บาลีวันละคำ

ธรรมบาลกุมาร (บาลีวันละคำ 2,130)

ธรรมบาลกุมาร

หนึ่งในตำนานสงกรานต์

อ่านว่า ทำ-มะ-บาน-กุ-มาน

ประกอบด้วยคำว่า ธรรม + บาล + กุมาร

(๑) “ธรรม

บาลีเป็น “ธมฺม” (ทำ-มะ) รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > ) และ ต้นปัจจัย (รมฺม > มฺม)

: ธรฺ > + รมฺม > มฺม : + มฺม = ธมฺม (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “กรรมที่ทรงไว้ซึ่งความดีทุกอย่าง” (หมายถึงบุญ)

(2) “สภาวะที่ทรงผู้ดำรงตนไว้มิให้ตกไปในอบายและวัฏทุกข์” (หมายถึงคุณธรรมทั่วไปตลอดจนถึงโลกุตรธรรม)

(3) “สภาวะที่ทรงไว้ซึ่งสัตว์ผู้บรรลุมรรคเป็นต้นมิให้ตกไปในอบาย” (หมายถึงโลกุตรธรรม คือมรรคผล)

(4) “สภาวะที่ทรงลักษณะของตนไว้ หรืออันปัจจัยทั้งหลายทรงไว้” (หมายถึงสภาพหรือสัจธรรมทั่วไป)

(5) “สภาวะอันพระอริยะมีโสดาบันเป็นต้นทรงไว้ ปุถุชนทรงไว้ไม่ได้” (หมายถึงโลกุตรธรรม คือมรรคผล)

คำแปลตามศัพท์ที่เป็นกลางๆ “ธมฺม” คือ “สภาพที่ทรงไว้

ธมฺม” สันสกฤตเป็น “ธรฺม” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ธรรม

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “ธรรม” ไว้ดังนี้ –

(1) คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม

(2) คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า

(3) หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม

(4) ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม

(5) ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม

(6) กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ

(7) กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ

(8) สิ่งของ เช่น เครื่องไทยธรรม

ในที่นี้ “ธรรม” มีความหมายครอบคลุมทุกข้อ

(๒) “บาล

บาลีเป็น “ปาล” (ปา-ละ) รากศัพท์มาจาก ปาลฺ (ธาตุ = ดูแล, รักษา) + ปัจจัย

: ปาลฺ + = ปาล แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ดูแล” หมายถึง ยาม, ผู้รักษา, ผู้คุ้มครอง, ผู้ป้องกัน (a guard, keeper, guardian, protector)

ปาล” ใช้ในภาษาไทยว่า “บาล” (บาน)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บาล : (คำกริยา) เลี้ยง, รักษา, คุ้มครอง, ปกครอง, เช่น บาลเมือง, โดยมากใช้เป็นคำหลังสมาส เช่น โลกบาล รัฐบาล นครบาล โคบาล นิรยบาล. (ป., ส. ปาล).”

(๓) “กุมาร

บาลีอ่านว่า กุ-มา-ระ รากศัพท์มาจาก –

(1) กุมารฺ (ธาตุ = เล่น) + ปัจจัย

: กุมารฺ + = กุมาร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เล่นสนุก

(2) กมุ (ธาตุ = ปรารถนา) + อาร ปัจจัย, แปลง ที่ -(มุ) เป็น อุ, ลบสระท้ายธาตุ

: กมุ > กุมุ > กุม + อาร = กุมาร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันบิดามารดาปรารถนา

(3) กุ (แผ่นดิน) + ขรฺ (ธาตุ = ขีด, เขียน) + ปัจจัย, ยืดเสียง อะ ที่ เป็น อา, แปลง เป็น

: กุ + ขรฺ + = กุขร > กุมร > กุมาร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ขีดดินเล่น

(4) กุ (แผ่นดิน) + รมฺ (ธาตุ = สนุก, ยินดี) + ปัจจัย, ผัน รมฺ เป็น มรฺ, ยืดเสียง อะ ที่ เป็น อา

: กุ + รมฺ > มร + = กุมร > กุมาร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้สนุกอยู่บนดิน

กุมาร” หมายถึง เด็กชาย

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล “กุมาร” ว่า a young boy, son (เด็กน้อย, บุตร)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กุมาร : (คำนาม) เด็กชาย. (ป., ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง); ชื่อกัณฑ์ที่ ๘ แห่งมหาเวสสันดรชาดก.”

การประสมคำ :

(ก) ธรรม + บาล = ธรรมบาล แปลว่า “ผู้รักษาธรรม

(ข) ธรรมบาล + กุมาร = ธรรมบาลกุมาร แปลว่า “กุมารผู้รักษาธรรม” หมายถึง เด็กชายหรือหนุ่มน้อยผู้รักษาธรรม

ธรรมบาลกุมาร” เป็นชื่อบุคคลในนิทานสงกรานต์ ตามเรื่องว่าเป็นบุตรเศรษฐี มีสติปัญญาเฉียบแหลม รู้ภาษาสัตว์ ท้าวกบิลพรหมมาถามปัญหา 3 ข้อ ธรรมบาลกุมารสามารถตอบได้ถูกต้องเป็นเหตุให้ท้าวกบิลพรหมต้องตัดศีรษะตัวเองเป็นเครื่องบูชา

ดูเพิ่มเติม: “กบิลพรหม” บาลีวันละคำ (2,128) 11-4-61

…………..

ค่านิยมการตั้งชื่อของชาวชมพูทวีป คำว่า “กุมาร” สามารถใช้เป็นชื่อผู้ชายทั่วไป เช่นเดียวกับคำว่า “กุมารี” ก็สามารถใช้เป็นชื่อผู้หญิงทั่วไป

แต่ในภาษาไทย คำว่า “กุมาร” และ “กุมารี” ชวนให้เข้าใจว่าหมายถึงเด็กเล็กที่ยังจะต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในกาลต่อไป

…………..

ดูก่อนภราดา!

: โตขึ้นจะเป็นอะไร

: ไม่สำคัญเท่าเดี๋ยวนี้กำลังทำอะไร

#บาลีวันละคำ (2,130)

12-4-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *