บาลีวันละคำ

ชาตรูปรชตะ (บาลีวันละคำ 2,193)

ชาตรูปรชตะ

หมายถึงอะไร

อ่านว่า ชา-ตะ-รู-ปะ-ระ-ชะ-ตะ

ประกอบด้วยคำว่า ชาตรูป + รชตะ

(๑) “ชาตรูป

บาลีอ่านว่า ชา-ตะ-รู-ปะ รากศัพท์มาจาก ชาต (เกิด) + รูป ปัจจัย ใช้แทนศัพท์ไปในตัว หมายถึง เป็นรูป, มีรูป = งาม, ดี

: ชาต + รูป = ชาตรูป (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “วัตถุที่เกิดดียิ่ง” (2) “วัตถุที่มีความเกิดงดงาม” (3) “วัตถุที่คงรูปที่เกิดไว้ได้ทุกเมื่อ” (คือไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอื่น) หมายถึง โลหะแท้, โลหะบริสุทธิ์, ทองคำ (sterling metal, pure metal, gold)

(๒) “รชตะ

บาลีเป็น “รชต” (ระ-ชะ-ตะ) รากศัพท์มาจาก รญฺชฺ (ธาตุ = ยินดี) + ปัจจัย, ลบ ญฺ ที่ รญฺชฺ (รญฺชฺ > รชฺ)

: รญฺชฺ + = รญฺชต > รชต (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “วัตถุอันผู้คนยินดีเพราะมีสีขาว” (2) “วัตถุเป็นที่ยินดีแห่งผู้คน” หมายถึง เงิน (silver)

ชาตรูป + รชตะ = ชาตรูปรชต แปลว่า “ทองและเงิน”

ในที่นี้ “ชาตรูปรชต” เขียนเป็นคำไทยว่า “ชาตรูปรชตะ

ขยายความ :

คำว่า “รชต” พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ขยายความโดยอ้างคำอธิบายจากคัมภีร์ว่า a general name for all coins except gold (เป็นชื่อทั่วๆ ไปสำหรับเหรียญทุกประเภท ยกเว้นทอง)

ได้ความว่า เมื่อคำทั้ง 2 นี้มาคู่กันเป็น “ชาตรูปรชต” –

ชาตรูป” หมายถึง ทอง (gold)

รชต” หมายถึง เงิน (silver)

อภิปราย :

ในสิกขาบท 10 ข้อของสามเณร ข้อที่ 10 มีข้อความว่า

ชาตรูปรชตปฏิคฺคหณา เวรมณี

แปลว่า –

เจตนางดเว้นจากการรับทองและเงิน

ในจำนวนศีล 227 ข้อของภิกษุ มีอยู่ข้อหนึ่งบัญญัติไว้ว่า –

……………

โย  ปน  ภิกฺขุ  ชาตรูปรชตํ  อุคฺคเณฺหยฺย  วา 

อุคฺคณฺหาเปยฺย  วา 

อุปนิกฺขิตฺตํ  วา  สาทิเยยฺย 

นิสฺสคฺคิยํ  ปาจิตฺติยํ.

แปลว่า –

อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทองและเงิน

หรือยินดีทองและเงินอันเขาเก็บไว้ให้,

ภิกษุนั้นต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์.

ที่มา: วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค 2 นิสสัคคียกัณฑ์ โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 8

พระไตรปิฎกเล่ม 2 ข้อ 105 หน้า 90

……………

สิกขาบทที่ยกมานี้มีคำว่า “ชาตรูปรชตะ” เหมือนกันทั้ง 2 แห่ง

มีคำถาม “ชาตรูปรชตะ” ในที่นี้หมายถึงอะไร?

ผู้ที่แปลความตามรูปศัพท์บอกว่า “ชาตรูปรชตะ” ในที่นี้หมายถึงแร่ทองแร่เงิน คือ gold และ silver

ชาตรูปรชตะ” ไม่ใช่ money

เพราะฉะนั้นภิกษุสามเณรจึงรับและใช้ money ได้

แต่ในพระไตรปิฎกนั่นเอง ท่านได้ให้คำจำกัดความ “ชาตรูปรชตะ” ไว้ชัดเจนว่า –

……………

ชาตรูปํ  นาม  สตฺถุวณฺโณ  วุจฺจติ. 

รชตํ  นาม  กหาปโณ  โลหมาสโก 

ทารุมาสโก  ชตุมาสโก 

เย  โวหารํ  คจฺฉนฺติ.

ที่มา: อ้างแล้ว หน้า 90-91

แปลว่า –

ที่ชื่อว่า ชาตรูป หมายถึงทองคำ

ที่ชื่อว่า รชต หมายถึงกหาปณะ

มาสกที่ทำด้วยโลหะ

มาสกที่ทำด้วยไม้

มาสกที่ทำด้วยครั่ง

ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้

…………..

เป็นอันยืนยันได้ว่า “ชาตรูปรชตะ” คือ money รวมทั้งวัตถุหรือเอกสารใดๆ ก็ตามที่สามารถใช้แลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้เหมือน money

…………..

ดูก่อนภราดา!

ชาตรูปรชตะ” เป็นพาหนะที่มหัศจรรย์

: พาคนโง่ไปนรกเกลื่อนกลาด

: พาคนฉลาดไปสวรรค์เกลื่อนฟ้า

: พาคนมีปัญญาไปนิพพานได้ทั้งไตรภูมิ

#บาลีวันละคำ (2,193)

14-6-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย