บาลีวันละคำ

นตฺถิสนฺติปรํสุขํ (บาลีวันละคำ 2,208)

นตฺถิสนฺติปรํสุขํ

ช่วยกันเขียนให้ถูก

และแปลอย่าให้ผิด

นตฺถิสนฺติปรํสุขํ” อ่านว่า นัด-ถิ-สัน-ติ-ปะ-รัง-สุ-ขัง

เป็นพุทธภาษิตที่ค่อนข้างคุ้นหูคุ้นปากชาวพุทธ

ในที่นี้เขียนติดกันเป็นพืดเพื่อให้ลองฝึกแยกคำตามหลักที่ว่า ภาษาบาลีเขียนแยกเป็นคำๆ แบบเดียวกับภาษาอังกฤษ

นตฺถิสนฺติปรํสุขํ” มีคำอยู่ 4 คำ คือ :

(๑) “นตฺถิ

อ่านว่า นัด-ถิ เป็นคำกริยา (กิริยาอาขยาต) รูปคำเดิมมาจาก + อตฺถิ

(ก) “อตฺถิ” (อัด-ถิ) สูตรการ “ทำตัว” ว่า อสฺ (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย ประจำหมวด ภู ธาตุ (กัตตุวาจก) + ติ วัตตมานาวิภัตติ, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ (อสฺ > ), ลบ ปัจจัย, แปลง ติ เป็น ตฺถิ

: อสฺ + = อส + ติ = อสฺติ > อติ > อตฺถิ แปลว่า “ย่อมมี” “ย่อมเป็น

(ข) “” (นะ) (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + อตฺถิ = นตฺถิ แปลว่า “ย่อมไม่มี” “ย่อมไม่เป็น

ข้อสังเกต :

เราทราบแล้วว่า “” คำนี้เมื่อไปรวมในแบบสมาสกับคำอื่น ต้องแปลงรูปตามกฎ คือ –

ถ้าคำที่ “” ไปสมาสด้วยขึ้นต้นด้วยสระ ให้แปลง “” เป็น “อน

ถ้าคำที่ “” ไปสมาสด้วยขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง “” เป็น “

ในที่นี้ คำที่ “” ไปรวมด้วยขึ้นต้นด้วยสระ (คือ อตฺถิ ขึ้นต้นด้วย -) ถ้าใช้สูตรดังกล่าว ต้องแปลง “” เป็น “อน” : > อน + อตฺถิ = อนตฺถิ

แต่ในที่นี้ “” คงรูปเป็น “” ไม่แปลงเป็น “อน

: + อตฺถิ = นตฺถิ

เหตุผลคือ

(1) “อตฺถิ” เป็นคำกริยา และคำกริยาในภาษาบาลีมีรูปสำเร็จในตัวเอง (ไม่ไปสมาสเพื่อเป็นคำเดียวกันกับคำอื่น)

(2) ว่ากันตามหลักจริงๆ “นตฺถิ” ก็คือ “” สนธิกับ “อตฺถิ” เพราะฉะนั้น “นตฺถิ” ก็คือ “” คำหนึ่ง กับ “อตฺถิ” อีกคำหนึ่งนั่นเอง

(๒) “สนฺติ

อ่านว่า สัน-ติ รากศัพท์มาจาก สมฺ (ธาตุ = สงบ) + ติ ปัจจัย, แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็น นฺ (สมฺ > สน)

: สมฺ + ติ = สมฺติ > สนฺติ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่กิเลสสงบ” หมายถึง ความราบรื่น, ความสงบ (tranquillity, peace)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สันติ : (คำนาม) ความสงบ เช่น อยู่ร่วมกันโดยสันติ. (ป.; ส. ศานฺติ).”

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ศานฺติ : (คำนาม) ความสงบ; บรมสุข; tranquillity; felicity.”

ในทางธรรม “สนฺติ” หมายถึง นิพพาน

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ขยายความคำว่า “สันติ” ไว้ว่า –

สันติ : ความสงบ, ความระงับดับหายหมดไปแห่งความพลุ่งพล่านเร่าร้อนกระวนกระวาย, ภาวะเรียบรื่นไร้ความสับสนวุ่นวาย, ความระงับดับไปแห่งกิเลสที่เป็นเหตุให้เกิดความเร่าร้อนว้าวุ่นขุ่นมัว, เป็นไวพจน์หนึ่งของ นิพพาน.”

(๓) “ปรํ” 

อ่านว่า ปะ-รัง รากศัพท์มาจาก (แทนศัพท์ว่า “ปกฏฺฐ” = สูงสุด) + รา (ธาตุ = ถือเอา) + ปัจจัย, ลบ และสระที่สุดธาตุ (รา > )

: + รา = ปรา + = ปราณ > ปรา > ปร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ถือเอาความสูงสุด” หมายถึง สูงสุด, พิเศษสุด, เป็นเลิศ, ดีที่สุด (highest, most excellent, superior, best)

(๔) “สุขํ

อ่านว่า สุ-ขัง เป็นคำที่เราคุ้นกันดี เช่นในคำว่า อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ

สุขํ” คำเดิมเป็น “สุข” (สุ-ขะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) สุ (ดี, งาม, สะดวก) + ขมฺ (ธาตุ = อดทน, อดกลั้น) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ ที่สุดธาตุ

: สุ + ขมฺ = สุขม + กฺวิ = สุขมกฺวิ > สุขม > สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ทนได้ง่าย

(2) สุ (ดี, งาม, สะดวก) + ขนฺ (ธาตุ = ขุด) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ ที่สุดธาตุ

: สุ + ขนฺ = สุขน + กฺวิ = สุขนกฺวิ > สุขน > สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ขุดความทุกข์ด้วยดี

(3) สุ (ดี, งาม, สะดวก) + ขาทฺ (ธาตุ = เคี้ยวกิน) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ ที่สุดธาตุ, ลดเสียง อา ที่ ขา-(ทฺ) เป็น อะ

: สุ + ขาทฺ = สุขาท + กฺวิ = สุขาทกฺวิ > สุขาท > สุขา > สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่เคี้ยวกินความทุกข์ด้วยดี

(4) สุขฺ (ธาตุ = สุขสบาย) + ปัจจัย

: สุขฺ + = สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ยังบุคคลให้สุขสบาย

(5) สุ (ง่าย, สะดวก) + (โอกาส)

: สุ + = สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ให้โอกาสได้ง่าย

สุข” เราแปลทับศัพท์กันจนอาจจะไม่เคยคิดว่าหมายถึงอะไร

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สุข” ไว้ดังนี้ –

(1) agreeable, pleasant, blest (เป็นที่พอใจ, รื่นรมย์, ได้รับพร)

(2) wellbeing, happiness, ease (ความผาสุก, ความสุข, ความสบาย)

(3) ideal, success (อุดมคติ, ความสำเร็จ)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สุข, สุข– : (คำนาม) ความสบายกายสบายใจ เช่น ขอให้อยู่ดีมีสุข เกิดมาก็มีสุขบ้างทุกข์บ้าง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เป็น เช่น ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข ขอให้เป็นสุข ๆ นะ. (คำวิเศษณ์) สบายกายสบายใจ เช่น เดี๋ยวนี้เขาอยู่สุขสบายดี. (ป., ส.).”

การแยกศัพท์ :

นตฺถิสนฺติปรํสุขํ” แยกศัพท์ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

(๑) “นตฺถิ” แปลว่า “ย่อมไม่มี

(๒) “สนฺติปรํ” (เขียนติดกัน) แปลว่า “อันยิ่งกว่าสันติ

(๓) “สุขํ” แปลว่า “ความสุข

เขียนเต็มๆ ที่ถูกต้องเป็น “นตฺถิ / สนฺติปรํ / สุขํ

แปลว่า “ความสุขอันยิ่งกว่าสันติย่อมไม่มี

สันติ” ในที่นี้ท่านหมายถึงพระนิพพาน

ขยายความ :

บาลีบทนี้ พบว่าเมื่อนำไปเขียนหรือนำไปพูด มักคลาดเคลื่อน 2 ข้อ คือ –

(1) เขียนแยกคำไม่ถูกต้อง

คือมักแยกเป็น นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ (4 คำ)

ที่ผิดก็คือแยก “สนฺติ” เป็นคำหนึ่ง และ “ปรํ” เป็นอีกคำหนึ่ง

ที่ถูกต้อง “สนฺติ” กับ “ปรํ” ต้องเขียนติดกันเป็นคำเดียว คือ “สนฺติปรํ

(2) แปลไม่ถูกต้อง

เท่าที่พบ มักแปลกันว่า “สุขอื่นนอกจากความสงบไม่มี” นั่นคือ –

แปล “สนฺติ” ว่า “ความสงบ” เป็นคำแปลที่ไม่ผิด

แปล “ปรํ” “อื่น” เป็นคำแปลที่คลาดเคลื่อน

รวมกันเป็นคำแปลว่า “อื่นจากความสงบ” ก็คือ นอกจากความสงบ

เมื่อรวมทั้งประโยคจึงเป็น “สุขอื่นนอกจากความสงบไม่มี” ซึ่งเป็นคำแปลที่ผิดความจริง

คำว่า “นตฺถิ  สนฺติปรํ  สุขํ” (เป็นคาถา 1 บาทหรือ 1 วรรค) มาในพระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า –

………..

สนฺติปรํ  สุขนฺติ:  นิพฺพานโต  อุตฺตรึ  อญฺญํ  สุขํปิ  นตฺถิ.  อญฺญํ  หิ  สุขํ  สุขเมว,  นิพฺพานํ  ปน  ปรมสุขนฺติ  อตฺโถ.

แปลว่า: สองบทว่า  สนฺติปรํ  สุขํ  ความว่า แม้สุขอื่นยิ่งกว่าพระนิพพานย่อมไม่มี. อธิบายว่า ความจริงสุขอย่างอื่นก็เป็นสุขเหมือนกัน, แต่พระนิพพานเป็นสุขที่ยอดเยี่ยม (กว่าสุขอื่นๆ).

ที่มา: อัญญตรกุลทาริกาวัตถุ, ธัมมปทัฏฐกถา ภาค 6 หน้า 125

………..

ถ้าแปลว่า “สุขอื่นนอกจากความสงบก็ไม่มี” ก็ย่อมผิดความจริง ความจริงก็คือสุขอื่นๆ ก็ยังมี ไม่ใช่ไม่มี เช่นสุขของคฤหัสถ์ 4 อย่าง พระพุทธองค์ก็ตรัสสอนไว้เอง จะว่า “สุขอื่นไม่มี” ได้อย่างไร

ประเด็นอยู่ตรงที่-แม้สุขอื่นๆ จะมีอยู่ก็จริง แต่ก็ไม่มีสุขใดที่ยอดเยี่ยมไปกว่าสันติ สันติ (คือพระนิพพาน) จึงเป็นสุขที่ยอดเยี่ยมกว่าสุขอื่นๆ

เพราะฉะนั้น “นตฺถิ  สนฺติปรํ  สุขํ” จึงต้องแปลว่า สุขอื่น “ยิ่งกว่า” สันติไม่มี (ไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่าสันติ)

ไม่ใช่ – สุขอื่น “นอกจาก” สันติไม่มี (ไม่มีสุขอื่นนอกจากสันติ) – ซึ่งผิดความจริง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สนฺติปรํ” ว่า higher than calm (สูงกว่าความสงบ) หมายความว่า สุขอื่นๆ ก็มี แต่สุขที่จะ “สูงกว่าความสงบ” ไม่มี

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าเอาภาพที่เราร้องไห้และหัวเราะ

ตั้งแต่วันที่เราเกิดจนถึงวันนี้

มาตัดต่อสลับกัน แล้วฉายดู

: ท่านจะเห็นคนบ้าคนหนึ่ง

#บาลีวันละคำ (2,208)

29-6-61

นตฺถิสนฺติปรํสุขํ

ช่วยกันเขียนให้ถูก

และแปลอย่าให้ผิด

นตฺถิสนฺติปรํสุขํ” อ่านว่า นัด-ถิ-สัน-ติ-ปะ-รัง-สุ-ขัง

เป็นพุทธภาษิตที่ค่อนข้างคุ้นหูคุ้นปากชาวพุทธ

ในที่นี้เขียนติดกันเป็นพืดเพื่อให้ลองฝึกแยกคำตามหลักที่ว่า ภาษาบาลีเขียนแยกเป็นคำๆ แบบเดียวกับภาษาอังกฤษ

นตฺถิสนฺติปรํสุขํ” มีคำอยู่ 4 คำ คือ :

(๑) “นตฺถิ

อ่านว่า นัด-ถิ เป็นคำกริยา (กิริยาอาขยาต) รูปคำเดิมมาจาก + อตฺถิ

(ก) “อตฺถิ” (อัด-ถิ) สูตรการ “ทำตัว” ว่า อสฺ (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย ประจำหมวด ภู ธาตุ (กัตตุวาจก) + ติ วัตตมานาวิภัตติ, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ (อสฺ > ), ลบ ปัจจัย, แปลง ติ เป็น ตฺถิ

: อสฺ + = อส + ติ = อสฺติ > อติ > อตฺถิ แปลว่า “ย่อมมี” “ย่อมเป็น

(ข) “” (นะ) (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + อตฺถิ = นตฺถิ แปลว่า “ย่อมไม่มี” “ย่อมไม่เป็น

ข้อสังเกต :

เราทราบแล้วว่า “” คำนี้เมื่อไปรวมในแบบสมาสกับคำอื่น ต้องแปลงรูปตามกฎ คือ –

ถ้าคำที่ “” ไปสมาสด้วยขึ้นต้นด้วยสระ ให้แปลง “” เป็น “อน

ถ้าคำที่ “” ไปสมาสด้วยขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง “” เป็น “

ในที่นี้ คำที่ “” ไปรวมด้วยขึ้นต้นด้วยสระ (คือ อตฺถิ ขึ้นต้นด้วย -) ถ้าใช้สูตรดังกล่าว ต้องแปลง “” เป็น “อน” : > อน + อตฺถิ = อนตฺถิ

แต่ในที่นี้ “” คงรูปเป็น “” ไม่แปลงเป็น “อน

: + อตฺถิ = นตฺถิ

เหตุผลคือ

(1) “อตฺถิ” เป็นคำกริยา และคำกริยาในภาษาบาลีมีรูปสำเร็จในตัวเอง (ไม่ไปสมาสเพื่อเป็นคำเดียวกันกับคำอื่น)

(2) ว่ากันตามหลักจริงๆ “นตฺถิ” ก็คือ “” สนธิกับ “อตฺถิ” เพราะฉะนั้น “นตฺถิ” ก็คือ “” คำหนึ่ง กับ “อตฺถิ” อีกคำหนึ่งนั่นเอง

(๒) “สนฺติ

อ่านว่า สัน-ติ รากศัพท์มาจาก สมฺ (ธาตุ = สงบ) + ติ ปัจจัย, แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็น นฺ (สมฺ > สน)

: สมฺ + ติ = สมฺติ > สนฺติ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่กิเลสสงบ” หมายถึง ความราบรื่น, ความสงบ (tranquillity, peace)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สันติ : (คำนาม) ความสงบ เช่น อยู่ร่วมกันโดยสันติ. (ป.; ส. ศานฺติ).”

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ศานฺติ : (คำนาม) ความสงบ; บรมสุข; tranquillity; felicity.”

ในทางธรรม “สนฺติ” หมายถึง นิพพาน

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ขยายความคำว่า “สันติ” ไว้ว่า –

สันติ : ความสงบ, ความระงับดับหายหมดไปแห่งความพลุ่งพล่านเร่าร้อนกระวนกระวาย, ภาวะเรียบรื่นไร้ความสับสนวุ่นวาย, ความระงับดับไปแห่งกิเลสที่เป็นเหตุให้เกิดความเร่าร้อนว้าวุ่นขุ่นมัว, เป็นไวพจน์หนึ่งของ นิพพาน.”

(๓) “ปรํ” 

อ่านว่า ปะ-รัง รากศัพท์มาจาก (แทนศัพท์ว่า “ปกฏฺฐ” = สูงสุด) + รา (ธาตุ = ถือเอา) + ปัจจัย, ลบ และสระที่สุดธาตุ (รา > )

: + รา = ปรา + = ปราณ > ปรา > ปร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ถือเอาความสูงสุด” หมายถึง สูงสุด, พิเศษสุด, เป็นเลิศ, ดีที่สุด (highest, most excellent, superior, best)

(๔) “สุขํ

อ่านว่า สุ-ขัง เป็นคำที่เราคุ้นกันดี เช่นในคำว่า อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ

สุขํ” คำเดิมเป็น “สุข” (สุ-ขะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) สุ (ดี, งาม, สะดวก) + ขมฺ (ธาตุ = อดทน, อดกลั้น) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ ที่สุดธาตุ

: สุ + ขมฺ = สุขม + กฺวิ = สุขมกฺวิ > สุขม > สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ทนได้ง่าย

(2) สุ (ดี, งาม, สะดวก) + ขนฺ (ธาตุ = ขุด) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ ที่สุดธาตุ

: สุ + ขนฺ = สุขน + กฺวิ = สุขนกฺวิ > สุขน > สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ขุดความทุกข์ด้วยดี

(3) สุ (ดี, งาม, สะดวก) + ขาทฺ (ธาตุ = เคี้ยวกิน) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ ที่สุดธาตุ, ลดเสียง อา ที่ ขา-(ทฺ) เป็น อะ

: สุ + ขาทฺ = สุขาท + กฺวิ = สุขาทกฺวิ > สุขาท > สุขา > สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่เคี้ยวกินความทุกข์ด้วยดี

(4) สุขฺ (ธาตุ = สุขสบาย) + ปัจจัย

: สุขฺ + = สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ยังบุคคลให้สุขสบาย

(5) สุ (ง่าย, สะดวก) + (โอกาส)

: สุ + = สุข แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ให้โอกาสได้ง่าย

สุข” เราแปลทับศัพท์กันจนอาจจะไม่เคยคิดว่าหมายถึงอะไร

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สุข” ไว้ดังนี้ –

(1) agreeable, pleasant, blest (เป็นที่พอใจ, รื่นรมย์, ได้รับพร)

(2) wellbeing, happiness, ease (ความผาสุก, ความสุข, ความสบาย)

(3) ideal, success (อุดมคติ, ความสำเร็จ)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สุข, สุข– : (คำนาม) ความสบายกายสบายใจ เช่น ขอให้อยู่ดีมีสุข เกิดมาก็มีสุขบ้างทุกข์บ้าง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เป็น เช่น ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข ขอให้เป็นสุข ๆ นะ. (คำวิเศษณ์) สบายกายสบายใจ เช่น เดี๋ยวนี้เขาอยู่สุขสบายดี. (ป., ส.).”

การแยกศัพท์ :

นตฺถิสนฺติปรํสุขํ” แยกศัพท์ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

(๑) “นตฺถิ” แปลว่า “ย่อมไม่มี

(๒) “สนฺติปรํ” (เขียนติดกัน) แปลว่า “อันยิ่งกว่าสันติ

(๓) “สุขํ” แปลว่า “ความสุข

เขียนเต็มๆ ที่ถูกต้องเป็น “นตฺถิ / สนฺติปรํ / สุขํ

แปลว่า “ความสุขอันยิ่งกว่าสันติย่อมไม่มี

สันติ” ในที่นี้ท่านหมายถึงพระนิพพาน

ขยายความ :

บาลีบทนี้ พบว่าเมื่อนำไปเขียนหรือนำไปพูด มักคลาดเคลื่อน 2 ข้อ คือ –

(1) เขียนแยกคำไม่ถูกต้อง

คือมักแยกเป็น นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ (4 คำ)

ที่ผิดก็คือแยก “สนฺติ” เป็นคำหนึ่ง และ “ปรํ” เป็นอีกคำหนึ่ง

ที่ถูกต้อง “สนฺติ” กับ “ปรํ” ต้องเขียนติดกันเป็นคำเดียว คือ “สนฺติปรํ

(2) แปลไม่ถูกต้อง

เท่าที่พบ มักแปลกันว่า “สุขอื่นนอกจากความสงบไม่มี” นั่นคือ –

แปล “สนฺติ” ว่า “ความสงบ” เป็นคำแปลที่ไม่ผิด

แปล “ปรํ” “อื่น” เป็นคำแปลที่คลาดเคลื่อน

รวมกันเป็นคำแปลว่า “อื่นจากความสงบ” ก็คือ นอกจากความสงบ

เมื่อรวมทั้งประโยคจึงเป็น “สุขอื่นนอกจากความสงบไม่มี” ซึ่งเป็นคำแปลที่ผิดความจริง

คำว่า “นตฺถิ  สนฺติปรํ  สุขํ” (เป็นคาถา 1 บาทหรือ 1 วรรค) มาในพระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า –

………..

สนฺติปรํ  สุขนฺติ:  นิพฺพานโต  อุตฺตรึ  อญฺญํ  สุขํปิ  นตฺถิ.  อญฺญํ  หิ  สุขํ  สุขเมว,  นิพฺพานํ  ปน  ปรมสุขนฺติ  อตฺโถ.

แปลว่า: สองบทว่า  สนฺติปรํ  สุขํ  ความว่า แม้สุขอื่นยิ่งกว่าพระนิพพานย่อมไม่มี. อธิบายว่า ความจริงสุขอย่างอื่นก็เป็นสุขเหมือนกัน, แต่พระนิพพานเป็นสุขที่ยอดเยี่ยม (กว่าสุขอื่นๆ).

ที่มา: อัญญตรกุลทาริกาวัตถุ, ธัมมปทัฏฐกถา ภาค 6 หน้า 125

………..

ถ้าแปลว่า “สุขอื่นนอกจากความสงบก็ไม่มี” ก็ย่อมผิดความจริง ความจริงก็คือสุขอื่นๆ ก็ยังมี ไม่ใช่ไม่มี เช่นสุขของคฤหัสถ์ 4 อย่าง พระพุทธองค์ก็ตรัสสอนไว้เอง จะว่า “สุขอื่นไม่มี” ได้อย่างไร

ประเด็นอยู่ตรงที่-แม้สุขอื่นๆ จะมีอยู่ก็จริง แต่ก็ไม่มีสุขใดที่ยอดเยี่ยมไปกว่าสันติ สันติ (คือพระนิพพาน) จึงเป็นสุขที่ยอดเยี่ยมกว่าสุขอื่นๆ

เพราะฉะนั้น “นตฺถิ  สนฺติปรํ  สุขํ” จึงต้องแปลว่า สุขอื่น “ยิ่งกว่า” สันติไม่มี (ไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่าสันติ)

ไม่ใช่ – สุขอื่น “นอกจาก” สันติไม่มี (ไม่มีสุขอื่นนอกจากสันติ) – ซึ่งผิดความจริง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สนฺติปรํ” ว่า higher than calm (สูงกว่าความสงบ) หมายความว่า สุขอื่นๆ ก็มี แต่สุขที่จะ “สูงกว่าความสงบ” ไม่มี

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าเอาภาพที่เราร้องไห้และหัวเราะ

ตั้งแต่วันที่เราเกิดจนถึงวันนี้

มาตัดต่อสลับกัน แล้วฉายดู

: ท่านจะเห็นคนบ้าคนหนึ่ง

#บาลีวันละคำ (2,208)

29-6-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *