บาลีวันละคำ

สมัชชามหาคณิสสร (บาลีวันละคำ 985)

สมัชชามหาคณิสสร

คำที่ใช้ในแวด-วงคณะสงฆ์

อ่านว่า สะ-มัด-ชา-มะ-หา-คะ-นิด-สอน

ประกอบด้วยคำว่า สมัชชา + มหา + คณ (หรือ คณี) + อิสสร

(๑) “สมัชชา

บาลีเป็น “สมชฺชา” (สะ-มัด-ชา) รากศัพท์มาจาก สํ (พร้อมกัน, รวมกัน) + อชฺ (ธาตุ = ไป) + ปัจจัย, แปลงนิคหิต (ที่ สํ) เป็น , ซ้อน + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สํ > สม + อชฺ = สมช + = สมชฺช + อา = สมชฺชา แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ไปรวมกัน

ความหมายเดิมของ “สมชฺชา” หมายถึง งานชุมนุม, งานออกร้าน; งานแสดง, การแสดงมหรสพ (a festive gathering, fair; a show, theatrical display) ต่อมาจึงขยายความหมายเป็น การชุมนุมกัน, การรวมกัน, การร่วมงานกัน (แม้จะไม่มีการแสดงอะไรก็ตาม) (congregation, gathering, company)

ความหมายที่เข้าใจกันคือ ที่ประชุม, การประชุม, สภา, ชมรม

(๒) “มหา

คำเดิม “มหนฺต” (มะ-หัน-ตะ) เปลี่ยนรูปตามกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์เป็น “มหา” แปลว่า ใหญ่, ยิ่งใหญ่, กว้างขวาง, โต, สำคัญ, เป็นที่นับถือ บางทีใช้ในความหมายว่า “มาก

(๓) “คณ” (คะ-นะ)

รากศัพท์มาจาก คณ (ธาตุ = นับ) + ปัจจัย แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนย่อยที่นับรวมกัน

(1) เมื่อใช้คำเดียว หมายถึง กลุ่มคน, ฝูงชน, คนจำนวนมากมาย (a crowd, a multitude, a great many)

(2) เมื่อใช้เป็นส่วนท้ายคำสมาส หมายถึงการรวมเป็นหมู่ของสิ่งนั้นๆ (a collection of) กล่าวคือ กลุ่ม, ฝูงชน, มวล; ฝูง, ฝูงสัตว์; โขลง, หมู่, การรวมกันเป็นหมู่ (a multitude, mass; flock, herd; host, group, cluster)

คณ + อี = คณี แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีคณะ” หมายถึง เจ้าหมู่, เจ้าคณะ, หัวหน้าคณะ, ผู้มีศิษย์มาก, อาจารย์ผู้มีคณะศิษย์เป็นบริวารจำนวนมาก (one who has a host of followers, a teacher who has a large attendance of disciples)

มหา + คณ = มหาคณ แปลว่า “คณะใหญ่” หมายถึง ผู้คนจำนวนมาก, ผู้มารวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก (a great crowd or community)

มหา + คณี = มหาคณี แปลว่า “เจ้าคณะใหญ่” หมายถึง ผู้ที่มีบริวารเป็นจำนวนมาก (one who has a large attendance of disciples)

(๔) “อิสสร

ภาษาไทยใช้ว่า “อิสร-” ( ตัวเดียว) อ่านว่า อิด-สะ-หฺระ ในที่นี้รูปคำเป็น ส 2 ตัว คือ “-คณิสสร” (คณ + อิสสร หรือ คณี + อิสสร)

ปกติ “อิสสร” บาลีอ่านว่า อิด-สะ-ระ แต่เฉพาะในคำนี้อ่านว่า อิด-สอน

อิสสร” บาลีเขียน “อิสฺสร” (มีจุดใต้ สฺ ตัวแรก) รากศัพท์มาจาก –

(1) อิ (อิฏฺฐ = น่าปรารถนา) + ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + อร ปัจจัย, แปลง ภู เป็น , ซ้อน

: อิ + ภู > = อิส + = อิสฺส + อร = อิสฺสร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็น คือผู้ไปเกิดในภูมิที่น่าปรารถนา” (อยู่ในสถานะนั้น ปรารถนาอะไรก็ได้ดังปรารถนา)

(2) อิสฺสฺ (ธาตุ = เป็นใหญ่) + อร ปัจจัย

: อิสฺส + อร = อิสฺสร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นใหญ่

(3) อีสฺ (ธาตุ = ครอบงำ) + อร ปัจจัย, ซ้อน , รัสสะ อี (ที่ อีสฺ) เป็น อิ

: อีสฺ > อิส + = อิสฺส + อร = อิสฺสร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ครอบงำ” (หมายถึงผู้ปกครอง)

อิสฺสร” (คำเดียวกับที่เขียนอิงสันสกฤตเป็น “อิศวร”) ความหมายที่เข้าใจกันคือ ผู้เป็นเจ้า, ผู้ปกครอง, ผู้เป็นนาย, ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า

มหาคณ + อิสสร = มหาคณิสสร แปลว่า “ผู้เป็นใหญ่แห่งคณะใหญ่” = มีคณะใหญ่ แล้วก็มีผู้มาเป็นใหญ่เหนือคณะใหญ่นั้น

แต่ถ้าเป็น มหาคณี + อิสสร = มหาคณิสสร แปลได้ 2 ความหมาย คือ –

(1) “ผู้เป็นเจ้าคณะใหญ่และผู้เป็นใหญ่” = เป็นเจ้าคณะใหญ่ด้วย เป็นใหญ่ด้วย (สองสถานะ)

(2) “ผู้เป็นใหญ่แห่งเจ้าคณะใหญ่” = มีคณะใหญ่ มีผู้เป็นเจ้าคณะใหญ่นั้น แล้วก็มีผู้มาเป็นใหญ่เหนือเจ้าคณะใหญ่นั้นอีกชั้นหนึ่ง (สถานะเดียว)

สมัชชา + มหาคณิสสร = สมัชชามหาคณิสสร จึงหมายถึง ที่ประชุมหรือสภาแห่งมหาคณิสสร

————

ข้อมูลเบื้องต้น :

(๑) “สมัชชามหาคณิสสร” เป็นคณะกรรมการบริหารงานคณะสงฆ์ไทยฝ่ายมหานิกายของพระภิกษุสงฆ์ไทยที่อยูในประเทศและพระธรรมทูตฝ่ายมหานิกายที่ปฏิบัติศาสนกิจอยู่ต่างประเทศ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ทรงเป็นผู้ก่อตั้ง เมื่อ 27 มีนาคม 2516

(๒) คำว่า “มหาคณิสสร” พบว่าใช้เป็นสร้อยนามพระราชาคณะตั้งแต่ชั้น “ราช” ขึ้นไป (ขณะเขียนคำนี้ยังไม่ได้ตรวจสอบว่าพระราชาคณะชั้นสามัญ มีสร้อยนามว่า “มหาคณิสสร” หรือเปล่า-โปรดใช้วิจารณญาณ) สร้อยนามนี้จะใช้ควบกันเป็นชุด คือ

“… มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี (หรือ-อรัญวาสี)…”

สันนิษฐาน :

อาจเป็นไปได้ว่า การก่อตั้ง “สมัชชามหาคณิสสร” นั้น ความประสงค์ก็คือจะให้เป็นที่ชุมนุมของบรรดาพระราชาคณะ (ชั้นผู้ใหญ่) เพื่อจะได้มีช่องทางแสดงความคิดเห็น ความรู้ และความสามารถในการบริหารงานพระศาสนานั่นเอง

: ถ้าเป็นใหญ่เหนือตน

: ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องใครเป็นใหญ่เหนือใคร

———

(หยิบคำมาจากโพสต์ของ Post Hotnews)

#บาลีวันละคำ (985)

28-1-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *