นคำบาลีก็แยกเป็น “สก” และ “ปรก

(๑) “สก” อ่านว่า สะ-กะ รากศัพท์มาจาก (สะ. = ตน) + (กะ)

” (กะ) ตัวนี้ ภาษาไวยากรณ์บาลีเรียกว่า “สกรรถ” อ่านว่า กะ-สะ-กัด

คำว่า “สกรรถ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สกรรถ : (คำนาม) เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมายคงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำเช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).”

สกรรถ” จึงหมายถึง อักษร ก ที่ลงข้างท้ายศัพท์ เมื่อลงแล้วศัพท์นั้นมีความหมายเท่าเดิม

ในที่นี้ “” (สะ) แปลว่า “ของตน” + = สก (สะ-กะ) คงแปลว่า “ของตน” (own) เท่าเดิม

(๒) “ปรก” อ่านว่า ปะ-ร-กะ รากศัพท์มาจาก ปร +

ปร” บาลีอ่านว่า ปะ-ระ รากศัพท์มาจาก (แทนศัพท์ หึสา = เบียดเบียน) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ

: + รมฺ = ปรมฺ + กฺวิ = ปรมกฺวิ > ปรม > ปร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยินดีในการเบียดเบียน” ในที่นี้หมายถึง –

(1) อีกอันหนึ่ง, อื่นอีก, อื่น (another, other)

(2) ศัตรู, ปรปักษ์ (enemies, opponents)

ปร + สกรรถ = ปรก แปลว่า ฝ่ายอื่น หรือ ของฝ่ายอื่น

สก + ปรก = สกปรก แปลว่า “ของตนและของคนอื่น

ดังนั้น ชื่อ “สกปรกปกรณ์” ดังกล่าวข้างต้น จึงมีความหมายว่า คัมภีร์หรือตำรา (อันกล่าวถึงใดเรื่องหนึ่ง) ทั้งของฝ่ายตนและของฝ่ายอื่น แปลแบบอนุรักษนิยมก็ว่า “ปกรณ์ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายเทศ” นั่นเอง

…………..

คำว่า “สกปรก” เป็นคำที่ให้แง่คิด ดังคำประพันธ์ของท่าน ฟ.ฮีแลร์ (F. Hilaire) ที่ว่า –

สองคนยลตามช่อง

คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม

อีกคนตาแหลมคน

เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย

สรุปว่า มองแค่ไหนก็เห็นแค่นั้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ไม่จำเป็นต้องมองให้เห็นความชั่ว

: ไม่จำเป็นต้องมองให้เห็นความดี

: แต่จงมองให้เห็นความจริง

18-3-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย