บาลีวันละคำ

พุทธภูมิ [2] (บาลีวันละคำ 1,789)

พุทธภูมิ [2]

ถึงอินเดีย แต่ยังไม่ถึงพุทธภูมิ

อ่านว่า พุด-ทะ-พูม

แยกศัพท์เป็น พุทธ + ภูมิ

(๑) “พุทธ

บาลีเขียน “พุทฺธ” (มีจุดใต้ ทฺ) อ่านว่า พุด-ทะ รากศัพท์มาจาก พุธฺ (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย, แปลง ธฺ ที่สุดธาตุเป็น ทฺ, แปลง เป็น ธฺ (นัยหนึ่งว่า แปลง ธฺ ที่สุดธาตุกับ เป็น ทฺธ)

: พุธฺ + = พุธฺต > พุทฺต > พุทฺธ (พุธฺ + = พุธฺต > พุทฺธ) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้ทุกอย่างที่ควรรู้

พุทฺธ” แปลตามศัพท์ได้เกือบ 20 ความหมาย แต่ที่เข้าใจกันทั่วไปมักแปลว่า –

(1) ผู้รู้ = รู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง

(2) ผู้ตื่น = ตื่นจากกิเลสนิทรา ความหลับไหลงมงาย

(3) ผู้เบิกบาน = บริสุทธิ์ผ่องใสเต็มที่

ความหมายที่เข้าใจกันเป็นสามัญ หมายถึง “พระพุทธเจ้า

(๒) “ภูมิ

บาลีอ่านว่า พู-มิ รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + มิ ปัจจัย

: ภู + มิ = ภูมิ แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่มีอยู่เป็นอยู่แห่งสัตว์โลก” มีความหมายหลายอย่าง กล่าวคือ พื้นดิน, ดิน, แผ่นดิน, สถานที่, ถิ่น, แคว้น, แถบ, ภูมิภาค, พื้น, พื้นราบ, ขั้นตอน, ระดับ (ground, soil, earth, place, quarter, district, region, plane, stage, level)

ในภาษาไทยใช้ทับศัพท์ว่า “ภูมิ” เหมือนบาลี ถ้าอยู่ท้ายคำอ่านว่า พูม ถ้ามีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย อ่านว่า พู-มิ-

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของคำว่า “ภูมิ” ในภาษาไทยไว้ว่า แผ่นดิน, ที่ดิน; พื้น, ชั้น, พื้นเพ; ความรู้; สง่า, โอ่โถง, องอาจ, ผึ่งผาย

พุทฺธ + ภูมิ = พุทฺธภูมิ (พุด-ทะ-พู-มิ) เขียนแบบไทยเป็น “พุทธภูมิ” (พุด-ทะ-พูม) แปลทับศัพท์ว่า “ภูมิแห่งพระพุทธเจ้า” หรือ “ภาวะแห่งพระพุทธเจ้า

พุทธภูมิ” ตามความหมายในคัมภีร์ คือ การได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เช่นคำที่พูดว่า “ปรารถนาพุทธภูมิ” หมายถึงปรารถนาที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

ปัจจุบันเมื่อพูดว่า “พุทธภูมิ” จะไม่มีใครเข้าใจว่าอีกแล้วว่าหมายถึง “การได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า” เนื่องจากมีผู้ใช้คำว่า “พุทธภูมิ” ในความหมายว่า “แผ่นดินของพระพุทธเจ้า” หรือ “ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา” และหมายถึงประเทศอินเดียอันเป็นดินแดนต้นกำเนิดพระพุทธศาสนา ดังที่นิยมพูดกันว่า “ท่องแดนพุทธภูมิ” ในความหมายว่าเที่ยวไปในประเทศอินเดีย

ความจริง ถ้าจะหมายถึง “แผ่นดินของพระพุทธเจ้า” น่าจะใช้คำว่า “ชาติภูมิ” (ชาด-ติ-พูม) หรือ “มาตุภูมิ” (มา-ตุ-พูม)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ชาติภูมิ : (คำนาม) ถิ่นที่เกิด.”

มาตุภูมิ : (คำนาม) บ้านเกิดเมืองนอน.”

แต่ถ้าใช้คำว่า “พุทธชาติภูมิ” หรือ “พุทธมาตุภูมิ” ก็จะฟังดูยืดยาด ไม่กระชับเหมือน “พุทธภูมิ

ผู้ใช้คำว่า “พุทธภูมิ” อาจไม่ทันได้คิดหรืออาจจะไม่ทราบถึงความหมายเดิมของคำว่า “พุทธภูมิ” เห็นว่ารูปคำฟังดูดีและมีความหมายตรงตามที่ต้องการในภาษาไทย จึงใช้คำนี้

ต่อไปเมื่อคนติดความหมายของ “พุทธภูมิ” ว่าคือ “แผ่นดินของพระพุทธเจ้า” หรือ “ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา” กันมากเข้า ถ้าใครใช้คำว่า “พุทธภูมิ” ในความหมายเดิม คือ “ภาวะแห่งพระพุทธเจ้า” หรือการได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก็อาจจะถูกมองว่าใช้คำผิดความหมาย เพราะคนส่วนมากไม่เข้าใจความหมายเดิม

คำผิดกลายเป็นถูก และคำถูกกลายเป็นผิด จึงเกิดมีขึ้นได้ด้วยประการฉะนี้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: บัณฑิตย่อมไม่เห็นว่าบุญเป็นบาป

: แม้ชาวโลกจะถูกสาปให้เห็นว่าบาปเป็นบุญ

2-5-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย