บาลีวันละคำ

รุกขมูล (บาลีวันละคำ 994)

รุกขมูล

อ่านว่า รุก-ขะ-มูน

บาลีเป็น “รุกฺขมูล” อ่านว่า รุก-ขะ-มู-ละ

ประกอบด้วย รุกฺข + มูล

(๑) “รุกฺข” (รุก-ขะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) รุกฺข (ธาตุ = ป้องกัน, ปิดกั้น) + ปัจจัย

: รุกฺข + = รุกฺข แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ป้องกัน” (คือป้องกันแดดได้)

(2) รุหฺ (ธาตุ = เกิด) + ปัจจัย, แปลง เป็น

: รุหฺ > รุก + = รุกฺข แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เกิดขึ้นบนแผ่นดิน

รุกฺข” หมายถึง ต้นไม้

รุกฺข” สันสกฤตเป็น “วฺฤกฺษ” ภาษาไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “พฤกษ์

(๒) “มูล” (มู-ละ) แปลตามรากศัพท์ว่า “ส่วนอันเป็นที่ตั้ง” “ส่วนเป็นเหตุงอกขึ้นแห่งต้นไม้” “ส่วนที่แม้จะถูกตัดไปแล้วก็งอกขึ้นอีกได้ทางส่วนที่มิได้ถูกตัด

มูล” ในภาษาลีมีความหมายดังนี้ :

(1) รากไม้ (root)

(2) โคน, ก้น (foot, bottom)

(3) หลักฐาน, เหตุผล, สาเหตุ, เงื่อนไข (ground for, reason, cause, condition)

(4) กำเนิด, บ่อเกิด, พื้นฐาน, รากฐาน (origin, source, foundation, root)

(5) ปฐม, เริ่มแรก, ฐาน, เค้าความเดิม, เรื่องเดิม (beginning, base)

(6) แก่นสาร, มูลฐาน, ค่า, เงิน, ต้นทุน, ราคา, สินจ้าง (substance, foundation, worth, money, capital, price, remuneration)

ในที่นี้ “มูล” หมายถึง โคน (root)

ศัพท์ในชุดนี้มี 3 คำ คือ –

มูล = โคน (root)

มชฺฌิม = กลาง (เทียบกับต้นไม้คือลำต้น) (middle)

อุปริ = ปลาย หรือยอด (top, above)

รุกฺข + มูล = รุกฺขมูล > รุกขมูล แปลตรงตัวว่า “โคนไม้

ในภาษาไทย คำว่า “รุกขมูล” เป็นคำที่เรียกตัดมาจากคำว่า “รุกขมูลิกังคะ” ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติขัดเกลาแบบหนึ่งของ “ธุดงค์” คือการอาศัยโคนไม้เป็นที่อยู่ (tree-rootdweller’s practice)

เมื่อแรกมีผู้เข้ามาบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ที่พักอาศัยอันเป็นอาคารยังไม่มี ภิกษุในยุคต้นพุทธกาลจึงต้องอยู่ตามโคนไม้ ในถ้ำ เงื้อมเขา เป็นต้น ตามแต่จะหาได้ กาลต่อมาจึงมีผู้สร้างที่พักเป็นอาคารถวายให้เป็นที่อยู่ แม้กระนั้นภิกษุบางรูปก็ยังพอใจที่จะพักอาศัยตามโคนไม้ เพื่อขัดเกลาไม่ให้ติดในที่อยู่อันสะดวกสบาย เป็นที่มาของการถือธุดงค์ข้อหนึ่ง

คนเก่าๆ เมื่อเห็นพระที่ถือธุดงค์ มักเรียกรวมๆ ว่า “พระรุกขมูล” ก็มี

รุกขมูล” เป็นเพียงหนึ่งในวิธีปฏิบัติธุดงค์เท่านั้น ไม่ใช่ว่าถือธุดงค์ข้อไหนๆ ก็เรียกว่า “พระรุกขมูล

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) รุกขมูล : (คำนาม) โคนต้นไม้, เรียกพระที่ถือธุดงค์อยู่โคนไม้ว่า พระรุกขมูล.

(2) รุกขมูลิกธุดงค์ [-มูลิกะ-] : (คำนาม) ธุดงค์อย่าง ๑ ใน ๑๓ อย่าง ที่ภิกษุจะต้องสมาทานว่าจะอยู่โคนต้นไม้เป็นประจํา. (ป. รุกฺขมูลิกธูตงฺค).

: ตัดกิเลสไม่ขาด อยู่ปราสาทก็เหมือนนอนกองไฟ

: กิเลาเบาบางจากใจ อยู่โคนไม้ก็สุขปานวิมาน

#บาลีวันละคำ (994)

6-2-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *