บาลีวันละคำ

กาลิงครัฐ (บาลีวันละคำ 2,098)

กาลิงครัฐ

แดนแห่งนักขอ

(คำในชุดนามานุกรมเวสสันดรชาดก)

อ่านว่า กา-ลิง-คะ-รัด

ประกอบด้วยคำว่า กาลิงค + รัฐ

(๑) “กาลิงค

บาลีเป็น “กาลิงฺค” (มีจุดใต้ ) รากศัพท์มาจาก –

(1) กลิงฺค + ปัจจัย

(ก) “กลิงฺค” รากศัพท์มาจาก กุ (ตัดมาจากคำว่า “กุจฺฉิต” = น่าเกลียด) + ลิงฺค (เพศ, ร่างกาย) แปลง อุ ที่ กุ เป็น อะ (กุ > )

: กุ + ลิงฺค = กุลิงฺค > กลิงฺค แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีร่างกายน่าเกลียดเพราะมีสีดำ

(ข) กลิงฺค + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะต้นศัพท์ คือ อะ ที่ -(ลิงฺค) เป็น อา (กลิงฺค > กาลิงฺค)

: กลิงฺค + = กลิงฺคณ > กลิงฺค > กาลิงฺค แปลตามศัพท์ว่า (1) “แคว้นเป็นที่อยู่ของเหล่าราชกุมารผิวดำ” (2) “แคว้นเป็นที่อยู่ของผู้มีเสียงไพเราะ

(2) กลึ (เสียงที่ไพเราะ) + คา (ธาตุ = ส่งเสียง) + ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ (ก)-ลึ เป็น งฺ (กลึ > กลิงฺ), ลบสระที่สุดธาตุ (คา > ), ทีฆะต้นศัพท์ คือ อะ ที่ -(ลิงฺค) เป็น อา (กลิงฺค > กาลิงฺค)

: กลึ + คา = กลึคา > กลิงฺคา > กลิงฺค + = กลิงฺค > กาลิงฺค แปลตามศัพท์ว่า “แคว้นที่ผู้คนขับร้องเสียงไพเราะ

(3) กลึ (เคราะห์ร้าย) + คหฺ (ธาตุ = ถือเอา) + กฺวิ ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ (ก)-ลึ เป็น งฺ (กลึ > กลิงฺ), ลบ หฺ สุดธาตุ (คหฺ > ) และ กฺวิ), ทีฆะต้นศัพท์ คือ อะ ที่ -(ลิงฺค) เป็น อา (กลิงฺค > กาลิงฺค)

: กลึ + คหฺ = กลึคหฺ > กลิงฺคหฺ + กฺวิ = กลิงฺคหฺกฺวิ > กลิงฺคห > > กลิงฺค > กาลิงฺค แปลตามศัพท์ว่า “แคว้นที่ผู้คนได้รับเคราะห์ร้ายจากทางเหนือ” (คือถูกรุกรานจากแคว้นทางเหนือ)

(4) (แทนศัพท์ว่า “สุข” = ความสุข) + ลิงฺคฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะต้นศัพท์ คือ อะ ที่ เป็น อา ( > กา)

: + ลิงฺคฺ = กลิงฺคฺ + = กลิงฺคณ > กลิงฺค > กาลิงฺค แปลตามศัพท์ว่า “แคว้นที่เป็นไปด้วยความสุข

(๒) “รัฐ

บาลีเป็น “รฏฺฐ” อ่านว่า รัด-ถะ รากศัพท์มาจาก –

(1) รฐฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง ฐต (คือ ที่ ร + ปัจจัย)เป็น ฏฐ ( –ฐต > –ฏฺฐ)

: รฐฺ + = รฐต > รฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “ดินแดนเป็นที่เป็นไปแห่งชาวเมือง

(2) รชิ (ธาตุ = เจาะ, ทำลาย) + ปัจจัย, ลบสระท้ายธาตุ (รชิ > รช), แปลง ชต เป็น ฏฐ

: รชิ > รช + = รชต > รฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “ดินแดนเป็นเหตุให้พระราชาทั้งหลายทำลายป้อมค่ายกัน” (ในการเข้ายื้อแย่งเพื่อยึดครองดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง)

รฏฺฐ” ความหมายที่เข้าใจกันก็คือ ดินแดน, อาณาจักร, ประเทศ, แผ่นดิน, บ้านเมือง

ในภาษาไทย ท่านให้ตัด ปฏัก ออก “รฏฺฐ” จึงเขียนเป็น“รัฐ” ถ้าอยู่ท้ายคำ อ่านว่า รัด (เคยมีนิยมพูดกันเป็น รัด-ถะ อยู่บ้าง) ถ้ามีคำอื่นมาสมาสข้างท้ายอ่านว่า รัด-ถะ- เช่นในคำว่า “รัฐบาล” อ่านว่า รัด-ถะ-บาน

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “รฏฺฐ” ว่า reign, kingdom, empire; country, realm (รัฐ, อาณาจักร, จักรวรรดิ, ประเทศ, แผ่นดิน)

กาลิงฺค + รฏฺฐ = กาลิงฺครฏฺฐ (กา-ลิง-คะ-รัด-ถะ) > กาลิงครัฐ (กา-ลิง-คะ-รัด)

กาลิงครัฐ” ในมหาเวสสันดรชาดก เป็นแคว้นที่อยู่ใกล้กับสีวิรัฐของพระเจ้ากรุงสญชัย และมัททรัฐแคว้นเดิมของพระนางผุสดีและพระนางมัทรี

เมื่อ “กาลิงครัฐ” หรือแคว้นกาลิงคะเกิดข้าวยากหมากแพง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ได้ส่งทูต 8 นายไปขอช้างปัจจัยนาคจากสีวิรัฐ เป็นเหตุให้พระเวสสันดรถูกขับออกจากเมือง

ชูชก ตัวละครสำคัญในมหาเวสสันดรชาดกก็เป็นชาวแคว้นกาลิงคะ

ชื่อ “กาลิงครัฐ” ใช้เป็น “กลิงครัฐ” หรือ “กลิงคะ” (กลิงค์) ก็มี ในร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกสะกดเป็น “กลิงคราษฐ์” ก็มี “กลิงคราฐ” ก็มี

…………

สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน มีคำว่า “กลิงค์” บอกไว้ดังนี้ –

กลิงค์ : ชื่อที่ใช้เรียกชนชาติทมิฬแห่งอินเดียภาคใต้ที่เข้ามามีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยและในเขตแคว้นมลายู ที่เรียกกันเป็นสามัญว่า แขกกลิงค์ ชาวกลิงค์เดิมหมายถึงชาวอินเดียที่มาจากแคว้นกลิงคราษฎร์ ทางสันนิษฐานว่า ชาวแคว้นนี้แต่เดิมคงอพยพมาอยู่ในเขตแคว้นมลายูก่อน แม้ภายหลังชาวทมิฬอพยพเข้ามาแทนที่เป็นจำนวนมาก แต่คำว่า กลิงค์ ยังติดอยู่ จึงเรียกชาวทมิฬที่มาอยู่ว่ากลิงค์ไปด้วย (ดู Hobson – Jobson คำ Kling) ในเขมรเรียกชาวอินเดียทั้งหมดว่า กลิงค์.

…………

สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน มีคำว่า “กลิงคราษฎร์” อีกคำหนึ่ง บอกไว้ดังนี้ –

กลิงคราษฎร์ : ชื่อแคว้นโบราณแคว้นหนึ่งในอินเดีย อยู่ถัดแคว้นโอริสสะ (Orissa) ลงไปทางใต้ตามแนวฝั่งทะเลระหว่างแม่น้ำมหานทีกับแม่น้ำโคทาวรี แคว้นนี้เรียกชื่อในทางปกครองว่า แคว้นศิรกานต์เหนือ (North Circar) ลางสมัยเคยรวมกับแคว้นโอริสสะ ลางสมัยก็แยกกัน แคว้น กลิงค์ หรือ กลิงคราษฎร์ มีชื่อปรากฏในวรรณคดีพุทธศาสนาอยู่บ่อยๆ ว่าเป็นประเทศเอกราชประเทศหนึ่ง เคยตกอยู่ในราชอาณาจักรพระเจ้าอโศกมหาราช กล่าวว่า พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเลื่อมใสพุทธศาสนาก็เนื่องจากที่ทรงปราบปรามแคว้นนี้สำเร็จ แต่ชีวิตมนุษย์ต้องตายไปเป็นอันมากเพราะด้วยภัยแห่งสงครามครั้งนี้ก็สลดพระราชหฤทัยมาก จึงทรงเปลี่ยนเป็นแสวงหาพระเกียรติคุณในทางธรรมของพระพุทธเจ้าแทนการเผยแผ่พระเดชานุภาพในทางแสนยาเหมือนเมื่อก่อน เมืองหลวงของแคว้นกลิงค์ขื่อ กลิงคนคร ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ภูวเนศวร.

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าท่านมีรูปงาม ท่านดีเพียงครึ่งเดียว

: แต่ถ้าท่านทำชั่ว ท่านชั่วหมดทั้งตัว

—————–

(คำในชุดนี้ได้ความคิดจากคำถามของ วงษ์ชนะ สุรเชษฐ์)

#บาลีวันละคำ (2,098)

11-3-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย