บาลีวันละคำ

อุปการ – ปฏิการ (บาลีวันละคำ 2,132)

อุปการปฏิการ

การกระทำที่หาได้ยาก

อุปการ” อ่านว่า อุ-ปะ-กาน ก็ได้ อุบ-ปะ-กาน ก็ได้ (ตามพจนานุกรมฯ)

ปฏิการ” อ่านว่า ปะ-ติ-กาน

(๑) “อุปการ

บาลีอ่านว่า อุ-ปะ-กา-ระ รากศัพท์มาจาก อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + การ

(ก) ความรู้เกี่ยวกับคำว่า “อุป-” :

อุป-” (ขีด – ข้างหลังหมายความว่าไม่ใช้ตามลำพัง แต่ใช้นำหน้าคำอื่นเสมอ) เป็นคำจำพวกที่ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “อุปสรรค

นักเรียนบาลีท่องจำคำแปลกันมาว่า “อุป : เข้าไป, ใกล้, มั่น

อุป” ในบาลีใช้ในความหมายตามบริบทต่างๆ ประมวลได้ดังนี้ –

(1) ข้างบน, บน (on upon, up)

(2) ข้างนอก (out)

(3) สุดแต่ (up to)

(4) สูงขึ้น, ข้างต้น (higher, above)

(5) ใกล้ชิด, ใกล้เคียง, ใกล้ (close by, close to, near)

(6) ทีเดียว, โดยประการทั้งปวง (quite, altogether)

(7) เกือบ, ราว ๆ, ค่อนข้าง, เล็กน้อย, รอง, โดย –, น้อย ๆ, ทำตามแบบ (nearly, about, somewhat, a little, secondary, by — , miniature, made after the style of)

(ข) “การ

บาลีอ่านว่า กา-ระ รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (กรฺ > การ)

: กรฺ + = กรณ > กร > การ แปลตามศัพท์ว่า “การทำ

การ” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การกระทำ, กิริยาอาการ, วิธีทำ (doing, manner, way)

(2) กรรม, การบริการ, การกระทำที่แสดงความเมตตา หรือความเคารพ หรือความนับถือ (deed, service, act of mercy or worship, homage)

(3) ผู้ทำ หรือผู้จัดการ หรือผู้ค้า (one who does, handles or deals)

อุป + การ = อุปการ (อุ-ปะ-กา-ระ) แปลตามศัพท์ว่า “การเข้าไปทำ” หมายถึง ความอุปการะ, การช่วยเหลือ, การอนุเคราะห์, การทำบุญคุณ, การสงเคราะห์ (service, help, benefit, obligation, favour)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อุปการ– ๑, อุปการะ : (คำนาม) ความช่วยเหลือเกื้อกูล, ความอุดหนุน, คู่กับ ปฏิการะ = การสนองคุณ, การตอบแทนคุณ. (คำกริยา) ช่วยเหลือเกื้อกูล, อุดหนุน. (ป., ส.).”

(๒) “ปฏิการ

บาลีอ่านว่า ปะ-ติ-กา-ระ รากศัพท์มาจาก ปฏิ (คำอุปสรรค = เฉพาะ ตอบ ทวน กลับ) + การ

(ก) ความรู้เกี่ยวกับคำว่า “ปฏิ-” :

ปฏิ-” (ขีด – ข้างหลังหมายความว่าไม่ใช้ตามลำพัง แต่ใช้นำหน้าคำอื่นเสมอ) เป็นศัพท์จำพวกที่ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “อุปสรรค

นักเรียนบาลีท่องจำคำแปลกันมาว่า “ปฏิ : เฉพาะ ตอบ ทวน กลับ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปฏิ– : คําอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นําหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ เช่น ปฏิทิน, ตอบ เช่น ปฏิพากย์, ทวน เช่น ปฏิโลม, กลับ เช่น ปฏิวัติ. (ป.; ส. ปฺรติ).”

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกความหมายของ “ปฏิ-” ว่า back (to), against, towards, in opposition to, opposite (กลับ, ตอบ, เฉพาะ, มุ่งไปยัง, ตรงกันข้าม, กลับกัน)

(ข) “การ

ดูข้างต้น

ปฏิ + การ = ปฏิการ (ปะ-ติ-กา-ระ) แปลตามศัพท์ว่า “การทำตอบ” หมายถึง การตอบโต้, การแก้ไข, การตอบแทน (counteraction, remedy, requital)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปฏิการ-, ปฏิการะ : (คำนาม) การสนองคุณ, การตอบแทนคุณ, คู่กับ อุปการะ; การซ่อมแซม. (ป.).”

อภิปราย :

อุปการปฏิการ” เป็นคำที่มีความหมายคู่กัน คือมี “อุปการ” ก่อน แล้วจึงมี “ปฏิการ” ทีหลัง

เทียบกับ บุคคลหาได้ยาก 2 ( Dullabha-puggala: rare persons)

1. บุพการี (ผู้ทำอุปการะก่อน, ผู้ทำความดีหรือทำประโยชน์ให้แต่ต้นโดยไม่ต้องคอยคิดถึงผลตอบแทน — Pubbakārī: one who is first to do a favour; previous benefactor; ready benefactor)

2. กตัญญูกตเวที (ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วและตอบแทน, ผู้รู้จักคุณค่าแห่งการกระทำดีของผู้อื่น และแสดงออกเพื่อบูชาความดีนั้น — Kataññūkatavedī: one who is grateful and repays the done favour; grateful person)

(พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [29])

อุปการ” ก็คือ “บุพการี

ปฏิการ” ก็คือ “กตัญญูกตเวที

บุพการี” และ “กตัญญูกตเวที” เป็นบุคคลหาได้ยากฉันใด

อุปการ” และ“ปฏิการ” ก็เป็นการกระทำที่หาได้ยากฉันนั้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เมื่อท่านยังอยู่ รู้คุณท่านให้ครบ

: อย่ารอให้ท่านเป็นศพแล้วจึงพร่ำสรรเสริญ

#บาลีวันละคำ (2,132)

14-4-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *