บาลีวันละคำ

กายกรรม (บาลีวันละคำ 1,915)

กายกรรม

อ่านว่า กาย-ยะ-กำ

แยกคำเป็น กาย + กรรม

(๑) “กาย

บาลีอ่านว่า กา-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) กุ (สิ่งที่น่ารังเกียจ, สิ่งที่น่าเกลียด) + อาย (ที่มา, ที่เกิดขึ้น), “ลบสระหน้า” คือ อุ ที่ กุ (กุ > )

: กุ > + อาย = กาย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เกิดขึ้นของสิ่งที่น่ารังเกียจทั้งหลาย

(2) (อวัยวะ) + อายฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป), + ปัจจัย

: + อายฺ = กายฺ + = กาย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่เป็นไปแห่งอวัยวะทั้งหลาย

(3) กาย (ร่างกาย) + ปัจจัย, ลบ

: กาย + = กายณ > กาย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เกิดขึ้นแห่งส่วนย่อยทั้งหลายเหมือนร่างกาย” (คือร่างกายเป็นที่รวมแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ฉันใด “สิ่งนั้น” ก็เป็นที่รวมอยู่แห่งส่วนย่อยทั้งหลายฉันนั้น)

กาย” (ปุงลิงค์) หมายถึง ร่างกาย; กลุ่ม, กอง, จำนวนที่รวมกัน, การรวมเข้าด้วยกัน, ที่ชุมนุม (body; group, heap, collection, aggregate, assembly)

(๒) “กรรม

บาลีเขียน “กมฺม” (กำ-มะ) สันสกฤตเป็น “กรฺม” ไทยเขียนอิงสันสกฤตและนิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

กรรม” ในแง่ภาษา –

1- รากศัพท์คือ กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย)

2- ลบ รฺ ที่ธาตุ : กรฺ = ก- และ ที่ปัจจัย : รมฺม = -มฺม

3- กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม

4- แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำ” “สิ่งที่ทำ” (the doing, deed, work)

กรรม” ในแง่ความหมาย –

1- การกระทำทั้งปวง เรียกว่า กรรม

2- การถูกทำ, สิ่งที่ถูกทำ, ผลของการกระทำ ก็เรียกว่า กรรม

3- การทำกิจการงาน, การประกอบอาชีพ ก็เรียกว่า กรรม

4- พิธีกรรม, พิธีการต่างๆ ก็เรียกว่า กรรม

กรรม” ในแง่ความเข้าใจ –

1- กฎแห่งกรรม คือ “ทำดี-ดี ทำชั่ว-ชั่ว ดุจปลูกพืชชนิดใด ต้องเกิดผลดอกใบของพืชชนิดนั้น

2- กรรมมี 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นผล คือสภาพทั้งปวงที่เรากำลังเผชิญหรือประสบอยู่ และส่วนที่เป็นเหตุ คือสิ่งที่เรากำลังกระทำอยู่ในบัดนี้ ซึ่งจะก่อให้เกิดส่วนที่เป็นผลในลำดับต่อไป (ผู้ที่ไม่เข้าใจ เมื่อมอง “กรรม” มักเห็นแต่ส่วนที่เป็นผล แต่ไม่เห็นส่วนที่เป็นเหตุ)

3- กรรม เป็นสัจธรรม ไม่ขึ้นกับความเชื่อหรือความเข้าใจของใคร ไม่ว่าใครจะเชื่ออย่างไรหรือไม่เชื่ออย่างไร กรรมก็เป็นจริงอย่างที่กรรมเป็น

กาย + กมฺม = กายกมฺม แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำทางกาย” (bodily action) หมายถึง การกระทำด้วยร่างกาย ในทางตรงข้ามกับการกระทำด้วยวาจาและใจ (deed performed by the body in contradistinction to deeds by speech or thought)

กายกมฺม” ใช้ในภาษาไทยเป็น “กายกรรม

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกความหมายของ “กายกรรม” ในภาษาอังกฤษว่า –

กายกรรม (Kāyakamma) : bodily action; actions performed by the body.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “กายกรรม” ในภาษาไทย ไว้ว่า –

กายกรรม : (คำนาม) การทําทางกาย; การดัดตนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง, การเล่นห้อยโหนโยนตัวเป็นต้น. (ส. กาย + กรฺม; ป. กาย + กมฺม).”

…………..

ขยายความ:

ความหมายในทางธรรม “กายกรรม” หมายถึง การมีเจตนากระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย “กาย” คือ “การกระทำ” ซึ่งเป็นคนละอย่างกับคำพูดหรือการนึกคิด

คำในชุดนี้มี ๓ คำ คือ –

(1) กายกรรม = กรรมที่ทำด้วย “การกระทำ” (bodily action)

(2) วจีกรรม = กรรมที่ทำด้วย “คำพูด” (verbal action)

(3) มโนกรรม = กรรมที่ทำด้วย “การคิด” (mental action)

แต่ในภาษาไทย เมื่อพูดว่า “กายกรรม” คนทั่วไปจะนึกถึงการเล่นห้อยโหนโยนตัวเพื่อให้คนดูรู้สึกหวาดเสียวตื่นเต้นอันเป็นการแสดงเพื่อความบันเทิงชนิดหนึ่ง หรือไม่ก็นึกถึงการดัดตนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงดังที่พจนานุกรมฯ ว่าไว้

กายกรรม” ในความหมายเช่นนั้นน่าจะตรงกับคำบาลีว่า “โมกฺขจิกา” (โมก-ขะ-จิ-กา) แปลตามศัพท์ว่า “การกลับตัวด้วยการปล่อยมือและเท้า

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “โมกฺขจิกา” ว่า tumbling, turning somersaults, an acrobatic feat (หกคะเมน, ตีลังกา, ท่ากายกรรมแปลก ๆ)

…………..

ร่างกายอ่อนแอหรือแข็งแรงเป็นเรื่องสำคัญ

แต่การใช้ร่างกายทำดีหรือทำชั่วสำคัญกว่า

ดูก่อนภราดา!

: สวรรค์ไม่เคยหวงห้ามคนที่ร่างกายซกมก

: นรกก็ไม่เคยปฏิเสธคนที่ร่างกายแข็งแรง

#บาลีวันละคำ (1,915)

6-9-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย