บาลีวันละคำ

พยัญชนะ (บาลีวันละคำ 986)

พยัญชนะ

ภาษาไทยอ่านว่า พะ-ยัน-ชะ-นะ

บาลีเป็น “พฺยญฺชน

โปรดสังเกตว่ามีจุดใต้ พฺ บังคับให้ พฺ กับ ต้องอ่านควบกัน

ออกเสียงว่า เพียน-ชะ-นะ จะได้เสียงที่ตรง

อีกรูปหนึ่งเป็น “วฺยญฺชน” (เวียน-ชะ-นะ)

วฺ แปลงเป็น พฺ เป็นหลักเกณฑ์ที่พบได้เสมอ เช่น :

วิเศษ > พิเศษ

วิจารณ์ > พิจารณ์

เวลา > เพ-ลา

ดังนั้น : วฺยญฺชน > พฺยญฺชน

พฺยญฺชน” รากศัพท์มาจาก –

(1) วิ (วิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + อญฺช (ธาตุ = ไป, ถึง) + ยุ ปัจจัย, แปลง อิ (ที่ วิ) เป็น , เป็น , ยุ เป็น อน

: วิ > วฺย + อญฺช = วฺยญฺช + ยุ > อน = วฺยญฺชน > พฺยญฺชน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องให้ถึงภัตโดยพิเศษ” (คือทำให้รู้รสชาติอาหาร หรือช่วยให้กินอาหารได้อย่างออกรส) หมายถึง เครื่องปรุง, แกง, กับข้าว (condiment, curry)

พฺยญฺชน ในความหมายนี้มักมาคู่กับ “สูป” (สู-ปะ) คือ น้ำเนื้อต้ม, ซุป, แกง (broth, soup, curry)

ตามความเข้าใจทั่วไป สูป กับ พฺยญฺชน เมื่อพูดควบคู่กัน จะแยกความหมายกันชัดเจน คือ :

สูป” หมายถึง กับข้าวชนิดที่เป็นน้ำ ( = น้ำๆ)

พฺยญฺชน” หมายถึง กับข้าวชนิดที่ไม่เป็นน้ำ ( = แห้งๆ)

(2) วิ (วิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + อญฺช (ธาตุ = ประกาศ) + ยุ ปัจจัย, แปลง อิ (ที่ วิ) เป็น , เป็น , ยุ เป็น อน

: วิ > วฺย + อญฺช = วฺยญฺช + ยุ > อน = วฺยญฺชน > พฺยญฺชน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ประกาศความหมาย

พฺยญฺชน ตามรากศัพท์ข้อนี้ มีความหมายดังนี้ :

(1) ตัวหนังสือ (letter)

ความหมายนี้มักมาคู่กับ “อตฺถ” > อรรถะ (อัด-ถะ) ซึ่งแปลว่า เนื้อความ, ความหมาย, ความสำคัญ, การหมายถึง (sense, meaning, import (of a word), denotation, signification) เช่นในคำว่า –

– แปล “โดยพยัญชนะ” (according to the letter, by letter, orthographically)

– แปล “โดยอรรถ” (according to its meaning, by the correct sense)

(2) เครื่องบ่งชี้, เครื่องหมาย, คุณลักษณะติดตัว, เครื่องหมายเฉพาะ, ลักษณะพิเศษ (sign, mark, accompanying attribute, distinctive mark, characteristic), เครื่องหมายเพศ เช่น –

ปุริสวฺยญฺชน = อวัยวะเพศของบุรุษ (membrum virile)

อุภโตพฺยญฺชนก = มีลักษณะของทั้งสองเพศ, กะเทย (having the characteristics of both sexes, hermaphrodite)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ อนึ่ง ความหมายของคำไทยบางคำโปรดเทียบเคียงกับคำอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน)

วฺยญฺชน : (คำนาม) ‘วยัญชน, พยัญชนะ,’ เครื่องหมาย; ลักษณะ, ลิงค์หรือเครื่องหมายบอกลักษณะ; เครา; ส่วน- ภาค- หรือองค์ที่ลับ; อุปสกร, เครื่องชูรสอาหาร (ได้แก่-น้ำสอซ, น้ำปลา, น้ำพริก, ฯลฯ); อักษรตัวหนึ่งในหมวดพยัญชนะ (อันมิใช่สระ); สาลังการพจน์หรืออุปมาโวหาร; บริภาษณ์; a token; an insignia; the beard; A privy part; sauce or condiment; a consonant; a figurative expression; an irony, a sarcasm.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “พยัญชนะ” ไว้ว่า –

(1) เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและคอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับเสียงสระ, เสียงพยัญชนะ ก็เรียก.

(2) ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะ เช่น ก ข, รูปพยัญชนะ ก็เรียก, ตัวหนังสือ เช่น แปลโดยพยัญชนะ.

(3) กับข้าวที่ไม่ใช่แกง, คู่กับ สูปะ ซึ่งหมายถึง แกง. (ป. พฺยญฺชน, วฺยญฺชน; ส. วฺยญฺชน).

(4) ลักษณะของร่างกาย.

สรุปว่า “พยัญชนะ” ไม่ได้หมายถึงตัวหนังสืออย่างเดียวดังที่เรามักคุ้นกัน

: รูปสวย แต่นิสัยทราม

: เหมือนพยัญชนะงามๆ แต่บรรยายความเท็จ

————–

(ตามคำรบกวนของ Ekkalak Max)

#บาลีวันละคำ (986)

29-1-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *