บาลีวันละคำ

ปารคู (บาลีวันละคำ 1,858)

ปารคู

ไม่นึกว่าจะมี ก็มีในพจนานุกรม

อ่านว่า ปา-ระ-คู

ถ้าแยกเป็น 2 คำ ก็คือ ปาร + –คู

(๑) “ปาร” (ปา-ระ)

รากศัพท์มาจาก ปารฺ (ธาตุ = ไป, ถึง; อาจ, สามารถ) + ปัจจัย

: ปารฺ + = ปาร แปลตามศัพท์ว่า (1) “ที่อันเรือเป็นต้นถึง” (หมายถึงฝั่ง) (2) “สภาวะที่สามารถดับความเร่าร้อนเพราะทุกข์ในสงสารได้” (หมายถึงพระนิพพาน)

ปาร” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) (คำนาม. นปุงสกลิงค์) อีกข้างหนึ่ง, ฝั่งตรงกันข้าม the other side, the opposite shore)

2 (กริยาวิเศษณ์) ทางโน้น, โพ้น, อีกข้างหนึ่ง, ข้ามไป (beyond, over, across)

3. (คุณศัพท์) อีกอย่างหนึ่ง, อีกอันหนึ่ง (another)

บาลี “ปาร” สันสกฤตก็เป็น “ปาร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “ปาร” ในสันสกฤตไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ปาร : (คำนาม) ฝั่งหรือฟากข้างโน้น; อวสาน, ที่สุด, ปลายสุด, เขตต์สุด; ปรอท; น้ำมาก; เชือกล่ามเท้าช้าง; โอ่งน้ำลูกเล็กๆ, ไหใส่น้ำ; เรณูของผกา; บานภาชน์, ถ้วย, ถ้วยแก้ว; ถังนม; the further or opposite bank of a river; the end, the last, the extremity; quicksilver; a quantity of water; a rope for tying an elephant’s feet; a small water-jar; the pollen of a flower; a drinking-vessel, a cup, a glass; a milk-pail.”

(๒) “-คู” รากศัพท์มาจาก คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + รู ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (คมฺ > ) และ “ลบ ร อนุพันธ์” คือพยัญชนะ ที่ควบอยู่กับ อู ( + อู = รู : รู > อู)

: คมฺ > + รู > อู : + อู = คู แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ถึง-”

พึงทราบว่านี่เป็นการแยกคำ ปาร + –คู ให้เห็นชัดๆ เท่านั้น เวลาสร้างรูปคำจริง ไม่แยกทีละศัพท์แบบนี้ แต่จะแสดงรวมกันเป็น ปาร (ฝั่ง) +

คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + รู ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (คมฺ > ) และ “ลบ ร อนุพันธ์” คือพยัญชนะ ที่ควบอยู่กับ อู ( + อู = รู : รู > อู)

: ปาร + คมฺ = ปารคมฺ > ปารค + รู > อู : ปารค + อู = ปารคู แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ถึงซึ่งฝั่ง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปารคู” ดังนี้ –

(1) gone beyond, passed, transcended, crossed (ข้ามพ้น, ผ่านไปแล้ว, ลุล่วง, ชนะ, ข้ามแล้ว)

(2) gone to the end of, reached perfection in, well-versed in, familiar with, an authority on (ไปถึงที่สุดของ-, บรรลุถึงความเป็นเลิศ, ชำนาญ, ช่ำชอง, คุ้นเคย, ผู้รู้ในเรื่อง-)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปารคู : (คำนาม) ผู้ถึงฝั่ง คือผู้เรียนวิชาจบ ได้แก่ พราหมณ์ผู้เรียนจบไตรเพท หรือพระขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์. (ป.).”

…………..

ข้อสังเกต :

อาจพูดเป็นสำนวนได้ว่า คำว่า “ปารคู” นี้ ร้อยวันพันปีคนไทยไม่เคยใช้พูด ไม่เคยรู้จัก แต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานก็เก็บคำนี้ไว้

คำบางคำคนไทยใช้พูดกันอยู่เป็นประจำ เช่น “ธรรมสวนะ” (ทำ-มะ-สะ-วะ-นะ) แปลว่า ฟังธรรม เช่นในคำว่า “วันธรรมสวนะ” คือวันฟังธรรม และเป็นที่รู้กันว่าคือวันพระ

แต่คำว่า “ธรรมสวนะ” หรือ “วันธรรมสวนะ” ไม่มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

และเป็นที่คาดเดาได้ว่า เมื่อใดก็ตามที่มีการชำระปรับปรุงพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานในอนาคต คำว่า “ธรรมสวนะ” หรือ “วันธรรมสวนะ” ก็จะยังคงไม่มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอยู่นั่นเอง

แปลว่าพจนานุกรมฯ ยังไปไม่ถึงฝั่ง หรือไม่ก็แปลว่าโลกนี้ยังมีอะไรที่เราเข้าใจไม่ได้อยู่อีกมาก

…………..

ดูก่อนภราดา!

: โลกนี้เป็นเพียงทางผ่าน

: พระอมฤตนฤพานเป็นจุดหมายปลายทาง

11-7-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย