บาลีวันละคำ

วนอุทยาน (บาลีวันละคำ 2,214)

วนอุทยาน

อ่านว่า วะ-นะ-อุด-ทะ-ยาน

ประกอบด้วยคำว่า วน + อุทยาน

(๑) “วน

บาลีอ่านว่า วะ-นะ รากศัพท์มาจาก วนฺ (ธาตุ = เสพ, คบหา, ส่งเสียง) + ปัจจัย

: วนฺ + = วน (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ที่เป็นที่เสพสุขแห่งเหล่าสัตว์” (2) “ที่เป็นที่ส่งเสียงแห่งเหล่าสัตว์” (3) “ที่อันผู้ต้องการวิเวกเสพอาศัย

วน” นักเรียนบาลีนิยมแปลกันว่า “ป่า

คำว่า “ป่า” ในภาษาไทยมักรู้สึกกันว่าเป็นสถานที่รกทึบ มีอันตรายจากสัตว์ป่า และเป็นสถานที่น่ากลัว

คำว่า “วน” ในภาษาบาลีมีความหมายดังนี้ –

(1) สถานที่อันน่ารื่นรมย์และเป็นที่เล่นกีฬา (as a place of pleasure & sport) : wood = ป่าไม้

(2) สถานที่มีอันตรายและน่าสะพรึงกลัว (as well as of danger & frightfulness) : jungle = ไพรสณฑ์

(3) สถานที่อาศัยของนักบวช มีชื่อเสียงในทางวิเวก (as resort of ascetics, noted for its loneliness) : forest = ป่าดงพงไพร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

วน : (คำนาม) อรัณย์, ป่า; น้ำ; ที่อยู่, ที่อาศรัย, บ้าน, เรือน; น้ำตก; a forest, a wood, a grove; water; a residence, a dwelling or abode, a house; a cascade or waterfall.”

(๒) “อุทยาน

เป็นรูปคำสันสกฤต “อุทฺยาน” บาลีเป็น “อุยฺยาน” (อุย-ยา-นะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) อุ (คำอุปสรรค = ขึ้น, นอก) + ยา (ธาตุ = ไป) + ยุ ปัจจัย, ซ้อน ยฺ ระหว่าง อุ + ยา, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: อุ + ยฺ + ยา = อุยฺยา + ยุ > อน = อุยฺยาน แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่แหงนดูพลางเดินไป

(2) อุ (คำอุปสรรค = ขึ้น, นอก) + อิ (ธาตุ = ไป) + ยุ ปัจจัย, แปลง อิ เป็น , ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ เป็น อา (อิ > > ยา), ซ้อน ยฺ ระหว่าง อุ + , แปลง ยุ เป็น อน,

: อุ + ยฺ + อิ > = อุยฺย > อุยฺยา + ยุ > อน = อุยฺยาน แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ไปของผู้ขวนขวายเพื่อเล่นและพักผ่อน

อุยฺยาน” หมายถึง สวน, ดงไม้อันรื่นรมย์, สวนหลวง (a park, pleasure grove, a royal garden)

อุยฺยาน” เขียนแบบไทยเป็น “อุยยาน” (ไม่มีจุดใต้ ตัวแรก) อ่านว่า อุย-ยาน รูปคำนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้ในภาษาไทย แต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ก็เก็บคำว่า “อุยยาน” ไว้ด้วย บอกไว้ว่า –

อุยยาน : (คำนาม) อุทยาน, สวนเป็นที่รื่นรมย์. (ป.; ส. อุทฺยาน).”

บาลี “อุยฺยาน” สันสกฤตเป็น “อุทฺยาน

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

อุทฺยาน : (คำนาม) สวน; สวนหลวง; การออกไป; การเข้าฉากหรือเข้าโรง; เหตุ, การย์; a garden, a park; a royal garden; going forth, exit; motive, purpose.”

บาลี “อุยฺยาน” ภาษาไทยใช้ตามสันสกฤตเป็น “อุทยาน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อุทยาน : (คำนาม) สวน. (ส.; ป. อุยฺยาน).”

วน + อุยฺยาน = วนุยฺยาน > วนอุทฺยาน > วนอุทยาน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วนอุทยาน : (คำนาม) ป่าสงวนที่มีลักษณะธรรมชาติสวยงาม เช่นมีนํ้าตก ถํ้า และทางราชการได้เข้าไปปรับปรุงตกแต่งสถานที่ให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน.”

ข้อสังเกต :

ในภาษาบาลี “วน” สมาสกับ “อุยฺยาน” ใช้วิธี “เชื่อม” (สนธิ) คือกลายรูปและเสียง – + อุยฺ– = –นุยฺ

: วน + อุยฺยาน = วนุยฺยาน (วะ-นุย-ยา-นะ)

แต่ภาษาไทยในที่นี้ “วน” สมาสกับ “อุทยาน” ใช้วิธี “ชน” (สมาส) คือเอาคำมาชนกันไว้เฉยๆ ไม่กลายรูปและเสียง

: วน + อุทยาน = วนอุทยาน (“วน” ยังคงเป็น “วน” “อุทยาน” ก็ยังคงเป็น “อุทยาน”)

แต่ที่ใช้วิธี “เชื่อม” ก็มี เช่น สาลวน + อุทยาน ไม่เป็น “สาลวนอุทยาน” แต่เป็น“สาลวโนทยาน” (สวนป่าสาละ)

…………..

เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อใดที่มนุษย์เข้าไป “ปรับปรุงตกแต่ง” ป่าให้เป็น “สถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน” (ตามนิยามของพจนานุกรมฯ) เมื่อนั้นความเป็นธรรมชาติของป่าก็จะเริ่มหมดไป และจะค่อยๆ สูญสิ้นความเป็นป่าไปในที่สุด

มนุษย์ต้องการจะเสพสุขจากความเป็นป่า

แต่เสพไปเสพมาความเป็นป่าไปกลับหมดไป

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ฆ่าป่าเพื่อแปลงเมือง

ป่าหมดเปลืองเป็นล้านแสน

: ป่าคนล้นโลกแทน

รอวันป่ามาฆ่าคน

#บาลีวันละคำ (2,214)

5-7-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *