บาลีวันละคำ

โอษฐ์ (บาลีวันละคำ 2,122)

โอษฐ์

ไม่ใช่ “ปาก

อ่านว่า โอด

โอษฐ์” บาลีเป็น “โอฏฺฐ” (โอด-ถะ) รากศัพท์มาจาก

(1) อุสฺ (ธาตุ = เผา, เร่าร้อน) + ปัจจัย, แผลง อุ ที่ อุ-(สฺ) เป็น โอ (อุสฺ > โอส), แปลง สฺต (คือ สฺ ที่ อุสฺ และ ปัจจัย) เป็น ฏฺฐ

: อุสฺ + = อุสต > โอสฺต > โอฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะที่ถูกเผาโดยความร้อนในข้าวสุกเป็นต้น

(2) วสฺ (ธาตุ = ชอบ, รัก) + ปัจจัย, แผลง ที่ -(สฺ) เป็น โอ (วสฺ > โอส), แปลง สฺต (คือ สฺ ที่ วสฺ และ ปัจจัย) เป็น ฏฺฐ

: วสฺ + = วสต > โอสฺต > โอฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะที่ชอบข้าวสุกเป็นต้น

โอฏฺฐ” (ปุงลิงค์) หมายถึง ริมฝีปาก (the lip)

บาลี “โอฏฺฐ” สันสกฤตเป็น “โอษฺฐ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

โอษฺฐ : (คำนาม) ‘โอษฐ์,’ ริมฝีปากบน [ซึ่งตรงข้ามกับ ‘อธร,’ ริมฝีปากล่าง]; the upper lip [the opposite of ‘อธร,’ the lower lip].”

ในภาษาไทยใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “โอษฐ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โอษฐ-, โอษฐ์ : (คำนาม) ริมฝีปาก ในคำว่า โอษฐชะ, ราชาศัพท์ใช้ว่า ริมพระโอษฐ์; ปาก เช่น เอื้อนโอษฐ์, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระโอษฐ์. (ส.; ป. โอฏฺฐ).”

อภิปราย :

พจนานุกรมฯ บอกว่า “โอษฐ์” แปลว่า ริมฝีปาก ตรงตามความหมายในบาลีสันสกฤต

แต่พจนานุกรมฯ ยังบอกว่า “โอษฐ์” แปลว่า ปาก และราชาศัพท์ใช้ว่า พระโอษฐ์

ตรงนี้เองที่ทำให้ความหมายของ “โอษฐ์” ในภาษาไทยกลายไปจากบาลีสันสกฤต ทั้งนี้เพราะคำว่า “ปาก” ในภาษาไทยมีความหมายมากกว่า “โอษฐ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปาก : (คำนาม) ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะเป็นช่องสําหรับกินอาหารและใช้สําหรับเปล่งเสียงได้ด้วย; โดยปริยายหมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย; ขอบช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห; ต้นทางสําหรับเข้าออก เช่น ปากช่อง ปากตรอก; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, กระเป๋า ก็เรียก; ใช้เป็นลักษณนามของสิ่งบางอย่างเช่นแหอวนหรือพยานบุคคล เช่น แหปากหนึ่ง อวน ๒ ปาก พยาน ๓ ปาก. (คำกริยา) พูด เช่น ดีแต่ปาก.”

สรุปก็คือ ในภาษาไทย –

(1) “ปาก” ไม่ใช่หมายถึงเฉพาะ “ริมฝีปาก” แต่หมายถึงอวัยวะทั้งหมดที่เป็นช่องสําหรับกินอาหารและใช้สําหรับเปล่งเสียง

(2) “ปาก” ยังเป็นคำกริยา หมายถึง พูด อีกด้วย

โปรดสังเกตว่า ทั้ง 2 อย่างนี้ไม่ใช่ความหมายของ “โอษฐ์” เลย

นอกจากนี้ ในภาษาไทยยังมีคำว่า “ฝีปาก” ซึ่งพจนานุกรมฯ บอกไว้ดังนี้ –

ฝีปาก : (คำนาม) คารมของผู้กล่าว, ราชาศัพท์ว่า ฝีพระโอษฐ์.”

จะเห็นได้ว่า “โอษฐ์” ในภาษาไทยนอกจากหมายถึง พูด (speak) แล้วยังหมายถึง “คำพูด” (speech) อีกด้วย

ทั้ง “โอฏฺฐ” ในบาลี และ “โอษฺฐ” ในสันสกฤต แปลเป็นอังกฤษว่า the lip

แต่ “โอษฐ์” ในภาษาไทยแปลเป็นอังกฤษได้ว่า mouth, speak และ speech

แต่แทบจะไม่มีที่ตรงกับ the lip อันเป็นความหมายเดิม

…………..

วัดภูมิบาลี :

ในสำนวนไทยมีคำว่า “ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี”

คำว่า “ปากเป็นเอก” ถ้าให้แปลเป็นบาลี จะแปลอย่างไร ใช้คำว่า “โอฏฺฐ” ได้หรือไม่ เพราะเหตุไร?

…………..

ดูก่อนภราดา!

: แต่คำเดียวเจียวยังกลายเป็นหลายนัย

: เหมือนหนึ่งใจจะเป็นหนึ่งอย่าพึงนึก

————

ภาพประกอบ: จาก google

#บาลีวันละคำ (2,122)

4-4-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *