บาลีวันละคำ

นตฺถิ ภนฺเต (บาลีวันละคำ 2400)

นตฺถิ ภนฺเต

ฝรั่งเซย์ว่า no sir.

อ่านว่า นัด-ถิ พัน-เต

เขียนแบบบาลีไทย – “นัตถิ ภันเต

(๑) “นตฺถิ” (นัด-ถิ)

เป็นรูปคำกริยา “กิริยาอาขยาต” รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ไม่, ไม่ใช่) + อตฺถิ

(ก) “อตฺถิ” (อัด-ถิ) เป็นรูปคำกริยา “กิริยาอาขยาต” รากศัพท์มาจาก อสฺ (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย + ติ วิภัตติอาขยาต (เอกพจน์ ปฐมบุรุษ หรือบุรุษที่หนึ่ง = สิ่งหรือผู้ที่ถูกพูดถึง), แปลง ติ เป็น ตฺถิ, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ (อสฺ > )

: อสฺ + + ติ = อสฺติ > อสตฺถิ > อตฺถิ แปลตามศัพท์ว่า “(สิ่งนั้นหรือผู้นั้น) มีอยู่

(ข) + อตฺถิ = นตฺถิ แปลตามศัพท์ว่า “(สิ่งนั้นหรือผู้นั้น) ย่อมไม่มี

อธิบายเพิ่มเติม :

(1) + อตฺถิ = นตฺถิ ถือว่าเป็นการประสมแบบพิเศษ เพราะกฎการประสมของ “” (นะ = ไม่, ไม่ใช่) ที่เราทราบกันอยู่ก็คือ ถ้าคำที่ “” ไปประสมด้วยขึ้นต้นด้วยสระ ต้องแปลง “” เป็น “อน” (อะ-นะ) ในที่นี้ “อตฺถิ” ขึ้นต้นด้วยสระ (– บาลีถือว่าเป็นสระ) + อตฺถิ แทนที่จะเป็น “อนตฺถิ” ก็กลับเป็น “นตฺถิ

ในทางไวยากรณ์ถือว่า “นตฺถิ” เป็นรูปคำกริยาสมบูรณ์ในตัว เวลาแปลไม่ต้องแยกคำเป็น “ อตฺถิ” (อตฺถิ = มีอยู่, = หามิได้) แต่ยกขึ้นแปลเต็มศัพท์ว่า นตฺถิ = ย่อมไม่มี

(2) “อตฺถิ” และ “นตฺถิ” เป็นคำกริยาพิเศษ คือลง ติ วิภัตติอาขยาต ซึ่งเป็นเอกพจน์ แต่สามารถใช้ “ประธาน” ของประโยคเป็นพหูพจน์ได้ด้วย

จำไว้สั้นๆ ว่า “อตฺถิ” และ “นตฺถิ” เป็นกริยาทั้งเอกพจน์และพหูพจน์อยู่ในคำเดียวกัน

(๒) “ภนฺเต” (พัน-เต)

เป็นศัพท์จำพวกที่เรียกว่า “นิบาต” นักเรียนบาลีแปลกันว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ภนฺเต” คำนี้ถ้าจะให้แสดงรากศัพท์ อาจบอกไว้ว่า รูปคำเดิมเป็น “ภวนฺต” (พะ-วัน-ตะ) รากศัพท์มาจาก ภว (ผู้เจริญ, ความเจริญ) + วนฺต ปัจจัย, ลบ ที่สุดศัพท์ (ภว > )

: ภว + วนฺต = ภววนฺต > ภวนฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีความเจริญ” “ผู้เจริญ

ภวนฺต” เมื่อใช้เป็น “อาลปนะ” (คำทัก, คำเรียก addressing) แปลงรูปเป็น “ภนฺเต” และถือว่าเป็นศัพท์จำพวก “นิบาต

ภนฺเต” เป็นคำที่คู่กับ “อาวุโส” ซึ่งแปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีอายุ

ภนฺเต” เป็นคำทักหรือคำลงท้ายเมื่อผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่

อาวุโส” เป็นคำทักหรือคำลงท้ายเมื่อผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย

ดูเพิ่มเติม: “อาม ภนฺเต” บาลีวันละคำ (2,399) 6-1-62

ขยายความ :

นัตถิ ภันเต” เป็นคำตอบปฏิเสธที่ผู้น้อยใช้กับผู้ใหญ่ แปลตามศัพท์ว่า “ไม่มีขอรับ” หรือ “ไม่มีเจ้าค่ะ

น้ำหนักของคำอยู่ที่คำว่า “นัตถิ” ซึ่งมีความหมายว่า ไม่ใช่ ไม่มี ไม่เป็น ไม่เอา ไม่รับ ไม่เห็นด้วย คือเมื่อจะปฏิเสธในกรณีใดๆ ก็ตาม พูดว่า “นัตถิ” คำเดียวเป็นอันได้ความ เทียบกับคำอังกฤษก็คือ no หรือ not

คำว่า “นัตถิ” เสียงใกล้กับคำว่า “ หิ” (นะ หิ) ซึ่งเป็นคำขึ้นต้นประโยคปฏิเสธในภาษาบาลี พบได้ทั่วไปในคัมภีร์ เช่น –

หิ โน สงฺครนฺเตน

มหาเสเนน มจฺจุนา.

(นะ หิ โน สังคะรันเตนะ

มะหาเสเนนะ มัจจุนา)

เราจะผัดเพียนมิได้เลย

กับมฤตยูอันมีไพร่พลมหิมา

หิ เวเรน เวรานิ

สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ.

(นะ หิ เวเรนะ เวรานิ

สัมมันตีธะ กุทาจะนัง)

เวรจะระงับด้วยการก่อเวรนั้นหามิได้เลย

ไม่ว่าในกาลไหนๆ ในโลกนี้

หิ” ออกเสียงตามสำเนียงมคธเป็น หนะ-ฮิ ตรงกับภาษาฮินดีที่พูดกันประเทศอินเดียทุกวันนี้ ซึ่งแปลว่า ไม่ ไม่มี ไม่ใช่

ข้อคิด :

หิ” หรือ “นัตถิ” หรือ “นัตถิ ภันเต” หมายถึงคำปฏิเสธ คำค้าน คำทักท้วง เป็นคำที่จำเป็นมากในการอยู่ร่วมกันในสังคม อุปมาเหมือนห้ามล้อของรถ

อยู่ร่วมกัน ว่าอะไรว่าตามกัน ไม่มีเสียงค้าน หรือไม่ฟังเสียงค้าน ก็เหมือนรถไม่มีห้ามล้อนั่นแล

…………..

ดูก่อนภราดา!

: รถไม่มีห้ามล้อ ผู้โดยสารย่อมตกอยู่ในอันตราย

: ไม่อยากให้ผู้นำพาเราไปตาย จงกล้าที่จะพูดว่า “นัตถิ ภันเต”

#บาลีวันละคำ (2,400)

7-1-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *