บาลีวันละคำ

อจลศรัทธา (บาลีวันละคำ 2,192)

อจลศรัทธา

อ่านว่า อะ-จะ-ละ-สัด-ทา

ประกอบด้วยคำว่า อจล + ศรัทธา

(๑) “อจล

บาลีอ่านว่า อะ-จะ-ละ รากศัพท์มาจาก (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + จลฺ (ธาตุ = สั่น, ไหว) + ปัจจัย, แปลง เป็น

: > + จลฺ = อจล + = อจล แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่เคลื่อนไหว” หรือ “สิ่งที่ไม่หวั่นไหว

ความหมายของ “อจล” :

(1) ถ้าเป็นคำนาม หมายถึง ภูเขา, แผ่นดิน, ลิ่มสลัก (a mountain, the earth, a bolt)

(2) ถ้าเป็นคำคุณศัพท์ หมายถึง ไม่หวั่นไหว, ไม่คลอนแคลน (steadfast, immovable)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อจล– : (คำวิเศษณ์) ไม่หวั่นไหว, ไม่คลอนแคลน, เช่น อจลศรัทธา. (ป., ส.).”

(๒) “ศรัทธา

บาลีเป็น “สทฺธา” (สัด-ทา) รากศัพท์มาจาก –

(1) สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + ธา (ธาตุ = เชื่อถือ, นับถือ) + ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น นฺ แล้วแปลง นฺ เป็น ทฺ (สํ > สนฺ > สทฺ)

: สํ > สนฺ > สทฺ + ธา = สทฺธา + = สทฺธา แปลตามศัพท์ว่า (1) “กิริยาที่เชื่อถือ” (2) “ธรรมชาติเป็นเหตุให้เชื่อถือ

(2) (ตัดมาจาก “สมฺมา” = ด้วยดี, ถูกต้อง) + นิ (คำอุปสรรค = เข้า, ลง) + ธา (ธาตุ = มอบไว้, ฝากไว้) + ปัจจัย, แปลง นิ เป็น ทฺ

: + นิ + ธา = สนิธา + = สนิธา > สทฺธา แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติเป็นเหตุให้มอบจิตไว้ด้วยดี

สทฺธา” หมายถึง ความเชื่อ (faith)

บาลี “สทฺธา” สันสกฤตเป็น “ศฺรทฺธา

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

ศฺรทฺธา : (คำนาม) ‘ศรัทธา,’ ความเชื่อ; faith, belief.”

บาลี “สทฺธา” ภาษาไทยใช้ตามสันสกฤตเป็น “ศรัทธา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศรัทธา : (คำนาม) ความเชื่อ, ความเลื่อมใส, เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาในความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสาทะ. (คำกริยา) เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขาศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผนโบราณ. (ส. ศฺรทฺธา; ป. สทฺธา).”

อจล + สทฺธา = อจลสทฺธา แปลว่า “ความเชื่อที่ไม่หวั่นไหว

อจลสทฺธา” ในภาษาไทยใช้เป็น “อจลศรัทธา

ข้อสังเกต :

แม้พจนานุกรมฯ จะเก็บคำว่า “อจล-” ไว้ บอกความหมายพร้อมทั้งยกตัวอย่างว่า “เช่น อจลศรัทธา” แต่พจนานุกรมฯ ก็ไม่ได้เก็บคำว่า “อจลศรัทธา” ไว้

ลักษณะเช่นนี้ยังมีอีกหลายคำ คือยกตัวอย่างไว้ในคำนิยาม (บอกความหมาย) ว่า-เช่นคำนั้นคำนี้ แต่คำนั้นคำนี้ที่บอกไว้นั้นไม่มีในพจนานุกรมฯ

อภิปราย :

ท่านว่าศรัทธาของปุถุชนอาจหวั่นไหวได้ด้วยเหตุต่างๆ คือเคยนับถือเลื่อมใสผู้นั้นผู้นี้ แล้วต่อมาเลิกนับถือเลิกเลื่อมใสด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้เพราะความนับถือเลื่อมใสนั้นมิได้ประกอบด้วยปัญญารู้แจ้งจริง (หลงนับถือ)

แต่ศรัทธาของอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไปท่านว่าเป็น “อจลศรัทธา” ไม่หวั่นไหววูบวาบไปตามกระแส ทั้งนี้เพราะเป็นศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา (รู้แจ้งเห็นจริงแล้วจึงศรัทธา)

อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นบุคคลหนึ่งที่เคยเผชิญเหตุการณ์อันพิสูจน์ถึงอจลศรัทธา

อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นนักธุรกิจชื่อดัง ถ้าใช้สำนวนปัจจุบันก็ต้องพูดว่า-ธุรกิจพันล้านหมื่นล้าน ท่านเป็นโสดาบันบุคคลหลังจากได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า และทุ่มเทสนับสนุนพระพุทธศาสนาอย่างมหาศาล มีชื่อกระฉ่อนไปทั่วชมพูทวีปคู่เคียงกับวิสาขามหาอุบาสิกา

คราวหนึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีดำเนินธุรกิจผิดพลาดอย่างร้ายแรงทำให้สูญเงินไปถึงขั้นล้มละลาย ฝ่ายตรงข้ามได้ฉวยโอกาสนั้นเข้ามาเจรจาเสนอความช่วยเหลือระดับที่สามารถทำให้ธุรกิจฟื้นตัวได้แน่นอน

มีเงื่อนไขสำคัญเพียงข้อเดียว คือให้อนาถบิณฑิกเศรษฐีประกาศปฏิเสธพระรัตนตรัย ซึ่งหมายถึงประกาศเลิกนับถือพระพุทธศาสนานั่นเอง

ฝ่ายยื่นข้อเสนอตั้งความหวังไว้ว่า เมื่อคนดังระดับนี้ประกาศเลิกนับถือพระพุทธศาสนา นั่นก็เท่ากับเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาไปในตัว

อนาถบิณฑิกเศรษฐีปฏิเสธข้อเสนอโดยสิ้นเชิง นอกจากปฏิเสธแล้วท่านยังประกาศขับไล่ฝ่ายที่เข้ามายื่นข้อเสนอเป็นมาตรการตอบโต้อย่างดุเดือดอีกด้วย

สมัยนั้นการที่คนระดับมหาเศรษฐีประกาศขับไล่ใครถือกันว่าเป็นการลงโทษทางสังคมที่รุนแรงมาก และส่งผลให้เกิดความเสื่อมเสียอย่างยิ่ง สถานการณ์กลับตาลปัตร ฝ่ายที่เข้าเจรจายื่นข้อเสนอกลายฝ่ายระส่ำระสายหมดความน่าเชื่อถือทางสังคมไปในทันที ในที่สุดต้องประกาศยอมรับสารภาพว่าเป็นฝ่ายยื่นข้อเสนอที่น่าอัปยศครั้งประวัติศาสตร์นั้น

ผลสุดท้ายฝ่ายยื่นข้อเสนอถูกสังคมบังคับให้ต้องรับผิดชอบต่อความละลายของอนาถบิณฑิกเศรษฐีด้วยการช่วยฟื้นฟูธุรกิจต่างๆ ให้อย่างไม่มีเงื่อนไข จนกิจการของอนาถบิณฑิกเศรษฐีฟื้นตัวคืนสู่ความมั่นคงมั่งคั่งเหมือนเดิม

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าเห็นแก่เงินตรา

ก็จะไม่เห็นคุณค่าของพระรัตนตรัย

: ถ้าเห็นแก่พระธรรมวินัย

ก็จะเห็นความไม่หวั่นไหวแห่งศรัทธา

#บาลีวันละคำ (2,192)

13-6-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *