บาลีวันละคำ

อักษรเลข (บาลีวันละคำ 2,207)

อักษรเลข

อ่านว่า อัก-สอ-ระ-เลก ก็ได้ อัก-สอน-เลก ก็ได้

(ตามพจนานุกรมฯ)

ประกอบด้วยคำว่า อักษร + เลข

(๑) “อักษร

บาลีเป็น “อกฺขร” (อัก-ขะ-ระ) รากศัพท์มาจาก

(1) (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + ขร (ของแข็ง), แปลง เป็น , ซ้อน กฺ

: + กฺ + ขร = นกฺขร > อกฺขร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่เป็นของแข็ง

(2) (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + ขรฺ (ธาตุ = พินาศ) + ปัจจัย, แปลง เป็น , ซ้อน กฺ

: + กฺ + ขรฺ = นกฺขรฺ + = นกฺขร > อกฺขร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่พินาศไป” (คือไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไป)

(3) (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + ขี (ธาตุ = สิ้นไป) + อร ปัจจัย, ลบสระหน้า คือ อี ที่ ขี (ขี > ), แปลง เป็น , ซ้อน กฺ

: + กฺ + ขี = นกฺขี > นกฺข + อร = นกฺขร > อกฺขร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่สิ้นไป” (คือใช้ไม่มีวันหมด)

อกฺขร” (ปุงลิงค์, นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้

– เป็นคำนาม หมายถึง เสียงที่เปล่งออก, เสียงสูงต่ำ, คำ, ถ้อยคำ (sounds, tones, words)

– เป็นคุณศัพท์ หมายถึง มั่นคง, คงเส้นคงวา, ทนทาน, ยั่งยืน (constant, durable, lasting)

อกฺขร” ในภาษาไทยใช้ตามสันสกฤตเป็น “อักษร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อักษร, อักษร– : (คำนาม) ตัวหนังสือ, วิชาหนังสือ เช่น ฉลาดรอบรู้ในอักษรสยาม. (ส.; ป. อกฺขร).”

(๒) “เลข

บาลีอ่านว่า เล-ขะ รากศัพท์มาจาก ลิขฺ (ธาตุ = ขีด, เขียน) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ ลิ-(ขฺ) เป็น เอ (ลิข > เลข)

: ลิขฺ + = ลิขณ > ลิข > เลข แปลตามศัพท์ว่า “การขีดเขียน” “สิ่งที่เขียน

เลข” เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยความหมายเพี้ยนไปเป็น “ตัวเลข” (number, numeral) ดังที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เลข : (คำนาม) สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจํานวนจริง; วิชาคํานวณ”

ควรทราบ :

ในภาษาบาลี ตัวเลข วิชาคำนวณ หรือการบวกลบคูณหาร ไม่ได้ใช้คำว่า “เลข” แต่ใช้คำว่า “สงฺขฺยา” หรือ “คณนา” (คะ-นะ-นา)

ส่วน “เลข” (เล-ขะ) และรูปคำอื่นๆ ที่ออกมาจากรากศัพท์เดียวกัน (คือ ลิ หรือ ลิขฺ ธาตุ) เช่น เลขน (เล-ขะ-นะ) เลขณี (เล-ขะ-นี) เลขา (เล-ขา) จะหมายถึง การขีด, การวาด, การเขียน, การจารึก, หนังสือ, สาสน์ (scratching, drawing, writing, inscription, letter, epistle)

ดูเพิ่มเติม: “เลขเป็นโท” บาลีวันละคำ (806) 2-8-57

อกฺขร + เลข = อกฺขรเลข แปลว่า “การเขียนอักษร” คือการเขียนหนังสือ

อกฺขรเลข” ในภาษาไทยใช้เป็น “อักษรเลข

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อักษรเลข : (คำนาม) วิธีเขียนหนังสือลับโบราณ ใช้ตัวเลขแทนสระ; ตําแหน่งในคณะกรมการปกครองท้องที่มีมาแต่โบราณ, ต่อมาใช้เรียกผู้ทําหน้าที่เลขานุการของผู้ว่าราชการจังหวัด.”

อภิปราย :

เลข” ในคำว่า “อักษรเลข” หมายถึงอะไร

๑ พจนานุกรมฯ บอกไว้ว่า “อักษรเลข” หมายถึง “วิธีเขียนหนังสือลับโบราณ ใช้ตัวเลขแทนสระ

คำว่า “ใช้ตัวเลขแทนสระ” ส่อความว่า “เลข” ในคำนี้หมายถึง “ตัวเลข

อักษรเลข” จึงแปลว่า “อักษรที่เป็นตัวเลข” หรือ “ตัวเลขที่แทนอักษร” เวลาเขียนก็ต้องตกลงกันไว้ก่อนว่า ใช้ตัวเลขนี้หมายถึงอักษรตัวไหนเพื่อรู้กันเฉพาะในหมู่พวกเดียวกัน

๒ พจนานุกรมฯ บอกไว้ในความท่อนหลังว่า “อักษรเลข” หมายถึง “ผู้ทําหน้าที่เลขานุการของผู้ว่าราชการจังหวัด

ตำแหน่งตามความหมายนี้ส่อว่า มีหน้าที่เกี่ยวกับการเขียนหนังสือหรือตรวจหนังสือที่ผู้อื่นเขียน รวมความว่าทำงานหนังสือ ตามความหมายนี้ “เลข” แปลว่า “เขียน” อันเป็นความหมายเดิมในบาลี

ในบาลีมีคำว่า “อกฺขรเลขา” (อัก-ขะ-ระ-เล-ขา) แปลว่า “การเขียนหนังสือ” เมื่อเอามาใช้เรียกบุคคลเป็น “อกฺขรเลข” หรือ “อักษรเลข” ก็แปลว่า “ผู้เขียนหนังสือ” คือผู้ทำงานเกี่ยวการเลขานุการ

แถม :

ผู้ทำหน้าที่ “เลขานุการ” คัดกรองงานที่อยู่ใกล้ตัวผู้บังคับบัญชามีชื่อเรียกแตกต่างกันไป

– ของผู้ว่าราชการจังหวัดสมัยเดิมเรียกว่า “อักษรเลข

– พลเรือนทั่วไปเรียกสั้นๆ ว่า “เลขาฯ” หรือภาษาปากว่า “หน้าห้อง

– ทหารบกเรียก “ทส.” (ทอ-สอ = นายทหารคนสนิท)

– ทหารเรือเรียก “นายธง” (ภาษาปากมักเรียกตัดสั้นเหลือแค่ “ธง”)

– ทหารอากาศ เรียก “ทส.” เหมือนทหารบก*

– ตำรวจเรียก “นายเวร

มักรู้สึกกันว่าผู้ที่ทำหน้าที่เช่นนี้เป็นคนสำคัญเพราะอยู่ใกล้นาย ตัวผู้นั้นเองถ้าไม่มีคุณธรรมสำนึกคอยกำกับไว้บางทีก็เลยพลอยทำตัวสูงใหญ่ตามนายไปด้วย พอพ้นหน้าที่หรือไม่มีนาย ก็เลยหมดสง่าราศี นับว่าเป็นตำแหน่งที่มีทั้งคุณและโทษ

วางตัวดี ก็มีคุณ

วางตัวไม่ดี ก็มีโทษ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: สูงเพราะบารมีนาย อาจไม่ทันตายก็ตกต่ำ

: สูงเพราะบารมีธรรม ไม่ตกต่ำแม้ตัวจะตาย

—————–

(ได้คำจากความคิดเห็นของ เจตส์ ตรังเฅ-ใหม่ เจตส์)

#บาลีวันละคำ (2,207)

28-6-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย