บาลีวันละคำ

เวฬุราชิณ (บาลีวันละคำ 1,764)

เวฬุราชิณ

บุญไม้ไผ่

อ่านว่า เว-ลุ-รา-ชิน

แยกศัพท์เป็น เวฬุ + ราช + อิณ

(๑) “เวฬุ

รากศัพท์มาจาก วิ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + อุ ปัจจัย, แปลง อิ ที่ วิ เป็น เอ (วิ > เว), ลง อาคม

: วิ > เว + = เวฬ + อุ = เวฬุ แปลตามศัพท์ว่า “ต้นไม้ที่เป็นไปทั่วไป” (คือเกิดขึ้นและมีอยู่ทั่วไป) หมายถึง ไม้ไผ่ (a bamboo)

(๒) “ราช

บาลีอ่านว่า รา-ชะ แปลตามรากศัพท์ว่า –

(1) “ผู้รุ่งเรืองโดยยิ่งเพราะมีเดชานุภาพมาก

ความหมายนี้ประกอบขึ้นจาก ราชฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + (ปัจจัย) = ราช

หมายความว่า ผู้เป็นพระราชาย่อมมีเดชานุภาพมากกว่าคนทั้งหลาย

(2) “ผู้ยังคนทั้งหลายให้ยินดี

ความหมายนี้ประกอบขึ้นจาก รญฺชฺ (ธาตุ = ยินดี พอใจ) + (ปัจจัย) ลบ ลบ ญฺ แผลง เป็น รา = ราช

หมายความว่า เป็นผู้อำนวยความสุขให้ทวยราษฎร์ จนคนทั้งหลายร้องออกมาว่า “ราชา ราชา” (พอใจ พอใจ)

ราช” หมายถึง พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน ใช้นำหน้าคำให้มีความหมายว่า เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน, เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน หรือเป็นของหลวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ราช ๑, ราช– : (คำนาม) พระเจ้าแผ่นดิน, พญา (ใช้แก่สัตว์) เช่น นาคราช คือ พญานาค สีหราช คือ พญาราชสีห์, คํานี้มักใช้ประกอบกับคําอื่น, ถ้าคําเดียวมักใช้ว่า ราชา.”

(๓) “อิณ

บาลีอ่านว่า อิ-นะ รากศัพท์มาจาก –

(1) อิ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แปลง เป็น

: อิ + ยุ > อน = อิน > อิณ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ถึงความงอกงาม” (คือมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น)

(2) อิณฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย

: อิณฺ + = อิณ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ถึงความงอกงาม

อิณ” หมายถึง หนี้ (debt)

การประสมคำ:

ราช + อิณ = ราชิณ แปลว่า “หนี้อันจะต้องชำระให้แก่พระราชา” คือ หนี้หลวง (เป็นหนี้หลวง ไม่ใช่หลวงเป็นหนี้)

เวฬุ + ราชิณ = เวฬราชิณ แปลว่า “ไม้ไผ่อันเป็นหนี้หลวง” หรือ “หนี้หลวงอันเป็นราคาของไม้ไผ่” หมายถึง รายได้ของแผ่นดินอันเกิดจากการซื้อขายไม้ไผ่

…………..

เวฬุราชิณ” เป็นชื่อพระอารามหลวงแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ถนนเทอดไท แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เจ้าพระยาพลเทพ (เอี่ยม ต้นสกุล ชูโต) เป็นผู้สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนปลายรัชกาลที่ 3 โดยนำเงินค่าภาษีไม้ไผ่สีสุกที่ท่านเป็นเจ้าภาษีรับสัมปทานผูกขาดการเก็บอยู่มาใช้เป็นค่าสร้างวัด

เมื่อแรกสร้างเรียกชื่อวัดตามสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งวัดซึ่งเป็นคุ้งน้ำใหญ่ในคลองบางกอกใหญ่ว่า “วัดใหม่ท้องคุ้ง” สร้างเสร็จบริบูรณ์ในต้นรัชกาลที่ 4 เจ้าพระยาพลเทพจึงน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเวฬุราชิน” ตามปฐมเหตุของการสร้างวัด แปลความหมายได้ว่า “วัดซึ่งเกิดจากหนี้ (ภาษี) ไม้ไผ่ของพระราชา

(ข้อมูล: Details Category: จารึกถิ่นจาริก Hits: 3613)

…………..

ดูก่อนภราดา!

: สังสารวัฏเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของมนุษย์

: ไม่คิดจะขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์ เมื่อไรจะหลุดเป็นไท?

5-4-60