บาลีวันละคำ

ฆราวาสวิสัย (บาลีวันละคำ 2401)

ฆราวาสวิสัย

จะปลีกออกไป หรือจะดึงกลับเข้ามา

อ่านตามหลักภาษาว่า คะ-รา-วาด-สะ-วิ-ไส

อ่านตามสะดวกปากว่า คะ-รา-วาด-วิ-ไส

ประกอบด้วยคำว่า ฆราวาส + วิสัย

(๑) “ฆราวาส” (คะ-รา-วาด)

ประกอบด้วยคำว่า ฆร + อาวาส

(ก) “ฆร” (คะ-ระ) รากศัพทมาจาก –

(1) ฆรฺ (ธาตุ = หลั่งไป, ไหลไป) + ปัจจัย

: ฆรฺ + = ฆร แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่หลั่งไหลแห่งฝนคือกิเลส” (คือเป็นสถานที่มนุษย์เสพสังวาสกัน)

ท่านขยายความว่า เดิมเมื่อมนุษย์ยังมีน้อย ก็เสพสังวาสกันตามสถานที่ทั่วไป ต่อมาเมื่อมนุษย์มีมากขึ้น สถานที่ทั่วไปที่จะรอดจากหูตาของเพื่อนมนุษย์หายากขึ้น ประกอบกับมีหิริโอตตัปปะ จึงเกิดความคิดสร้างที่มุงที่บังขึ้นมาเพื่อเป็นที่เสพสังวาสกัน สถานที่นั้นจึงถูกเรียกว่า “ฆร” (“ที่เป็นที่หลั่งไหลแห่งฝนคือกิเลส”) กาลต่อมาจึงพัฒนาขึ้นเป็นที่อยู่อาศัย

(2) คหฺ (ธาตุ = จับ, รับ, ถือเอา) + ปัจจัย, แปลง คห เป็น ฆร

: คหฺ + = คห > ฆร แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่อันเขาถือครอง

ฆร” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง เรือน, บ้าน (a house)

(ข) “อาวาส” รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่ว, ยิ่ง) + วสฺ (ธาตุ = อยู่) + ปัจจัย

ปัจจัย หรือปัจจัยที่เนื่องด้วย (เช่น เณ ณฺย) มักไม่ปรากฏตัว (ภาษาสูตรไวยากรณ์ว่า “ลบ ณ ทิ้งเสีย”) แต่มีอำนาจทีฆะต้นธาตุ คือธาตุที่มี 2 พยางค์ ถ้าพยางค์แรกเสียงสั้นก็ยืดเป็นเสียงยาว (อะ เป็น อา, อิ เป็น อี, อุ เป็น อู) ในที่นี้ วส ธาตุ “” เสียงสั้น จึงยืดเป็น “วา

: อา + วสฺ = อาวสฺ + = อาวสณ > อาวส > อาวาส (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่มาอยู่” = มาถึงตรงนั้นแล้วก็อยู่ จึงเรียกที่ตรงนั้นว่า “อาวาส” ความหมายกว้างๆ คือ การพักแรม, การพักอยู่, การอาศัยอยู่, การอยู่; ที่อยู่, ที่พำนัก (sojourn, stay, dwelling, living; dwelling-place, residence)

ในภาษาไทย “อาวาส” มักเข้าใจกันในความหมายเฉพาะว่า “วัด”

แต่ในคำ ฆร + อาวาส นี้ “อาวาส” มีความหมายว่า “การอยู่” (ไม่ใช่ “ที่อยู่”)

ฆร + อาวาส = ฆราวาส แปลตามศัพท์ว่า “การอยู่ในเรือน” หรือ “การอยู่ครอบครองซึ่งเรือน” เรียกสั้นๆ ว่า การครองเรือน, อยู่ครองเรือน หรือทับศัพท์ว่า ฆราวาส (the household life)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ฆราวาส : (คำนาม) คนผู้อยู่ครองเรือน, คนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่บรรพชิตหรือนักบวช. (ป.).”

(๒) “วิสัย”

บาลีเขียน “วิสย” (วิ-สะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + สิ (ธาตุ = เสพ, คบหา; ผูก, พัน) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ สิ เป็น เอ แล้วแปลง เอ เป็น อย (สิ > เส > สย)

: วิ + สิ = วิสิ + = วิสิณ > วิสิ > วิเส > วิสย (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ภูมิภาคเป็นที่เสพอาศัย” (2) “ภาวะที่ผูกอินทรีย์ไว้

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วิสย” ไว้ดังนี้ –

(1) locality, spot, region; world, realm, province, neighbourhood (ที่ตั้ง, แหล่งที่; ภูมิภาค, โลก, อาณาจักร, จังหวัด, บริเวณ)

(2) reach, sphere [of the senses], range, scope; object, characteristic, attribute (ขอบเขต, โลก [ของความรู้สึก], แนว, วง; วิสัย, ลักษณะ, คุณสมบัติ)

จับความหมายของ “วิสย > วิสัย” สั้น ๆ ว่า –

(1) ขอบเขต

(2) สิ่งที่จิตไปรับรู้เกาะเกี่ยว = อารมณ์

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วิสย-, วิสัย : (คำนาม) ความสามารถ เช่น อยู่ในวิสัยที่จะเลี้ยงดูบุตรภรรยาได้ เป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะทำได้; ขอบ, เขต, เช่น คามวิสัย โคจรวิสัย อยู่ในทัศนวิสัย. (ป.).”

ฆราวาส + วิสัย = ฆราวาสวิสัย แปลทับศัพท์ว่า “วิสัยแห่งฆราวาส” แปลตามศัพท์ว่า “ขอบเขตของผู้อยู่ครองเรือน” หมายถึง สิ่งที่ชาวบ้านประพฤติกันทั่วไป การกระทำหรือค่านิยมต่างๆ ที่ชาวบ้านทั่วไปสามารถทำได้ มีได้ หรือเป็นได้

คำที่คู่กับ “ฆราวาสวิสัย” คือ “สมณวิสัย” (สะ-มะ-นะ-วิ-ไส) คือการครองชีวิตตามแบบของนักบวช หรือกรอบขอบเขตที่นักบวชจะพึงประพฤติปฏิบัติหรือไม่ควรประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้เป็นไปตามกฎหรือหลักการที่ศาสนานั้นๆ กำหนดไว้ ถ้าปฏิบัติตามกรอบก็เรียกว่า อยู่ในสมณวิสัย ถ้าออกนอกกรอบ คือทำสิ่งที่สมณะไม่พึงทำ ก็เรียกว่า ผิดสมณวิสัย

ความหมายสั้นๆ :

ฆราวาสวิสัย” คือวิถีชีวิตแบบชาวบ้าน

สมณวิสัย” คือวิถีชีวิตแบบสงฆ์

คำว่า “ฆราวาสวิสัย” และ “สมณวิสัย” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

อภิปราย :

ปัจจุบันมีพระภิกษุสามเณรในประเทศไทยกระทำการบางอย่างเป็นเหตุให้ชาวบ้านพากันปรารภขึ้นด้วยความเป็นห่วงพระศาสนาว่า “สมณวิสัยชักจะใกล้กับฆราวาสวิสัยเข้าไปทุกที

ถอดความออกมาเป็นคำถามก็คือ ชาวบ้านเริ่มจะสงสัยกันมากขึ้นว่า “พระทำอย่างนี้ได้ด้วยหรือ” เพราะเห็นว่าการกระทำบางอย่างเป็น “ฆราวาสวิสัย” มากกว่าที่จะเป็น “สมณวิสัย

…………..

ดูก่อนภราดา!

อะไรพระทำได้ อะไรพระทำไม่ได้

: จะรีบกำหนดกรอบขอบเขตกันให้เด็ดขาด

: หรือจะรอให้ศาสนาพินาศแล้วจึงค่อยพิจารณา

#บาลีวันละคำ (2,401)

8-1-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *