บาลีวันละคำ

นิรันตราย (บาลีวันละคำ 2,131)

นิรันตราย

อ่านว่า นิ-รัน-ตะ-ราย

ประกอบด้วย นิร + อันตราย

(๑) “นิร

เป็นศัพท์จำพวก “อุปสรรค” ในบาลีนิบาตตัวนี้เป็น “นิ” แปลว่า เข้า, ลง, ไม่มี, ออก เมื่อนำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ มักลง อาคมแทรกระหว่างคำที่มาเชื่อมกัน เช่น –

นิ + + อาส = นิราส แปลว่า ไม่มีความหวัง

นิ + + อปราธ = นิรปราธ แปลว่า ไม่มีความผิด

อักษรจำพวกที่เรียกว่า “อาคม” นี้ยังมีอีกหลายตัว เหตุผลสำคัญที่ต้องลงอาคมก็เพื่อให้เกิดความสละสลวยหรือคล่องปากเมื่อออกเสียง

ในสันสกฤต อุปสรรคตัวนี้เป็น “นิร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

นิรฺ : (นิบาต) นิบาตและอุปสรรคบอกอสังศยะหรือความเชื่อแน่; ความประติเษธ; ความปราศจาก; a particle and prefix implying certainty or assurance; negation or privation; – (กริยาวิเศษณ์ หรือ บุรพบท) ภายนอก, นอก, ออก, ปราศจากหรือไม่มี, พลัน; outside, out, without, forth.”

(๒) “อันตราย

บาลีเป็น “อนฺตราย” (อัน-ตะ-รา-ยะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) “อนฺตร” ( = ระหว่าง) + อิ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง อิ เป็น อย ทีฆะ อะ เป็น อา (อิ > อย > อาย)

: อนฺตร + อิ > อย > อาย : อนฺตร + อาย = อนฺตราย + = อนฺตราย แปลตามศัพท์ว่า (1) “ภาวะที่ถึงในระหว่างจุติกับปฏิสนธิ” (2) “ภาวะเป็นเหตุให้ความสำเร็จแห่งการงานถึงความหยุดลงกลางคัน

(2) “อนฺตร” ( = ระหว่าง) + อายฺ (ธาตุ = เดือดร้อน) + ปัจจัย,

: อนฺตร + อายฺ = อนฺตราย + = อนฺตราย แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะเป็นเหตุให้เดือดร้อนในระหว่างจุติกับปฏิสนธิ

(3) “อนฺตร” ( = ระหว่าง) อา (คำอุปสรรค กลับความ) + อิ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง อิ ที่ อิ เป็น (อิ > อย)

: อนฺตร + อา = อนฺตรา + อิ > อย = อนฺตราย + = อนฺตราย แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่มาในระหว่าง” (พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลตรงกันว่า “coming in between”)

อนฺตราย” หมายถึง อุปสรรค, การขัดขวาง, สิ่งกีดขวาง, การป้องกัน, เครื่องกีดขวาง, อันตราย, อุบัติเหตุ (obstacle, hindrance, impediment; prevention, bar; danger, accident)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อันตราย : (คำนาม) เหตุที่อาจทําให้ถึงแก่ความตายหรือพินาศ. (ป., ส. อนฺตราย ว่า อุปสรรคหรือภัยอันมาในระหว่าง).”

นิร + อันตราย = นิรันตราย แปลว่า “อันตรายออกแล้ว” คือ อันตรายออกไปหมดแล้ว จึงไม่มีอันตรายใดๆ เหลืออยู่ = ไม่มีอันตราย

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นิรันตราย : (คำแบบ) (คำวิเศษณ์) ปราศจากอันตราย. (ป.).”

หมายเหตุ : “คำแบบ” หมายถึง คำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป

…………..

ขยายความ :

ในคัมภีร์ (อุโบสถขันธกะ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1 พระไตรปิฎกเล่ม 4 ข้อ 167) แสดงที่มาของ “อันตราย” คือเหตุขัดข้อง 10 อย่าง ซึ่งอาจประยุกต์ใช้กับชีวิตจริงได้ ดังนี้ –

(1) ราชา : อันตรายจากกฎเกณฑ์หรือกฎหมายของบ้านเมือง

(2) โจร : อันตรายจากโจรผู้ร้าย

(3) อัคคี : อันตรายจากไฟ = อัคคีภัย

(4) อุทก : อันตรายจากน้ำ = อุทกภัย (รวมทั้งภัยธรรมชาติอื่นๆ)

(5) มนุสสะ : อันตรายจากมนุษย์ คือคนธรรมดาด้วยกันเป็นอันตรายต่อกัน

(6) อมนุสสะ : อันตรายจากอมนุษย์ (เช่นสิ่งที่พูดกันว่า “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่”)

(7-8) วาฬะสิริงสปะ : อันตรายจากสัตว์ร้าย

(9) ชีวิต : เหตุที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เช่นโรคภัยไข้เจ็บ อุบัติเหตุ

(10) พรหมจรรย์ : อันตรายจากข้ออ้างทางศาสนา

หมายเหตุ : อันตราย 10 อย่างนี้ท่านยกขึ้นเป็นเหตุที่อนุญาตให้สงฆ์งดสวดปาติโมกข์แบบเต็ม แต่ให้สวดแบบย่อแทน

ข้อ (1) ราชา = ราชันตราย แปลว่า “อันตรายเพราะพระราชา” หมายถึงพระราชาเสด็จมา ให้งดสวดได้ เพื่อรับเสด็จ

ในที่นี้ผู้เขียนบาลีวันละคำตีความประยุกต์ใช้กับชีวิตคนทั่วไปว่า “ราชันตราย” คืออันตรายเพราะกฎเกณฑ์หรือกฎหมายของบ้านเมือง คือถูกเอาเปรียบเพราะกฎหมายเปิดช่อง ตลอดจนคนที่อาศัยช่องโหว่ของกฎหมายแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว แต่ทำลายประโยชน์ของส่วนรวมเป็นต้น

อันตรายข้ออื่นๆ ก็ตีความประยุกต์ใช้กับชีวิตคนทั่วไปโดยทำนองเดียวกัน

อันตรายมาจากไหนได้บ้าง ถ้ารู้ทางมาของอันตรายก็จะช่วยให้ระวังตัวและทำชีวิตให้เป็น “นิรันตราย” ได้ดีขึ้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: รักษาจิตใจให้ใสสะอาด

: จะเกิดอีกกี่ภพกี่ชาติก็นิรันตราย

—————

ภาพประกอบ: พระนิรันตราย ประดิษฐาน ณ หอพระสุลาลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

#บาลีวันละคำ (2,131)

13-4-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *